ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดพระพุทธบาทน้อย มิตรภาพที่ 69

ชื่อเรื่อง การฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

โรงเรียนวัดพระพุทธบาทน้อย มิตรภาพที่ 69

ผู้วิจัย นางสาวปรียาภรณ์ แสวงพันธ์

ปีการศึกษา 2561

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษในครั้งนี้ เนื่องจากผู้วิจัยเห็นว่าการอ่านเป็นกระบวนการหนึ่งที่มีความสำคัญในการพัฒนาทักษะทางภาษา โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนวัดพระพุทธบาทน้อย มิตรภาพที่ 69 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มเลือก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ

ผลจากการวิจัยครั้งนี้พบว่า

จากการเปรียบเทียบคะแนนการอ่านของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในการสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าค่าคะแนนทางสถิติก่อนทำการทดลองคะแนนของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเป็น 12.73 และคะแนนของกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยเป็น 10.73 และหลังทำการทดลองคะแนนของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเป็น 21.40 และคะแนนของกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยเป็น 17.46 ซึ่งมีความแตกต่างกันมากอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ แสดงว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนการอ่านสูงกว่ากลุ่มควบคุม เด็กสามารถเรียนการอ่านได้ดี และรักการอ่านมากขึ้น บ่งบอกถึงประสิทธิผลของเครื่องมือในการใช้ ที่ทำการทดลองเป็นเรื่องที่เรียงลำดับจากเรื่องง่ายไปเรื่องยากและมีภาพประกอบรวมทั้งแบบฝึกหัดที่เด็กจะสามารถอ่านได้ง่ายและน่าสนใจ เป็นการเริ่มต้นให้เด็กฝึกและหัดอ่าน เพราะเด็กสามารถจดจำคำศัพท์ไว้ในหน่วยความจำ จึงสามารถอ่านจับใจความได้เมื่อมีการทดสอบภายหลัง

บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

การอ่านเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ไม่น้อยกว่ากระบวนการทักษะด้านอื่น ๆ ของมนุษย์ ดังที่ Francis Bacon ได้กล่าวไว้เมื่อ 360 กว่าปีที่แล้วว่า “ การอ่านทำให้มนุษย์สมบูรณ์ การประชุมทำให้มนุษย์พร้อม และการเขียนทำให้เป็นมนุษย์ที่แท้จริง ” ความคิดเห็นเกี่ยวกับนิยามของการอ่านนั้นแตกต่างกันออกไป บางกลุ่มจะเน้นให้ความสำคัญในเรื่องของการถอดรหัส (Code Cracking) แต่บางกลุ่มจะให้ความสำคัญในเรื่องของความหมาย (Meaning) เป็นการยากในการให้คำนิยามของการอ่านให้ครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน การอ่านนั้นมีหลายแบบ การอ่านกระทำโดยมีวัตถุประสงค์หลาย ๆ ประการ ทั้งยังต้องการความรู้ ความสามารถ พื้นฐานหลายอย่างประกอบกันเพื่อการอ่าน Gibson และ Levin (1975 อ้างโดย Downing และ Leong, 1982) ได้ให้คำนิยามของการอ่านว่า การอ่านเป็นการแยกความหมายออกจากเนื้อหา (Text) โดยคำว่า “ เนื้อหา ” มีความหมายรวมตั้งแต่ สิ่งพิมพ์ รูปภาพ กราฟ แผนกูมิ และวัสดุอุปกรณ์เพื่อการอ่านอื่น ๆ การให้ความหมายของการอ่านขึ้นอยู่กับการให้ความสำคัญหรือความเชื่อ มุมมอง รวมถึงวัตถุประสงค์ของการศึกษาการอ่านก็มีผลในการให้คำนิยามของการอ่านด้วย และยังให้ความสำคัญกับการอ่านในเรื่องการเข้าใจความหมายโดยสมบูรณ์ ไม่ใช่การอ่านแบบผ่าน หรืออ่านแบบเร็ว

การอ่านเป็นการทำงานร่วมกันของประสาทรับรู้ทางสายตาและกระบวนการจัดการข้อมูล ( Information Processing System ) ในสมอง โดยเริ่มด้วยสัญญาณภาพผ่านไปที่ตาแล้วเกิดการบันทึกการรับรู้ ( Sensory Store) จากนั้นก็ไปเก็บอยู่ในความจำระยะสั้น ( Short Term Memory) และความจำระยะยาว ( Long Term Memory) (Benjamin และคณะ, 1994 ) การอ่านในลักษณะของการสะกดคำ ( Phonic)

จะเป็นการทำงานของสมองซีกซ้าย ซึ่งจะเป็นการทำงานในลักษณะของการวิเคราะห์แบบอนุกรม ( Serial ) ส่วนการอ่านแบบอ่านรูปคำ (Whole Word) จะเป็นการทำงานของสมองซีกขวา ซึ่งจะมีการทำงานแบบขนาน ( Parallel ) คือ มีลักษณะแบบโดยรวม ( Holistic) (Rayner และ Pollatsek, 1989) จะเห็นได้ว่าการอ่านถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกของการสอนภาษา ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมหรือวุฒิภาวะถึงขั้นหรือถึงระดับที่สมควรแล้ว

การเรียนการอ่านก็จะประสบความสำเร็จได้ไม่ยากนัก และถ้ามีการพัฒนาองค์ประกอบความพร้อมในการอ่านให้สูงขึ้น เด็กก็จะสามารถเรียนที่จะอ่านได้ไม่ว่าจะใช้วิธีการสอน หรือกิจกรรมอะไรก็ตามมาช่วยสอน ดังนี้การเตรียมความพร้อมของเด็กทำให้เกิดความมั่นใจในตนเองและเกิดความสนใจในการเรียน ( นฤนาท, 2532 ) ดังนั้นการเพิ่มประสบการณ์ในการอ่านให้เด็กจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะศึกษา เพราะในปัจจุบันเด็กบางส่วนยังขาดประสบการณ์ในการอ่าน ตีความ และแปลความหมายของประโยค การผ่านประสบการณ์ที่ได้ฝึกฝนการอ่าน และการรับรู้ต่าง ๆ อย่างทันท่วงที จะทำให้เด็กสามารถเรียนรู้การอ่านได้โดยไม่ต้องรอ

ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ การอ่านก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ผู้สอนจะพบได้บ่อย ภาษาอังกฤษเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญของผู้เรียน ผู้เรียนจะมีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนได้ก็ต่อเมื่อได้พัฒนาทักษะทั้ง 4 ควบคู่ไปด้วยกัน จากการสังเกตเหตุผลที่นักเรียนไม่ประสบความสำเร็จในการเรียนภาษาอังกฤษ เนื่องจากผู้เรียนละเลย ไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการอ่านและสะกดคำศัพท์ครูผู้สอนจึงควรหากลวิธีทำให้เด็กหันกลับมาสนใจทักษะการอ่านเพิ่มมากขึ้นดังนั้นผู้วิจัยจึงเห็นควรนำเรื่องการอ่านมาทำวิจัย

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อมีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษมากขึ้น

2. เพื่อมีเจตคติที่ดีและรักการอ่านภาษาอังกฤษ

3. สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันและสอดแทรกนิสัยรักการอ่านในกิจกรรมที่จัดขึ้น

สมมติฐานของการวิจัย

คะแนนทดสอบการอ่านของนักเรียนหลังการทดลองมีคะแนนสูงกว่าการอ่านของนักเรียนก่อนการทดลอง

ขอบเขตการวิจัย

1. กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนทั้งชายและหญิงในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ของโรงเรียนวัดพระพุทธบาทน้อย มิตรภาพที่ 69

2. เนื้อหาและรูปแบบที่ใช้สอนเพื่อฝึกทักษะการอ่านได้ใช้แบบฝึกทักษะการอ่านที่ได้สร้างขึ้นเองเพื่อเน้นการฝึกอ่านจับใจความ

3. การวิจัยครั้งนี้ไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางเพศ การอบรมเลี้ยงดูทางบ้าน ตลอดจนฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว เพราะมุ่งจะศึกษาเฉพาะการวิจัยที่ส่งผลพัฒนาด้านการอ่านของเด็กเท่านั้น

ระยะเวลา

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ทำให้รู้ประสิทธิภาพของการฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษที่ส่งผลต่อการพัฒนาการอ่านอย่างต่อเนื่อง

2. เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กในการฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษให้กับเด็ก

3. เป็นแนวทางในการค้นคว้า วิจัย เกี่ยวกับการฝึกทักษะในการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กต่อไป

บทที่ 2

แนวคิด ทฤษฏี และงานวิจัย

งานวิจัยเรื่องนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาทฤษฏี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องตามลำดับดังนี้

1. ความหมายของการอ่าน

2. ความพร้อมในการอ่าน

3. องค์ประกอบของความพร้อมในการอ่าน

1. ความหมายของการอ่าน

ปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับการอ่านอย่างกว้างขวางและมีการกล่าวถึงความหมายของการอ่านไว้อย่างหลากหลาย อาทิเช่น

ประเทิน ( 2530 ) ได้ให้ความหมายของการอ่านไว้ว่า เป็นกระบวนการในการแปลความหมายของอักษรหรือสัญลักษณ์ที่มีการจดบันทึกไว้ การอ่านเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน ลักษณะของการอ่านต้องทำความเข้าใจความหมายของเรื่องที่อ่าน ความหมายดังกล่าวมิได้เกิดจากตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ที่อ่านเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับการกระตุ้นให้เกิดความคิดรวบยอดหรือจินตนาการของผู้อ่านเป็นสำคัญ โดยอาศัยพื้นฐานประสบการณ์เดิมของผู้อ่าน จึงเป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยการแปลความการตอบสนอง การกำหนดความมุ่งหมาย และการจัดลำดับ เมื่อผู้อ่านได้รับข่าวสารจากสิ่งตีพิมพ์ก็สามารถออกเสียงและทำความเข้าใจเรื่องราวโดยการถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกและจินตนาการ จากผู้เขียนสู่ผู้อ่านโดยผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อรับรู้ว่าผู้เขียนคิดอะไร พูดอะไร สามารถทำความเข้าใจกับสิ่งที่ตนเองอ่านได้ทั้งหมาดจนสามารถนำความคิดนั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

ราชบัณฑิตยสถาน (2525) ให้ความหมายของการอ่านไว้ในหนังสือพจนานุกรมว่า การอ่านเป็นการออกเสียงตามตัวหนังสือหรือการเข้าใจความหมายจากตัวหนังสือ สังเกตหรือพิจารณาดูเพื่อเข้าใจ

บันลือ (2538) การอ่านเป็นการพัฒนาความคิด โดยที่ผู้อ่านต้องใช้ความสามารถหลาย ๆ ด้าน เช่น การใช้การสังเกตจำรูปคำ ใช้สติปัญญาและประสบการณ์เดิมในการแปลความ หรือถอดความให้เกิดความเข้าใจเรื่องราวที่อ่านได้ดี โดยวิธีอ่านแบบนี้จะต้องดำเนินการเป็นขั้นตอนและต่อเนื่อง

Downing และ Leong (1982) การอ่านคือ การแปลความหมายของสัญลักษณ์

Fries ( 1963 อ้างโดย Downing และ Leong, 1982 ) การอ่านประกอบด้วยการเปลี่ยนสัญลักษณ์ทางการได้ยินไปเป็นสัญลักษณ์ทางสายตา

Elkonin (1973 อ้างโดย Downing และ Leong, 1982 ) การอ่านเป็นการสร้างคำพูดในรูปแบบของเสียงจากลักษณะของรูปแบบของการเขียน

จากความหมายดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า การอ่านคือกระบวนการที่ซับซ้อนที่สามารถถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกและจินตนาการของผู้เขียน โดยผ่านการแปลความหมายหรือตีความจากตัวอักษร เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ โดยอาศัยประสบการณ์และความคิดรวบยอดเดิมของผู้อ่านเป็นพื้นฐาน เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องราวนั้น ๆ และสามารถทำความเข้าใจที่เกิดให้เป็นประโยชน์ด้านในด้านหนึ่ง

2. ความพร้อมในการอ่าน

ประเทิน ( 2530 ) กล่าวว่า ขั้นของพัฒนาการซึ่งปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและปัจจัยภายในร่างกายส่งผลให้เด็กพร้อมที่จะรับการสอนอ่าน นอกจากนั้น ความพร้อมในการอ่านยังหมายถึงช่วงเวลาที่เด็กมีความเหมาะสมที่จะเริ่มสอนอ่านได้

บันลือ ( 2538 ) ให้ความหมายของการเตรียมความพร้อมในการอ่านว่า หมายถึง สภาพของเด็กที่มีความคล่องที่จะใช้การผสานของตัวอักษรผสมเป็นคำอ่าน อ่านเป็นประโยคหรือเรื่องราวแล้วได้รับความรู้ เช่น อ่านบัตรคำประกอบภาพ อ่านประโยคประกอบภาพหรืออ่านเรื่องที่มีภาพประกอบ

นงเยาว์ ( 2522 ) กล่าวถึงความพร้อมในการอ่าน หมายถึง พัฒนาการระดับหนึ่งที่จะทำให้เด็กเรียนอ่านได้โดยมีอุปสรรคไม่มากนัก หรือสามารถเรียนได้ในอัตราเร็ว ซึ่งเป็นอัตราปกติสำหรับคนทั่วไป พัฒนาการดังกล่าวนี้อาจเป็นพัฒนาเรื่องจากวุฒิภาวะ (Maturation) หรือจากการเรียนที่ผ่านมา (Previous Learning) หรือเกิดจากอิทธิพลของทั้งสองสิ่งประกอบกัน ฉะนั้นความพร้อมในการเรียนอ่านซึ่งประกอบด้วยตัวประกอบมากมายที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน ในอันที่จะช่วยให้การเรียนการอ่านเป็นไปอย่างราบรื่น

Humphrey และ Joy ( 1990 ) กล่าวว่า ความพร้อมในการอ่านต้องคำนึงถึงส่วนประกอบของความสามารถทางพื้นฐานและสิ่งแวดล้อมหลายประการ ไม่ใช่เพียงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยความสามารถในการมองเห็น ประสานการรับรู้ทางเสียง ความแตกต่างทางเพศ อายุ และปัจจัยทางด้านสังคมเศรษฐกิจ

3. องค์ประกอบของความพร้อมในการอ่าน

สิ่งสำคัญที่ช่วยให้การอ่านประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดีก็คือ ความพร้อม เพราะถ้านักเรียนถูกบังคับให้เรียนทักษะใดทักษะหนึ่งโดยที่ยังไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอนั้น ย่อมก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี ประมวล (2509) กล่าวว่า การเรียนรู้ของเด็กที่ติดตัวมาจากบ้านมีประโยชน์ต่อการเริ่มเรียนของเด็กเป็นอย่างมาก ถ้าเด็กมีพื้นฐานดีมาก่อนเข้าโรงเรียนเด็กก็พร้อมที่จะรับการสอน

Harris (1968) ให้ความเห็นเกี่ยวกับความพร้อมในการอ่านว่า การอ่านก็เช่นเดียวกับการเดิน เด็กจะอ่านได้ดีก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการเติบโตและกระบวนการเรียนรู้มาแล้วเป็นเวลานานพอสมควร การอ่านเป็นกิจกรรมที่สลับซับซ้อนยิ่งกว่าการเดินหลายเท่า ต้องการทั้งพัฒนาการทางร่างกาย ทางสมอง และการเรียนรู้ประกอบด้วย เด็กจะเรียนอ่านได้ดีก็ต่อเมื่อเด็กเข้าถึงภาวะหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ พร้อม ” ในภาวะเช่นนี้เด็กจะมีสิ่งต่าง ๆ ภายในตัวประกอบกันอย่างเหมาะสม ได้แก่ อายุ ความสามารถทั่วไป การรับรู้ทางสายตาและการเห็น สุขภาพ ความเข้าใจและความสามารถในการพูด อารมณ์ ตลอดจนการปรับตัวให้เข้ากับสังคมและความสนใจในการอ่าน

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

Thompson ( 1981 ) ได้ศึกษาบทบาทของผู้ปกครองในการพัฒนาการอ่านของเด็กตามการรับรู้และความต้องการของผู้ปกครอง โดยศึกษาจากผู้ปกครองของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล นักเรียนเกรด 1 เกรด 2 และเกรด 3 จำนวน 192 คน จากการศึกษาพบว่า ผู้ปกครองต่างรับรู้ว่าตนเองมีส่วนที่จะช่วยให้เด็กมีการพัฒนาการอ่านยิ่งขึ้น ผู้ปกครองส่วนมากจะปฏิบัติตนโดยการฟังเด็กอ่านมากกว่าที่จะอ่านออกเสียงให้เด็กฟัง ทั้ง ๆ ที่การอ่านออกเสียงให้เด็กฟังนั้นเป็นวิธีการที่สำคัญในการพัฒนาการอ่านของเด็ก ผู้ปกครองเชื่อว่าตนเองมีอิทธิพลต่อการอ่านของเด็ก แต่ก็ยังเชื่อว่ามีอิทธิพลน้อยกว่าทางโรงเรียน โดยเฉพาะครูผู้สอน นอกจากนั้นผู้ปกครองมีความต้องการข่าวสารข้อมูลที่จะช่วยในการพัฒนาการอ่านของเด็ก เพื่อที่จะพัฒนาการอ่านของเด็กได้ดียิ่งขึ้น

โดยสรุปจากเอกสารและงานวิจัยพบว่า ในการเตรียมความพร้อมด้านการอ่านให้กับเด็กนั้นสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาการด้านการอ่านของนักเรียนให้ได้ผลดี

บทที่ 3

วิธีดำเนินการวิจัย

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย

1. ประชากร คือ นักเรียนชาย – หญิง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน ขั้นตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้วิจัยได้ใช้การสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากมีความพร้อมและยินยอมในการให้ความร่วมมือในการทดลอง จากนั้นผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยการคัดเลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 15 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 15 คน เหตุผลในการกำหนดจำนวนของนักเรียนในการวิจัย คือ ต้องเป็นนักเรียนที่มาเรียนสม่ำเสมอ

ขั้นตอนการทดลอง

การฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ผู้วิจัยได้ดำเนินการสอนอ่านเนื้อเรื่องและแปลประโยคให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เวลาในการสอนสัปดาห์ละ 2 คาบเรียน คาบละ 60 นาที จำนวน 12 คาบ เป็นเวลา 6 สัปดาห์

วิธีการหรือนวัตกรรมที่ใช้

ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 3 คน ครูกำหนดเรื่องที่อ่านให้นักเรียนได้อ่านและช่วยกันแปลความหมาย เรียบเรียงประโยคให้สละสลวย ครูแนะนำเพื่อการใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลักภาษาและมารยาทสังคมของการใช้ภาษา และบันทึกเนื้อเรื่องเป็นภาษาไทยจากเรื่องที่อ่าน ตอบคำถามจากเนื้อเรื่องเพื่อเป็นการวัดความเข้าใจเนื้อเรื่องอีกครั้ง ทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับไวยากรณ์โดยดึงคำศัพท์ และประโยคจากเรื่องที่อ่าน

การเก็บรวบรวมข้อมูล

1. ระยะก่อนการทดลอง ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดสอบก่อนการเรียน (Pre–test) โดยใช้เนื้อเรื่องภาษาอังกฤษ ให้นักเรียนได้อ่านและตอบคำถามตามเนื้อเรื่อง

2. ระยะทำการทดลอง ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โดยนำเด็กกลุ่มทดลองมาสอนด้วยเนื้อเรื่องภาษาอังกฤษ ฝึกการอ่านการค้นหาความหมายจากการฝึกเปิดพจนานุกรม หรือเดาความหมายจากประโยค เพื่อแปลเป็นภาษาไทยและตอบคำถามตามเนื้อเรื่องหรือทำแบบฝึกหัด

3. ระยะหลังการทดลอง หลังจากเรียนจนครบตามกำหนดแล้ว ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดสอบหลังการทดลอง (Post – test) อีกครั้ง โดยผู้วิจัยให้นักเรียนทำการทดสอบชุดเดิมนำผลของคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ

สถานที่ทำการทดลอง

โรงเรียนวัดพระพุทธบาทน้อย มิตรภาพที่ 69 จังหวัดสระบุรี

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

X =  X



แทนค่า X ค่าเฉลี่ย

 X แทนผลรวมของคะแนนของผู้เรียน

 แทนจำนวนผู้เรียน

วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบคะแนนที่ได้จากการสอบก่อนเรียนและการสอบหลังเรียน ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

สมมติฐานที่ 1 คะแนนการทดสอบการอ่านของนักเรียนก่อนการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันมาก

สมมติฐานที่ 2 คะแนนการทดสอบการอ่านของนักเรียนหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันมาก

บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ตารางที่ 1 ทดสอบก่อนเรียน

คะแนนเต็ม 10 คะแนน รวม 30 คะแนน

กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม

คนที่ ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 รวม ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 รวม

1 4 3 3 11 4 3 3 10

2 3 3 4 10 3 3 3 9

3 4 4 5 13 4 4 3 11

4 4 5 5 14 4 3 5 12

5 5 4 4 13 5 4 3 12

6 3 5 4 12 3 3 3 9

7 4 6 5 15 3 4 5 12

8 5 4 5 14 3 4 5 12

9 4 4 4 12 4 4 3 11

10 3 5 4 12 3 3 4 10

11 3 5 3 11 3 5 3 11

12 4 5 3 12 4 4 3 11

13 4 5 4 13 4 3 4 11

14 5 4 5 14 5 3 3 11

15 4 5 4 13 3 3 3 9

 X 189  X 161

X

12.73 X

10.73

จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ พบว่า เป็นไปตามสมมติฐานที่ 1 ที่ตั้งไว้คือ คะแนนที่ได้จากการทดสอบการอ่านของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลองไม่แตกต่างกันมาก คือ กลุ่มทดลองมีผลรวมของคะแนนเป็น 191 และ และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 12.73 ส่วนกลุ่มควบคุมมีคะแนนเป็น 161 และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 10.73 ตามลำดับ แสดงว่านักเรียนทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมนั้นมีวุฒิภาวะความพร้อม พื้นฐานความรู้ และประสบการณ์ในการอ่านน้อย จึงทำให้คะแนนที่ได้ไม่แตกต่างกันมาก

ตารางที่ 2 ทดสอบหลังเรียน

คะแนนเต็ม 10 คะแนน รวม 30 คะแนน

กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม

คนที่ ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 รวม ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 รวม

1 7 8 7 22 5 5 6 16

2 8 8 6 22 6 5 7 18

3 7 7 6 20 5 6 7 18

4 7 9 8 24 6 6 5 17

5 6 9 9 24 5 7 6 18

6 9 6 8 23 6 6 6 18

7 5 7 7 19 6 7 5 18

8 8 6 7 21 6 7 6 19

9 8 7 7 22 5 5 6 16

10 6 6 6 12 5 5 6 16

11 7 9 8 24 5 7 6 18

12 8 6 6 20 7 6 5 18

กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม

คนที่ ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 รวม ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 รวม

13 8 8 9 25 6 5 7 18

14 8 6 9 23 6 5 6 17

15 5 7 8 20 6 5 6 17

 X 321  X 262

X

21.40 X

17.46

จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ พบว่า หลังทำการทดลองคะแนนของกลุ่มทดลองมีผลรวมของคะแนนเป็น 321 โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 21.40 และคะแนนของกลุ่มควบคุมมีผลรวมของคะแนนเป็น 262 โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 17.46 ซึ่งมีความแตกต่างกันมากอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ 2 ที่ตั้งไว้ แสดงว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนการอ่านสูงกว่ากลุ่มควบคุม

ตารางที่ 3 การเปรียบเทียบคะแนนการอ่านของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อน และหลังการทดสอบ

การทดสอบ   X X

ก่อนการเรียน กลุ่มทดลอง 15 191 12.73

ก่อนการเรียน กลุ่มควบคุม 15 161 10.73

หลังการเรียน กลุ่มทดลอง 15 321 21.40

หลังการเรียน กลุ่มควบคุม 15 262 17.46

จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติตารางที่ 3 พบว่า ก่อนทำการทดลองคะแนนของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเป็น 12.73 และคะแนนของกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยเป็น 10.73 และหลังทำการทดลองคะแนนของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเป็น 22.46 และคะแนนของกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยเป็น 17.46 ซึ่งมีความแตกต่างกันมากอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ 2 ที่ตั้งไว้ แสดงว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนการอ่านสูงกว่ากลุ่มควบคุม เด็กสามารถเรียนการอ่านได้ดี และรักการอ่านมากขึ้น บ่งบอกถึงประสิทธิผลของเครื่องมือในการใช้ เนื้อเรื่องภาษาอังกฤษ SRA ที่ทำการทดลองเป็นเรื่องที่เรียงลำดับจากเรื่องง่ายไปเรื่องยากและมีภาพประกอบรวมทั้งแบบฝึกหัดที่เด็กจะสามารถอ่านได้ง่ายและน่าสนใจ เป็นการเริ่มต้นให้เด็กฝึกและหัดอ่าน เพราะเด็กสามารถจดจำคำศัพท์ไว้ในหน่วยความจำ จึงสามารถอ่านจับใจความได้เมื่อมีการทดสอบภายหลัง สุไร (2525) กล่าวว่า การสอนอ่านมีความสำคัญ และมีคุณค่าต่อผู้เรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสอนภาษาเพราะเป็นการเร้าความความสนใจของเด็กมั่งทำให้นักเรียนที่ทำกิจกรรมลืมไปว่าตนกำลังเรียนอยู่ขณะที่ตนก็ใช้ภาษาไปด้วย ซึ่งทำให้นักเรียนใช้ภาษาได้คล่องแคล่วมากขึ้น

บทที่ 5

สรุปและข้อเสนอแนะ

ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

เพื่อศึกษาผลการพัฒนาผู้เรียนด้านทักษะการอ่านแปลเรื่องและจับใจความจากเนื้อเรื่องของ SRA โดยเปรียบเทียบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างผู้เรียนกลุ่มทดลองและผู้เรียนกลุ่มควบคุม

วิธีดำเนินการวิจัย

1. แหล่งข้อมูลและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดพระพุทธบาทน้อย มิตรภาพที่ 69 จังหวัดสระบุรี ปีการศึกษา 2561

2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ประกอบด้วย

- เนื้อเรื่องที่อ่านจาก SRA

- แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน

3. วิธีดำเนินการศึกษา

ผู้วิจัยดำเนินการสอนในชั่วโมงเรียนปกติของการเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561

4. การเก็บข้อมูล

4.1 แบบทดสอบก่อนเรียน

4.2 ดำเนินการสอนการอ่านเนื้อเรื่องจาก SRA

4.3 ทดสอบหลังเรียนโดยใช้แบบทดสอบชุดเดิม

4.4 นำคะแนนก่อนเรียนและคะแนนหลังเรียนมาวิเคราะห์ทางสถิติ

การวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยได้วิเคราะห์โดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียนโดยใช้สูตร

X =  X



แทนค่า

X ค่าเฉลี่ย

 X แทนผลรวมของคะแนนของผู้เรียน

 แทนจำนวนผู้เรียน

สรุปผลการศึกษาค้นคว้า

ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ดังนี้

เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนซึ่งได้รับการสอนโดยใช้วิธีการสอนการอ่านของ SRA ทำให้ผู้เรียนในกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษในด้านทักษะการอ่านดีขึ้น

ข้อเสนอแนะ

1 วิธีการนี้เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถพิจารณานำไปใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการด้านการอ่านของเด็ก เนื่องจากในการฝึกทักษะการอ่านเด็กจะเกิดความพร้อมในด้านต่าง ๆ คือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาพร้อม ๆ กันไป

2. สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือชนิดอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการอ่าน เช่น หนังสือพิมพ์ วีดีโอ หรือ Multimedia ซึ่งจะมีภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบเป็นการเพิ่มความน่าสนใจในการอ่าน

บรรณานุกรม

บันลือ พฤกษะวัน. 2538. มิติใหม่ในการสอนอ่าน. สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. กรุงเทพฯ, 140 น.

ประมวล ดิคคินสัน. 2509. ความพร้อมที่จะเรียนอ่านของเด็ก จิตวิทยาการศึกษาของเด็ก. หน่วยศึกษานิเทศน์ กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพฯ 114 น.

ประเทิน มหาขันธ์. 2530. การสอนอ่านเบื้องต้น. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 243 น.

ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. พจนานุกรมฉบับราชราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525. สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์. กรุงเทพฯ 972 น.

สุไร พงษ์ทองเจริญ. 2525. วิธีสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร, กรุงเทพฯ. 155 น.

Downing, J. and C.K. Leong. 1982. Psychology of Reading. Maemillan Publishing Co., Inc., New York. 410 p.

Elkonin, D.B. 1973. U.S.S.R. Comparative reading. Cited by J. Downing and C.K. Leong. 1982. Psychology of Reading. Maemillan Publishing Co., Inc., New York. 410 p.

Fries, C.C. 1963. Linguistics and reading. Cited by J. Downing and C.K. Leong. 1982. Psychology of Reading. Maenillan Publishing Co., Inc., New York. 410 p.

Harris, A.J. 1968. How to increase Reading Ability : A Guide to Development and Vemedio Methods. 4 th ed., David Mckay, New Youk. 325 p.

Humphrey, J.H. and N.H. Joy. 1990. Reading Con Be Child’s Play. Charles C. Thomas Publisher, Illinois. 116 p.

Thomson, B.J. 1981. Parent’s perseptions of their roles and neesa as related to their children’s reading development. Ph.D. thesis, State University of New York, New York. (Diss. Abstr. 42 : 1079 -A 1080 – A)

คำนำ

การอ่านเป็นทักษะด้านหนึ่งที่สำคัญมากในวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานในการนำไปใช้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ใช้ในหน้าที่การงานในอนาคต และใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ และเพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในทักษะการฟัง การพูด การเขียน และการสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนอันหลากหลายต่อไป

ผู้เขียนได้ศึกษาและนำเสนอวิธีการฝึกทักษะการอ่านเนื้อเรื่องภาษาอังกฤษที่พัฒนาขึ้น สามารถพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนำไปสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการและนำไปใช้ในเหตุการณ์ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

โพสต์โดย ครูพิม : [27 ก.พ. 2562 เวลา 06:26 น.]
อ่าน [3486] ไอพี : 171.4.156.193
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 20,104 ครั้ง
10 ธุรกิจลงทุนจิ๊บๆ แค่ใช้ทักษะที่มีในตัวก็ทำเงินได้
10 ธุรกิจลงทุนจิ๊บๆ แค่ใช้ทักษะที่มีในตัวก็ทำเงินได้

เปิดอ่าน 140,322 ครั้ง
การทำงานของเอนไซม์
การทำงานของเอนไซม์

เปิดอ่าน 23,911 ครั้ง
ไขข้อข้องใจ กินเห็ดมีประโยชน์จริงหรือ?
ไขข้อข้องใจ กินเห็ดมีประโยชน์จริงหรือ?

เปิดอ่าน 16,296 ครั้ง
จุฬาฯวิจัยเปลือกมังคุดพบคุณค่าอื้อ ต้านอักเสบ รักษาเซลล์มะเร็ง
จุฬาฯวิจัยเปลือกมังคุดพบคุณค่าอื้อ ต้านอักเสบ รักษาเซลล์มะเร็ง

เปิดอ่าน 11,638 ครั้ง
ระวัง นุ่งกางเกงคับรัดติ้ว แข้งขาเป็นเหน็บชาได้
ระวัง นุ่งกางเกงคับรัดติ้ว แข้งขาเป็นเหน็บชาได้

เปิดอ่าน 13,133 ครั้ง
สีบนจอภาพคอมพิวเตอร์
สีบนจอภาพคอมพิวเตอร์

เปิดอ่าน 143,431 ครั้ง
อาถรรพณ์"นรกซานติก้า" ที่ดินนี้มีตำนาน..."เลือด"!!!
อาถรรพณ์"นรกซานติก้า" ที่ดินนี้มีตำนาน..."เลือด"!!!

เปิดอ่าน 21,311 ครั้ง
เงินเดือนเป็นความลับ
เงินเดือนเป็นความลับ

เปิดอ่าน 18,743 ครั้ง
วิธีการลดขนาดภาพ โดยลดขนาดความกว้างของภาพหลายภาพในครั้งเดียว
วิธีการลดขนาดภาพ โดยลดขนาดความกว้างของภาพหลายภาพในครั้งเดียว

เปิดอ่าน 36,446 ครั้ง
วิธีทำอุปกรณ์ง่าย ๆ ดูปรากฏการณ์สุริยุปราคา
วิธีทำอุปกรณ์ง่าย ๆ ดูปรากฏการณ์สุริยุปราคา

เปิดอ่าน 15,256 ครั้ง
การได้สารพิษ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 8
การได้สารพิษ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 8

เปิดอ่าน 15,669 ครั้ง
การปรับชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษ
การปรับชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษ

เปิดอ่าน 34,360 ครั้ง
“ไมโครกรีน” ผักจิ๋ว แต่คุณประโยชน์สูง...ทางเลือกใหม่ของผู้รักสุขภาพ “ทานน้อยแต่ได้ประโยชน์มาก”
“ไมโครกรีน” ผักจิ๋ว แต่คุณประโยชน์สูง...ทางเลือกใหม่ของผู้รักสุขภาพ “ทานน้อยแต่ได้ประโยชน์มาก”

เปิดอ่าน 17,621 ครั้ง
โลโก้กูเกิล "สุพรรณหงส์" แสดงในเว็บไซต์กูเกิล "วันแม่" 12 สิงหา 2553
โลโก้กูเกิล "สุพรรณหงส์" แสดงในเว็บไซต์กูเกิล "วันแม่" 12 สิงหา 2553

เปิดอ่าน 68,243 ครั้ง
เทคนิคจำศัพท์ภาษาอังกฤษ
เทคนิคจำศัพท์ภาษาอังกฤษ

เปิดอ่าน 16,651 ครั้ง
วัยไหนให้ดูทีวี
วัยไหนให้ดูทีวี
เปิดอ่าน 10,851 ครั้ง
กลุ่มคน 1%ของโลก ครอบครองทรัพย์สินกว่าครึ่งโลก
กลุ่มคน 1%ของโลก ครอบครองทรัพย์สินกว่าครึ่งโลก
เปิดอ่าน 38,895 ครั้ง
คำศัพท์ภาษาอังกฤษหมวดชื่อเดือนทั้ง 12 เดือน
คำศัพท์ภาษาอังกฤษหมวดชื่อเดือนทั้ง 12 เดือน
เปิดอ่าน 48,701 ครั้ง
การยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
การยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
เปิดอ่าน 7,220 ครั้ง
อะโดบีเผยผลการศึกษาชี้ นักเรียนรุ่น Gen Z และครูในไทยมองว่าความคิดสร้างสรรค์คือกุญแจสู่ความสำเร็จ
อะโดบีเผยผลการศึกษาชี้ นักเรียนรุ่น Gen Z และครูในไทยมองว่าความคิดสร้างสรรค์คือกุญแจสู่ความสำเร็จ

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ