ชื่อเรื่อง : การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการวัดความยาว การชั่งและการตวง โดยใช้
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ประกอบสื่อประสม
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย : นางอรพร ภูมิลี
สถานศึกษา : โรงเรียนบ้านขอนแก่น
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
ปีการศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการวัดความยาว การชั่งและการตวง โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ประกอบสื่อประสม
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยมีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนโรงเรียนในเครือข่ายคำสร้อยนาอุดม 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ประกอบสื่อประสม เรื่อง การวัดความยาว การชั่งและการตวง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ประกอบสื่อประสม เรื่อง การวัดความยาว การชั่งและการตวง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เกี่ยวกับ 3.1) หาประสิทธิภาพด้านกระบวนการและผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ประกอบสื่อประสม เรื่อง การวัดความยาว การชั่งและการตวง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3.2) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3.3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ประกอบสื่อประสม เรื่อง การวัดความยาว การชั่งและการตวง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ขั้นตอนการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบ 2) การพัฒนารูปแบบ 3) การศึกษาผลการใช้รูปแบบ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดกลุ่มเครือข่ายคำสร้อยนาอุดม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร จำนวน 25 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาผลการใช้รูปแบบ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ปีการศึกษา 2560 จำนวน 24 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ประกอบสื่อประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ 3) แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และ4) แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียน
ผลการวิจัย พบว่า ขั้นตอนที่ 1 กลุ่มเป้าหมายมีความเห็นว่าการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์มีความสำคัญ แต่กระบวนการจัดการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายยังไม่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ขั้นตอนที่ 2 รูปแบบการสอนประกอบด้วย 6 ขั้น คือ ขั้นที่ 1) การทบทวนความรู้เดิม ขั้นที่ 2) การแสวงหาความรู้ใหม่ ขั้นที่ 3) การศึกษาความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม ขั้นที่ 4) การวิเคราะห์ความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา ขั้นที่ 5) การสรุปและจัดระเบียบความรู้ และขั้นที่ 6) การปฏิบัติและประเมินผล และชุดสื่อประสมที่ใช้ประกอบรูปแบบ 12 เล่ม ประกอบด้วย เล่มที่ 1 การวัดความยาวเป็นเมตร เซนติเมตร และมิลลิเมตร เล่มที่ 2 การเลือกเครื่องที่ใช้ในการวัดและหน่วยการวัดความยาว เล่มที่ 3 ความสัมพันธ์ของหน่วยการวัดความยาวและการเปรียบเทียบความยาวและความสูง เล่มที่ 4 การคาดคะเนความยาวและความสูง เล่มที่ 5 โจทย์ปัญหาการวัดความยาว เล่มที่ 6 เครื่องชั่งและหน่วยน้ำหนัก เล่มที่ 7 การเลือกเครื่องชั่งและความสัมพันธ์ของหน่วยน้ำหนัก เล่มที่ 8 การเปรียบเทียบน้ำหนัก เล่มที่ 9 โจทย์ปัญหาการชั่ง เล่มที่ 10 เครื่องตวงและหน่วยปริมาตร เล่มที่ 11 การเลือกเครื่องตวงและหน่วยปริมาตรและเปรียบเทียบปริมาตรและความจุ เล่มที่ 12 โจทย์ปัญหาการตวง ขั้นตอนที่ 3 ผลการใช้รูปแบบ พบว่าประสิทธิภาพด้านกระบวนการและผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบ มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 79.50/78.75 ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลการวัดทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนในระดับมีความพึงพอใจมากที่สุด