ความเป็นมาความสำคัญของปัญหา
การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันสื่อเทคโนโลยีมีบทบาทและได้รับความนิยมอย่าง แพร่หลายในการนํามาช่วยจัดกิจกรรมด้านการเรียนการสอน เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่ ทันสมัย สามารถผสมผสานระหว่างสื่อหลายรูปแบบ เช่น ข้อความ ตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ที่เพิ่มความน่าสนใจของบทเรียน ถือว่าเป็นตัวช่วยสร้างน่าสนใจใน เนื้อหาให้กับนักเรียน มีการนําเอาคอมพิวเตอร์มาสร้างห้องเรียนออนไลน์ซึ่งทําให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา การเรียนรู้บนห้องเรียนออนไลน์ (Google Classroom) เป็นการ เรียนรู้ผ่าน Application ที่รวมเอาบริการของ Google ที่มีอยู่แล้ว เช่น Drive, Docs, Gmail หรือ Sheet เข้ามารวมไว้ด้วยกัน และสามารถนําเสนอออกมาเป็นระบบเดียวแบบครบวงจร เพื่อใช้เป็นเครื่องมือให้ครูผู้สอนสามารถใช้ประโยชน์ในการสั่งงานและเก็บรวบรวมผลงานต่างๆ ของ นักเรียน อีกทั้งยังจะช่วยให้นักเรียนสามารถส่งงานได้ทันทีผ่านทางออนไลน์ ในขณะที่ ครูผู้สอนเองก็สามารถตรวจงานที่มอบหมาย พร้อมให้ข้อเสนอแนะแบบเรียลไทม์ได้ โดย ครูผู้สอนสามารถสร้างหน้าห้องเรียนขึ้นมา และสามารถเพิ่ม-ลด นักเรียนเข้าไปได้หรือจะใช้ วิธีการส่งรหัสเพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าสู่ห้องเรียน จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ (Google Classroom) วิชาฟิสิกส์ 1 เรื่องเครื่องกล เพื่อนํามาใช้ ในการจัดการเรียนการสอน เพิ่มประสิทธิภาพในการสอนของครู เพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียน ช่วยให้นักเรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาฟิสิกส์ 1 ไม่เกิดความเบื่อหน่ายกับการสอนกับวิธีการสอน และสามารถศึกษาได้ด้วยตนเองนอกเวลาเรียนตามศักยภาพที่แตกต่างกันของบุคคล อีกทั้ง
เป็นแนวทางในการพัฒนาห้องเรียน ในเนื้อหาอื่น ๆ ต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน รายวิชาฟิสิกส์ 1 (รหัสวิชา31211)
เรื่อง เครื่องกล โดยใช้ Google Classroom
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาฟิสิกส์ 1 (รหัสวิชา31211) เรื่อง เครื่องกล หลังจากใช้ Google Classroom เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรายวิชาฟิสิกส์ 1 (รหัสวิชา31211) เรื่อง เครื่องกล โดยใช้ Google Classroom
สมมติฐานการวิจัย
1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนในรายวิชาฟิสิกส์ 1 (รหัสวิชา31211) เรื่อง เครื่องกล โดยใช้ Google Classroom ของนักเรียนระดับมัธยมปีที่ 4/1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาฟิสิกส์ 1 (รหัสวิชา31211) เรื่อง เครื่องกล หลังจากใช้ Google Classroom สูงกวาเกณฑ์ร้อยละ 75
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนวิชารายวิชาฟิสิกส์ 1 (รหัสวิชา31211) เรื่อง เครื่องกล โดยใช้ Google Classroom อยู่ระดับมากขึ้นไป ขอบเขตของการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้นนักเรียนระดับมัธยมปีที่ 4/1-2 จํานวน 2 ห้อง จำนวนนักเรียน 57 คน ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2561 โรงเรียนวัดอินทาราม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนวัดอินทาราม จํานวน 29 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่มเลือกเจาะจง
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเครื่องกลมากขึ้น
2. นักเรียนมีสื่อที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่และตลอดเวลา
เครื่องมือที่ใช้
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย
1. ห้องเรียนออนไลน์ Google Classrommวิชาฟิสิกส์1 เรื่อง เครื่องกลสําหรับ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่4/1
2. แบบทดสอบก่อนเรียน จํานวน 10 ข้อและหลังเรียน จํานวน 10 ข้อ
3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาฟิสิกส์ 1 เรื่องเครื่องกล แบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จํานวน 10 ข้อ
4. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ห้องเรียนออนไลน์ (Google Classroom) วิชาฟิสิกส์ 1 เรื่องเครื่องกล สําหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คือ พึงพอใจมากที่สุด พึงพอใจมาก พึงพอใจปานกลาง พึงพอใจน้อย พึงพอใจน้อยที่สุด จํานวน 20 ข้อ
วิธีดำเนินการวิจัย
ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาฟิสิกส์ 1 เรื่องเครื่องกล สําหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 เพื่อนําไป ทดสอบก่อนเรียน หลังเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จํานวน 20 ข้อ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน คือ ตอบถูกต้องให้ 1 คะแนน ตอบผิด ไม่ตอบ หรือ ตอบเกิน 1 ตัวเลือกให้ 0 คะแนน ผู้วิจัยได้วางแผนการสร้างและหาคุณภาพของแบบทดสอบตาม ขั้นตอนดังนี้
1. นําขอบเขตเนื้อหา และจุดประสงค์การเรียนรู้ วิชาฟิสิกส์ 1 เรื่องเครื่องกล สําหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 มาวิเคราะห์ประเภท และจํานวนแบบทดสอบ
2. สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิชาฟิสิกส์ 1 เรื่องเครื่องกล สําหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จํานวน 20 ข้อ โดยครอบคลุมเนื้อหาและผลการเรียนรู้ท
3. นําแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่สร้างขึ้นเสนอต่อคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อ ตรวจสอบความถูกต้อง ขอความคิดเห็นและดําเนินการปรับปรุงแกไขข้อบกพร่อง
4. นําแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปให้ ผู้เชี่ยวชาญประเมินเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา จุดประสงค์การเรียนรู้ และหาความ สอดคล้อง (IOC) ระหว่างแบบทดสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้
5. นําผลคะแนนที่ได้จากการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญในแต่ละข้อมาหาค่าเฉลี่ย และปรับปรุงแกไขข้อสอบบางข้อที่คําถามไม่ชัดเจนตามคําแนะนําของผู้เชี่ยวชาญ
6. นําแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไปทดลองใช้กับ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 จํานวน 28 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอยาง ซึ่งเคยเรียนวิชาฟิสิกส์ 1 เรื่องเครื่องกลมาแล้ว หลังจากนั้นนําผลคะแนนมา วิเคราะห์หาคุณภาพข้อสอบเป็นรายข้อ เพื่อหาค่าความยาก (P) และค่าอํานาจจําแนก (B)
7.ผู้วิจัยนําผลการวิเคราะห์หาคุณภาพของแบบทดสอบมาพิจารณา เพื่อคัดเลือก แบบทดสอบที่มีคุณภาพ ได้แบบทดสอบที่มีค่าความยาก (P) และมีค่าอํานาจจําแนก (B) ตามวิธี ของ Brennan จํานวน 20 ข้อ เพื่อเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
8. นําแบบทดสอบจํานวน 20 ข้อ ที่คัดเลือกไว้สําหรับนําไปใช้ทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาวิเคราะห์หาความเชื่อมัน (r) ของแบบทดสอบทั้งฉบับ ตามวิธีของ Lovett แล้วพิมพ์เป็นฉบับจริงเพื่อนําไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง
การสร้างและพัฒนาแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนทีมีการเรียนในห้องเรียน ออนไลน์ วิชาฟิสิกส์ 1 เรื่องเครื่องกล สําหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4/1เพื่อสํารวจความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนเรื่องเครื่องกล หลังจากได้เรียนในห้องเรียนออนไลน์ ผู้วิจัยได้ดําเนินการดังนี้
1.วิเคราะห์จุดประสงค์ของการวิจัย กำหนดโครงสร้างเนื้อหาของแบบสอบถาม
2. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกบการวัดประเมินความพึงพอใจต่อการพัฒนา ห้องเรียนออนไลน์ เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดรูปแบบของคําถาม และการใช้ถ้อยคําที่เหมาะสม
3. สร้างแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน โดยใช้ห้องเรียน ออนไลน์ โดยกำหนดพฤติกรรมที่ต้องการวัดให้ครอบคลุมต่อการเรียน จํานวน 20 ข้อ เป็นแบบวัดที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า โดยอาศัยหลักการของ Likert ซึ่งใช้มาตรา 5 อันดับ คือ พึงพอใจมากที่สุด พึงพอใจมาก พึงพอใจปานกลาง พึงพอใจน้อย พึงพอใจน้อยที่สุด
4. นําแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาฟิสิกส์ 1 เรื่องเครื่องกล โดยใช้ห้องเรียนออนไลน์เสนอผู้เชี่ยวชาญ ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจแบบวัดความพึงพอใจ เพื่อหาค่าความ สอดคล้อง (IOC) (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ, 2543: 246-249)
วิธีวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน รายวิชา ฟิสิกส์ 1 เรื่อง เครื่องกลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดอินทาราม โดยใช้ห้องเรียน ออนไลน์ (Google classroom) ผู้วิจัยได้การวิเคราะห์ข้อมูลตามลําดับดังนี้
1 วิเคราะห์การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระหว่างก่อน เรียนและหลังเรียน รายวิชา ฟิสิกส์ 1 เรื่อง เครื่องกล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดอินทาราม โดยใช้ห้องเรียนออนไลน์ (Google classroom)
2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของรายวิชา ฟิสิกส์ 1 เรื่อง เครื่องกล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดอินทาราม หลังจากใช้ห้องเรียนออนไลน์ (Google classroom) เทียบกับเกณฑ์
ร้อยละ 75
3 วิเคราะห์ความพึงพอใจทางการเรียนต่อรายวิชารายวิชา ฟิสิกส์ 1 เรื่อง เครื่องกล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดอินทาราม โดยใช้ห้องเรียนออนไลน์ (Google classroom)
ผลการวิจัย
จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้ห้องเรียนออนไลน์ (Google classroom)รายวิชารายวิชา ฟิสิกส์ 1 เรื่อง เครื่องกล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดอินทาราม มี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนที่เรียนรายวิชา ฟิสิกส์ 1 เรื่อง เครื่องกล โดยใช้ห้องเรียนออนไลน์ (Google classroom) มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และความพึงพอใจทางการเรียนของ รายวิชา ฟิสิกส์ 1 เรื่อง เครื่องกล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดอินทาราม โดยใช้ห้องเรียนออนไลน์ (Google classroom) โดยรวมทุกด้านมีความพึงพอใจอยูในระดับ มาก เมื่อพิจารณารายด้านพบวาด้านประโยชน์ที่ได้รับอยู่ ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
ข้อเสนอแนะ
1. ควรมีการศึกษาเพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์ (Google classroom)วิชาฟิสิกส์ ในเนื้อหาอื่น ๆ เพื่อใช้
เป็นสื่อสําหรับการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย
2. ควรมีการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ระหว่าง การเรียนโดยใช้ห้องเรียนออนไลน์ (Google classroom)กับวิธีการเรียนโดยใช้ นวัตกรรมทางการศึกษาแบบอื่น ๆ
3. ควรมีการศึกษาเพื่อพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ (Google classroom)ในเนื้อหารายวิชาอื่นๆ