ชื่อเรื่อง การศึกษาสภาพและประเมินผลการดำเนินงานศูนย์ดิจิทัลชุมชน หลักสูตร Digital
literacy and e-Commerce เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ศูนย์การศึกษา
นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย
ผู้วิจัย นางสาวภรภัทร บุญจันทร์
สถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูเรือ
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเลย
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ปีการศึกษา ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาสภาพและประเมินผลการดำเนินงานศูนย์ดิจิทัลชุมชน หลักสูตร Digital literacy and e-Commerce เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อการศึกษาสภาพและประเมิน
ผลการดำเนินงานศูนย์ดิจิทัลชุมชน หลักสูตร Digital literacy and e-Commerce เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย 2) เพื่อศึกษาทักษะการรู้ดิจิทัล (Digital literacy) และการใช้งานพานิชอิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) หลังจากการอบรมหลักสูตร Digital literacy and e-Commerce เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย 3) เพื่อเป็นแนวทาง การพัฒนาดำเนินงานการดำเนินงานศูนย์ดิจิทัลชุมชน หลักสูตร Digital literacy and e-Commerce เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 20 คน และกลุ่มที่ 2 ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 130 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) และคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนจากสูตรของ ทาโร ยามาเน และกลุ่มเป้าหมายสำหรับการสนทนากลุ่ม (Focus group) ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 7 คน รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ และวิจัยเชิงประเมิน โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยคือ ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 3 ฉบับ
คือ แบบสอบถามฉบับที่ 1 สำหรับผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 65 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.22 – 0.71 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 แบบสอบถามฉบับที่ 2 สำหรับผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.39 – 0.82 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 และ แบบประเมินทักษะการรู้ดิจิทัล (Digital literacy) และการใช้งานพานิชอิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.24 – 0.79
และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลประเมินการดำเนินงานศูนย์ดิจิทัลชุมชน หลักสูตร Digital literacy and
e-Commerce เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.52) เมื่อพิจารณาโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยระดับความเหมาะสมสูงสุด 3 อันดับ พบว่า อันดับแรก คือ ด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S.D. = 0.51) รองลงมาคือ กระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.57) และด้านสภาวะแวดล้อมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.48) ตามลำดับ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านปัจจัยนำเข้าโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.53) สามารถจำแนกเป็นรายด้านได้ดังนี้
2. ผลการประเมินทักษะการรู้ดิจิทัล (Digital literacy) การดำเนินงานศูนย์ดิจิทัลชุมชน หลักสูตร Digital literacy and e-Commerce เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.57, = 0.52) ด้านที่มีระดับคุณภาพมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ด้านที่ 1 ทักษะด้านการทํางานของเทคโนโลยี (Operation skills) อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.62, = 0.50) รองลงมาคือ ด้านที่ 3 ทักษะการทำงานร่วมกัน (Collaboration skills) อยู่ในระดับ มากที่สุด
( = 4.58, = 0.55) และรองลงมาคือ ด้านที่ 4 ทักษะการตระหนักรู้ทางสังคม (Awareness skills) อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.52, = 0.61) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีระดับคุณภาพน้อยที่สุด คือ ด้านที่ 2 ทักษะการคิดวิเคราะห์ (Thinking skills) อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.46,
= 0.51) ส่วนการใช้งานพานิชอิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
( = 4.57, = 0.52)
3. การดำเนินงานศูนย์ดิจิทัลชุมชน หลักสูตร Digital literacy and e-Commerce เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย คือ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภูเรือ ควรมีการประชุมระหว่างผู้บริหารและครูที่เป็นวิทยากรแกนนำ เพื่อวางแผนและหาแนวทางในการจัดกิจกรรมตามหลักสูตรที่มีความหลากหลาย เพื่อพัฒนาทักษะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรให้กับครูที่จะไปเป็นวิทยากร ในการจัดกิจกรรมการอบรมให้กับกลุ่มเป้าหมายในแต่ละครั้ง ควรมีการจัดสรรสื่อการเรียน การสอนที่ทันสมัยให้พร้อมในการดำเนินการตามหลักสูตร ควรมีในการสนับสนุน งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และมีการบริหารจัดการในเรื่องของ บุคลากร งบประมาณ วัสดุการอบรม การบริหารหลักสูตร ควรมีการขับเคลื่อนกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม ควรมีการส่งบุคลากรเข้าอบรมเพิ่มเติม ควรมีการสนับสนุนวิทยากร ในหลักสูตรเดียวกันระหว่างศูนย์ดิจิทัลด้วยกันเอง และควรมีการศึกษาความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรหลังจากที่ได้นำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าอบรม ไปพัฒนาด้านอาชีพของตนเอง