เรื่องชื่อ : รายงานผลการใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้ศึกษา : นางสาวจินตนา พลมา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ปีที่ศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ระบบต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 37 จังหวัดกระบี่ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ผู้ศึกษาทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 1 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 34 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ เอกสารประกอบการเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ โดยได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ และผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ดังนี้ ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าความยาก (P) ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความเชื่อมั่น (KR-20) ค่าความเที่ยง (Reliability) และการหาค่าที (t test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.87/84.54 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 75/75 โดยมีค่าประสิทธิภาพของกิจกรรมระหว่างเรียน (E1) เท่ากับ 85.87 และมีค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ของการเรียน (E2) เท่ากับ 84.54
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทั้ง 7 เล่ม มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจที่มีต่อการใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.56 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.50
ดังนั้น เอกสารประกอบการเรียนรู้ เรื่อง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ที่มีคุณค่า และความสำคัญในการจัดการเรียนการสอนได้เสมอทุกยุคทุกสมัย สามารถสร้างและพัฒนา หรือปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ และตัวนักเรียน หรือผู้ศึกษา มีความยืดหยุ่นในการสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ และหลักสูตรสถานศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ