ชื่อเรื่อง รายงานผลการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนา
ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3
โรงเรียนเทศบาลท่าโขลง 1
ผู้รายงาน นางสาวนวพร ขันสิงห์
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
รายงานผลการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐาน
ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าโขลง 1 มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าโขลง 1 สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าโขลง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้
ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 3) เพื่อหาค่า
ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของ
เด็กปฐมวัยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าโขลง 1 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้
ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลท่าโขลง 1 สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าโขลง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 32 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบแบงกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 2) แผนการจัดประสบการณ์ และ 3) แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย มีค่า IOC ระหว่าง 0.92 0.98 2) ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของ
เด็กปฐมวัย มีค่า IOC ระหว่าง 0.94 0.96 และ 3) แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของ
เด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าโขลง 1 มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .36 - .77 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21 - 0.57ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบความแตกต่างโดยการทดสอบค่าที (t - test) แบบ t - Dependent ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ของเด็กปฐมวัยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าโขลง 1 มีค่าประสิทธิภาพระหว่างกระบวนการและผลลัพธ์ (E1/E2) เฉลี่ยทุกแบบฝึก คือมีค่า E1/E2 เท่ากับ 89.90/87.29 แสดงว่า ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 89.90 มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และมีประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 87.29 มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด จึงสรุปได้ว่าชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐาน
ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าโขลง 1 มีค่าประสิทธิภาพ
สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด E1/E2 เท่ากับ 80/80 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ โดยมีค่าสูงกว่าเกณฑ์
ที่กำหนดทั้ง 10 ชุดกิจกรรม
2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าโขลง 1 ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ของเด็กปฐมวัย เท่ากับ 0.8152 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยคิดเป็นร้อยละ 81.52
3. ผลการศึกษาและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าโขลง 1 ก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมแบบสืบเสาะ
หาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าโขลง 1 จากการทดสอบที่มีคะแนนเต็ม 20 คะแนน พบว่า คะแนนเฉลี่ยก่อนจัดประสบการณ์เท่ากับ 6.47 คิดเป็นร้อยละ 32.34 และหลังจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.50 คิดเป็นร้อยละ 87.50 โดยคะแนนเฉลี่ยหลังจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01