เรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาบุคลากรครูผู้ปฏิบัติการสอนในการจัดการเรียน
การสอนแบบโครงงาน โรงเรียนเทศบาล ๑๐ (อนุบาลเทศบาลเมืองสระบุรี)
สังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี
ผู้วิจัย นางธนิษฐ์ฌา แสงไพโรจน์
สังกัด เทศบาลเมืองสระบุรี
ปีที่วิจัย 2560
การประเมินโครงการพัฒนาบุคลากรครูผู้ปฏิบัติการสอนในการจัดการเรียนการสอน
แบบโครงงานโรงเรียนเทศบาล ๑๐ (อนุบาลเทศบาลเมืองสระบุรี) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมิน
ปฏิกิริยาตอบสนองของครูผู้ปฏิบัติการสอนที่เข้าร่วมโครงการ 2) ประเมินการเรียนรู้ของครู
ผู้ปฏิบัติการสอนที่เข้าร่วมโครงการ 3) ประเมินพฤติกรรมด าเนินงานการจัดการเรียนการสอนแบบ
โครงงานของครูผู้ปฏิบัติการสอนที่เข้าร่วมโครงการ 4) ประเมินผลลัพท์ความสามารถในการท าโครงงานของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๑๐ (อนุบาลเทศบาลเมืองสระบุรี) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้ปฏิบัติการสอนของโรงเรียนเทศบาล ๑๐ (อนุบาลเทศบาลเมืองสระบุรี) ในปีการศึกษา 2560 จำนวน 36คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบตรวจสอบพฤติกรรม และแบบประเมินผลลัพธ์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การประเมินปฏิกิริยาตอบสนองของครูผู้ปฏิบัติการสอนที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า
ผลการประเมินปฏิกิริยาตอบสนองของครูผู้ปฏิบัติการสอนที่เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานของโรงเรียนเทศบาล ๑๐ (อนุบาลเทศบาลเมืองสระบุรี) มีความพึงพอใจต่อการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน โดยเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์และอื่นๆ อยู่ในระดับพึงพอใจมาก มีค่าสูงสุดรองลงมาคือ ด้านเวลาและเนื้อหาสาระ และด้านวิทยากร ตามล าดับ และเมื่อพิจารณารายข้อในแต่ละด้าน พบว่า ด้านเวลาและเนื้อหาสาระ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ความรู้ที่ได้รับสามารถน าไปท าการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานได้ รองลงมา ความรู้ที่ได้รับตรงตามความต้องการและเป็นประโยชน์ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ าสุด คือ ก าหนดการในการประชุมเชิงปฏิบัติการเหมาะสม ด้านวิทยากร ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การเชื่อมโยงเนื้อหาไปสู่การปฏิบัติรองลงมา คือ การถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรมีความชัดเจน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ าสุด คือ การตอบข้อซักถามและการให้ค าปรึกษา และด้านสถานที่วัสดุ อุปกรณ์และอื่นๆ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการมีความเหมาะสม รองลงมา คือ ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ าสุด คือ สื่อที่ใช้ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ทั้งนี้ปัญหาและข้อเสนอแนะต่อการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน พบว่า ระยะเวลาในการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานค่อนข้างน้อย ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการมีจ านวนมาก ท าให้การเข้าพบเพื่อปรึกษา ซักถามปัญหากับวิทยากรได้ไม่มากนัก ผู้เข้าร่วมโครงการยังขาดพื้นฐานด้านการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานและบรรยากาศในการอบรมดี
2. การประเมินการเรียนรู้ของครูผู้ปฏิบัติการสอนที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า ครูผู้ปฏิบัติ
การสอนของโรงเรียนเทศบาล ๑๐ (อนุบาลเทศบาลเมืองสระบุรี) ที่เข้ารับการอบรมโครงสร้างพัฒนา
บุคลากรครูผู้ปฏิบัติการสอนในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน มีการประเมินผลการเรียนรู้ก่อน
เข้ารับการอบรมและหลังเข้ารับการอบรม พบว่า ครูผู้ปฏิบัติการสอนมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียน
การสอนแบบโครงงานผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ร้อยละ 91.11 หลังผ่านการอบรมโครงการพัฒนาบุคลากรครูผู้ปฏิบัติการสอนการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน ทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเพิ่มมากขึ้น
3. การประเมินพฤติกรรมด าเนินงานการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานของครูผู้
ปฏิบัติการสอนที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า ผลการประเมินพฤติกรรมด าเนินงานการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานของผู้เข้ารับการประชุมเชิงปฏิบัติการ ประเมินตามแบบรายงานการด าเนินงานการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานของครูผู้ปฏิบัติการสอนโรงเรียนเทศบาล ๑๐ ( อนุบาลเทศบาลเมืองสระบุรี) ได้เท่ากับ 100% ซึ่งถือว่าผ่านตามเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้
4. การประเมินผลลัพธ์ความสามารถในการท าโครงงานของนักเรียนโรงเรียน
เทศบาล ๑๐ (อนุบาลเทศบาลเมืองสระบุรี) พบว่านักเรียน โดยภาพรวมในทุกด้านอยู่ในระดับสูง
เรียงล าดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ความสามารถด้านกระบวนการท างาน ความสามารถด้านผลงานและการน าเสนอและความสามารถด้านการวางแผนท างานเป็นล าดับสุดท้าย เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านความสามารถด้านกระบวนการท างานของนักเรียนอยู่ในระดับสูง แบ่งเป็นระดับสูง 6 ประเด็นเรียงล าดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ท างานเสร็จตรงเวลา การใช้วัสดุอุปกรณ์/เครื่องมือในการท างานการแสดงบทบาทตามที่ได้รับหมอบหมายของสมาชิก การก าหนดวิธีการและขั้นตอนที่ก าหนด ความมีระเบียบวินัยในการปฏิบัติงาน การก าหนดวิธีการและขั้นตอนการด าเนินงาน และอยู่ในระดับปานกลาง4 ประเด็น ได้แก่ การสรุปและเรียบเรียงข้อมูลและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากัน ข้อมูล/ข้อเท็จจริงประกอบการท าโครงงาน การบันทึกข้อมูลและการจัดกระท าข้อมูล ด้านความสามารถด้านผลงานและการน าเสนอของนักเรียนอยู่ในระดับสูงแบ่งเป็นระดับสูง 4 ประเด็น เรียงล าดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การตอบข้อซักถามในการนำเสนอผลงาน ความพร้อมในการน าเสนอโครงงาน ข้อมูลที่น ามาจัดแสดงผลงานและความคิดสร้างสรรค์ของผลงาน และอยู่ในระดับปานกลาง 1 ประเด็น ได้แก่ การจัดท ารูปเล่มรายงาน ด้านความสามารถด้านการวางแผนท างานของนักเรียนอยู่ในระดับสูง แบ่งเป็นระดับสูง 4 ประเด็น เรียงล าดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การแบ่งภาระหน้าที่ให้สมาชิก การก าหนดเรื่องที่ศึกษาและการก าหนดวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการสืบค้น การวิเคราะห์และวางแผนการปฏิบัติงาน และอยู่ในระดับปานกลาง 1 ประเด็น ได้แก่ การก าหนดปัญหาและตั้งสมมติฐาน