ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2

ชื่อเรื่อง การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2

ผู้ศึกษาค้นคว้า นายเธียนไท คำล้าน

หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2

ปี พ.ศ. 2561

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ของการจัดการศึกษาปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 3) เพื่อศึกษาผลการใช้แนวทางการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 โดยใช้กระบวนการการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน (Planning) ขั้นปฏิบัติการตามแผน (Action) ขั้นการสังเกต (Observation) และ ขั้นการสะท้อนผล (Reflection) จำนวน 2 วงรอบ โดยในวงรอบที่ 1 ใช้กลยุทธ์ในการพัฒนา 3 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) การเพิ่มอำนาจในการทำงาน ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง การประชุมเชิงปฏิบัติการ (มอบหมายศึกษานิเทศก์),การนิเทศภายใน (มอบหมายผู้บริหารสถานศึกษา) 2)การศึกษาดูงาน 3)การนิเทศติดตามผลด้วยเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะส่วนในวงรอบที่ 2 ใช้กลยุทธ์ในการพัฒนา 1 กลยุทธ์ ได้แก่ การนิเทศติดตามผลด้วยเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะโดยมี กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า ประกอบด้วย ผู้ศึกษาค้นคว้า และบุคลากรที่สมัครใจเข้าร่วมศึกษาค้นคว้า จำนวน 201 คน ได้แก่ 1) ผู้ศึกษาค้นคว้า จำนวน 1 คน ได้แก่ นายเธียนไท คำล้าน ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 2) ครูปฐมวัยจากโรงเรียนที่สมัครใจร่วมศึกษาค้นคว้า จำนวน 37 คน (จาก 37 โรงเรียนๆ ละ 1 คน ) เป็นครูปฐมวัยกลุ่มเป้าหมาย 3) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 37 คน (จาก 37 โรงเรียน) เป็นโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย 4) ศึกษานิเทศก์ จำนวน 15 คน 5) เครือข่ายชุมชน จำนวน 111 คน (จาก 37 โรงเรียนๆ ละ 3 คน) และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล (Key Informants) จำนวน 629 คน ได้แก่ 1) ครูวิชาการ จำนวน 37 คน (จาก 37 โรงเรียน) เป็นโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย 2) ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย จำนวน 185 คน (จาก 37 โรงเรียนๆ ละ 5 คน ) 3) คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 185 คน (จาก 37 โรงเรียนๆ ละ 5 คน ) 4) เด็กปฐมวัย จำนวน 222 คน (จาก 37 โรงเรียนๆ ละ 6 คน )

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนามี 1 ชนิด ได้แก่ ได้แก่ คู่มือแนวทางการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

มี 5 ชนิด ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสอบถาม และแบบประเมิน การตรวจสอบข้อมูลใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation Technique) และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์

ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า

การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ดำเนินการ ๒ วงรอบ สรุปผลการศึกษาทั้ง 2 วงรอบ ได้ดังนี้

1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 พบว่า สภาพปัจจุบันการมีส่วนร่วมของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.72) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด สามอันดับแรกคือ การสร้างหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสม ( = 4.01) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ( = 4.01) การบูรณาการการเรียนรู้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ( = 3.79) การจัดประสบการณ์การเรียนที่ส่งเสริมพัฒนาการ ( = 3.66) และด้านที่ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การประเมินพัฒนาการ( = 3.46)

ส่วนสภาพที่พึงประสงค์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการศึกษาปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.88) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านโดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามอันดับแรกคือ การจัดประสบการณ์การเรียนที่ส่งเสริมพัฒนาการ ( = 4.97) การบูรณาการการเรียนรู้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ( = 4.96) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก ( = 4.83) การประเมินพัฒนาการ ( = 4.82) และด้านที่ค่าเฉลี่ยต่ำสุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ การประเมินพัฒนาการ และการสร้างหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสม ( = 4.82)

2. แนวทางการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 พบว่า แนวทางการดำเนินการบริหารจัดการเชื่อมโยงบทบาทของกลุ่มบุคคล ภายใต้ความต้องการในวัตถุประสงค์ร่วมกันมีการปฏิบัติงานหรือเชื่อมโยง การทำงานในลักษณะการมีส่วนร่วม สร้างความร่วมมือ ประสานงานกันโดยร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมตัดสินใจให้ความช่วยเหลือแบ่งปันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 2 ให้เป็นองค์กรแห่งคุณภาพด้วยการบริหารสู่การบริการที่ เป็นเลิศที่ผู้ศึกษาค้นคว้าและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ร่วมกันพัฒนาขึ้น ซึ่งมีกระบวนการดำเนินการร่วมกันของเครือข่ายความร่วมมือ 4 ขั้นตอน ดังนี้

๒.1 ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนและสร้างข้อตกลงร่วม เป็นขั้นตอนในการมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือในการประชุมวางแผนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและร่วมแสดง ความคิดเห็นร่วมในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสม การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ การเรียนรู้ การจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ส่งเสริมพัฒนาการ การบูรณาการการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้และการประเมินพัฒนาการ

๒.2 ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติงานตามแผนงานข้อตกลงร่วม เป็นขั้นตอนในการมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินการสร้างหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสม การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ส่งเสริมพัฒนาการ การบูรณาการ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินพัฒนาการ เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมใน การบริหารจัดการตามความเหมาะสม และสถานศึกษาสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนและหน่วยงานภายนอก

๒.3 ขั้นตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน เป็นขั้นตอนในการมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่าย ความร่วมมือใการจัดหาแหล่งเรียนรู้ทั้งภายใน และภายนอกสถานศึกษา เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนและตระหนักถึงคุณค่าของตนเองที่เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานร่วมกับครูให้ประสบความสำเร็จโดยสถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวิชาการและเป็นศูนย์กลางของชุมชนในการจัดกิจกรรม

๒.4 ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการดำเนินงาน เป็นขั้นตอนในการมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือในการประเมินผลการใช้หลักสูตรของสถานศึกษา เช่น หลักสูตรท้องถิ่นใน การติดตามตรวจสอบผลการปฏิบัติงานร่วมกับครูผู้สอนในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสม การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ส่งเสริมพัฒนาการ การบูรณาการ

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการประเมินพัฒนาการ โดยมีการประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยใช้วิธีการที่หลากหลายและรายงานผลต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3. ผลการใช้แนวทางการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ดังนี้

๓.1 ผลการทดสอบก่อนและหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และการจัดการศึกษาปฐมวัย พบว่า

๓.๑.๑ ผลการทดสอบก่อนและหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และการจัดการศึกษาปฐมวัยด้วยแบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน โดยกำหนดเกณฑ์การผ่านการทดสอบคือ 10 คะแนน พบว่า ผลการทดสอบก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการ ครูปฐมวัยโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 37 คน มีคะแนนเฉลี่ย 10.65 คิดเป็นร้อยละ 53.24 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.25 ผลการทดสอบหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ ครูปฐมวัยโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ย 18.81 คิดเป็นร้อยละ 94.05 และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.05 จะเห็นได้ว่า คะแนนทดสอบก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการของ ครูปฐมวัยโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 28 คน ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 9 คน คะแนนทดสอบหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการของครูปฐมวัยโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายทุกคนผ่านเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ทั้ง 37 คน หากพิจารณาคะแนนเฉลี่ยร้อยละหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการสูงกว่าก่อน การประชุมเชิงปฏิบัติการ

๓.๑.๒ ผลการทดสอบก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า 199 คน ผ่านการทดสอบ จำนวน 159 คน มีคะแนนเฉลี่ย 11.30 คิดเป็นร้อยละ 70.69 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5.92 และไม่ผ่านการทดสอบ จำนวน 40 คน มีคะแนนเฉลี่ย 7.45 คิดเป็นร้อยละ 37.25 และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.08 ผลการทดสอบหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า 199 คน ผ่านการทดสอบ จำนวน 199 คน มีคะแนนเฉลี่ย 18.02 คิดเป็นร้อยละ 90.09 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.60 จะเห็นได้ว่า กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าทุกคนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ทั้ง 199 คน

๓.2 ผลการศึกษาดูงานโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ที่เป็นแบบอย่างได้ในการจัดการศึกษาปฐมวัย พบว่า จากการศึกษาดูงานโรงเรียนที่มีวิธปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า กลุ่มเครือข่ายความร่วมมือทุกกลุ่มจะนำองค์ความรู้มาปรับใช้กับสถานศึกษาของตนเอง โดยจะนำส่วนที่เป็นจุดเด่นและความสำเร็จมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย โดยเฉพาะในด้านเครือข่ายความร่วมมือ ทั้ง ๕ ด้าน ได้แก่ 1) สร้างหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสม 2) สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 3) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ส่งเสริมพัฒนาการ 4) การบูรณาการการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 5) การประเมินพัฒนาการและสิ่งที่ได้เพิ่มเติมจากการศึกษาการศึกษาดูงานโรงเรียนที่มีวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ได้แก่ การร่วมชื่นชมโดยมีแนวทางดำเนนิการ ได้แก่ 1) จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ ผลงานครู,เด็กปฐมวัยและสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะชน 2) จัดนิทรรศการผลงานครู,เด็กปฐมวัยและสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือ 3) มอบเกียรติบัตร,โล่รางวัลแก่ผลงานครู,เด็กปฐมวัยและสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือ ที่เป็นแบบอย่างที่ดี

๓.3 ความพึงพอใจของครูปฐมวัยกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าที่มีต่อการนิเทศด้วยเทคนิค การนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) ดังนี้

๓.๓.๑ ความพึงพอใจของครูปฐมวัยกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าที่มีต่อการนิเทศด้วยเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.79) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านนิเทศด้วยเทคนิคแบบชี้แนะ (Coaching) ( = 4.92) รองลงมา ได้แก่ ด้านวิธีเสริมพลังครู (Empowered Development Approach) ( = 4.89) ส่วนด้านที่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการให้ความรู้ความเข้าใจในการทำงาน ( = 4.56)

๓.๓.๒ ความพึงพอใจของของครูปฐมวัยกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าที่มีต่อการนิเทศด้วยเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.94) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านวิธีเสริมพลังครู (Empowered Development Approach) ( = 4.95) รองลงมา ได้แก่ ด้านนิเทศด้วยเทคนิคแบบชี้แนะ (Coaching) ( = 4.94) ส่วนด้านที่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการให้ความรู้ความเข้าใจในการทำงาน ( = 4.92)

๓.๓.๓ ความพึงพอใจของของครูปฐมวัยกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าที่มีต่อการนิเทศด้วยเทคนิคการนิเทศแบบชี้แนะ (Coaching) ทั้ง 2 วงรอบโดยรวมเฉลี่ยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.๘๖)

๓.๔ ผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยกลุ่มเป้าหมายในการร่วมกิจกรรมการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและความต้องการของชุมชน พบว่า พัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ( = 2.65) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านอารมณ์ จิตใจ ( = 2.76) ด้านร่างกาย ( = 2.65) ด้านสังคม ( = 2.64) ด้านสติปัญญา ( = 2.54) ตามลำดับ

สรุปผลการพัฒนาทั้ง 2 วงรอบ ส่งผลพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย ครอบคลุมทั้ง ๕ ด้าน ได้แก่ คุณภาพผู้เรียน คุณภาพครู คุณภาพสถานศึกษา คุณภาพสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และคุณภาพชุมชน

โพสต์โดย Phun : [26 ก.พ. 2562 เวลา 20:15 น.]
อ่าน [4938] ไอพี : 49.230.245.148
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 34,982 ครั้ง
ขิงแก้ผมร่วง
ขิงแก้ผมร่วง

เปิดอ่าน 7,611 ครั้ง
อะโดบีเผยผลการศึกษาชี้ นักเรียนรุ่น Gen Z และครูในไทยมองว่าความคิดสร้างสรรค์คือกุญแจสู่ความสำเร็จ
อะโดบีเผยผลการศึกษาชี้ นักเรียนรุ่น Gen Z และครูในไทยมองว่าความคิดสร้างสรรค์คือกุญแจสู่ความสำเร็จ

เปิดอ่าน 37,873 ครั้ง
กินแอปเปิ้ล ลดไข้
กินแอปเปิ้ล ลดไข้

เปิดอ่าน 22,457 ครั้ง
นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เปิดอ่าน 8,383 ครั้ง
ชาวเน็ตแชร์คลิปเสียดสีสังคม ไทยเท ไทยฮุบ ไทยผีเข้า ไทยหัวสูง
ชาวเน็ตแชร์คลิปเสียดสีสังคม ไทยเท ไทยฮุบ ไทยผีเข้า ไทยหัวสูง

เปิดอ่าน 16,733 ครั้ง
 สะพานซังฮี้  ซังฮี้แปลว่าอะไร?
สะพานซังฮี้ ซังฮี้แปลว่าอะไร?

เปิดอ่าน 14,160 ครั้ง
มาตรฐานข้อสอบและการให้เกรดในมหาวิทยาลัย: เกรดเฟ้อและเกรดฝืด
มาตรฐานข้อสอบและการให้เกรดในมหาวิทยาลัย: เกรดเฟ้อและเกรดฝืด

เปิดอ่าน 62,820 ครั้ง
องค์ประกอบของมัลติมีเดีย มีอะไรบ้าง?
องค์ประกอบของมัลติมีเดีย มีอะไรบ้าง?

เปิดอ่าน 30,838 ครั้ง
ดร.ไพฑูรย์ ศรีฟ้า
ดร.ไพฑูรย์ ศรีฟ้า

เปิดอ่าน 9,724 ครั้ง
คลิปประทับใจ สานฝันเด็กพิเศษ ให้กลายเป็นจริง
คลิปประทับใจ สานฝันเด็กพิเศษ ให้กลายเป็นจริง

เปิดอ่าน 13,325 ครั้ง
เตาอบไมโครเวฟ ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ไหม
เตาอบไมโครเวฟ ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ไหม

เปิดอ่าน 32,829 ครั้ง
ฝรั่งมาไทยแล้วอัพคลิป "Never Go To Thailand" เพราะอะไร? ไม่กดดู ไม่ได้แล้ว....
ฝรั่งมาไทยแล้วอัพคลิป "Never Go To Thailand" เพราะอะไร? ไม่กดดู ไม่ได้แล้ว....

เปิดอ่าน 19,946 ครั้ง
ฟินแลนด์ vs ไทย อะไรคือกุญแจแห่งความสำเร็จทางการศึกษา
ฟินแลนด์ vs ไทย อะไรคือกุญแจแห่งความสำเร็จทางการศึกษา

เปิดอ่าน 60,238 ครั้ง
ทีฆายุโก - ฑีฆายุโก
ทีฆายุโก - ฑีฆายุโก

เปิดอ่าน 14,079 ครั้ง
PowerPoint  ประกอบการประชุมสัมมนาการบริหารงานบุคคลของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.)
PowerPoint ประกอบการประชุมสัมมนาการบริหารงานบุคคลของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.)

เปิดอ่าน 16,032 ครั้ง
เคราะห์ซ้ำกรรมซัด "SCB-สถาบันการศึกษา"
เคราะห์ซ้ำกรรมซัด "SCB-สถาบันการศึกษา"
เปิดอ่าน 9,169 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษา ติดอาวุธครูสอนคิด
ปฏิรูปการศึกษา ติดอาวุธครูสอนคิด
เปิดอ่าน 21,074 ครั้ง
เกมส์ลูกตุ้มแดนมังกร
เกมส์ลูกตุ้มแดนมังกร
เปิดอ่าน 20,016 ครั้ง
เกมส์แข่งรถ
เกมส์แข่งรถ
เปิดอ่าน 15,685 ครั้ง
เสียงสะท้อนจากเยาวชน ต่อนโยบายลดเวลาเรียน
เสียงสะท้อนจากเยาวชน ต่อนโยบายลดเวลาเรียน

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ