ชื่อเรื่อง การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบชุดกิจกรรม เรื่อง ความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย มณีรัตน์ ชุมจินดา
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบชุดกิจกรรม เรื่อง ความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบชุดกิจกรรม เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลป้อมแผลงไฟฟ้า สังกัดเทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบชุดกิจกรรม เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลป้อมแผลงไฟฟ้า สังกัดเทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบชุดกิจกรรม เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลป้อมแผลงไฟฟ้า สังกัดเทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลป้อมแผลงไฟฟ้า ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ประกอบด้วย 4 ห้องเรียน รวมทั้งหมด 92 คน และ ตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ของโรงเรียนเทศบาลป้อมแผลงไฟฟ้า ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 23 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ประกอบด้วยนักเรียนที่เก่ง ปานกลางและอ่อน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบชุดกิจกรรม เรื่อง ความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบชุดกิจกรรม เรื่อง ความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบชุดกิจกรรม เรื่อง ความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.51/83.70 แสดงว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบชุดกิจกรรม เรื่อง ความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยคะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบชุดกิจกรรม เรื่อง ความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวม มีระดับของความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.39,S.D.= 0.57) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ประเด็นสูงสุด มีระดับของความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ทำให้ผู้เรียนสนุกสนาน ไม่เบื่อ ( =4.70,S.D.=0.47) รองลงมา คือ การวัดและประเมินสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนการสอนมีระดับของความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.65,S.D.= 0.49) และประเด็นต่ำสุด คือ ครูให้ความสนใจแก่นักเรียนอย่างทั่วถึงขณะสอนและภาพสอดคล้องกับบทเรียน มีระดับของความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเป็นอันดับสุดท้าย ( =3.78,S.D.= 0.60) และ ( =3.78,S.D.= 0.42) ตามลำดับ