บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงทดลองเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมตามรูปแบบ ACACA เพื่อส่งเสริมความสามารถทางพหุปัญญาของนักเรียน
ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางพหุปัญญาก่อนและหลัง การใช้รูปแบบการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมตามรูปแบบ ACACA และเพื่อวัดเจตคติของนักเรียน
ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยการจัดกิจกรรมตามรูปแบบ ACACA โดยมีสรุปผลการวิจัย และอภิปรายผล ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ที่มีอายุระหว่าง 5- 6 ปี จำนวน 22 คน โรงเรียนเทศบาล 7 (วัดแก่งขนุน) สังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี เป็นการเลือกแบบเจาะจง (purposive sample) เนื่องจากเป็นห้องเรียนที่ผู้ศึกษาเป็นครูประจำชั้น
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมตามรูปแบบ ACACA เพื่อส่งเสริมความสามารถทางพหุปัญญาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00 - 4.60 โดยรูปแบบการสอนมี 5 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีชีวิตชีวา (Active Learning) 2) ขั้นผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มร่วมกับผู้อื่น (Cooperative) 3) ขั้นผู้เรียนวิเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้ (Analysis ) 4) ขั้นที่ 4 ขั้นผู้เรียนสรุปกิจกรรมและการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) 5) ขั้นที่ 5 ขั้นผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีความหมาย (Application)
2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถทางพหุปัญญาก่อนเรียน หลังเรียน ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน พบว่า นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 มีความสามารถทางพหุปัญญาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้รูปแบบ ACACA พบว่า นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 มีเจตคติที่ดีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้รูปแบบ ACACA อยู่ในระดับมาก
ผู้รายงาน นางสำเนา จุ้ยอำนวย ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2561
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 7 (วัดแก่งขนุน) เทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี