ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนระดับประถมศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ อดุลย์ กองทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑

การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนระดับประถมศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑

อดุลย์ กองทอง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑

บทนำ

สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันที่ส่งผลต่อการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ประชากร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, ๒๕๕๓ : ๑๐) ได้จัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๕๙) ขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษาของประเทศให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ ๒ คือ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การขยายโอกาสทางการศึกษา และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารและ จัดการศึกษาในส่วนของมาตรการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและเรียนรู้นั้น ได้กล่าวถึงเรื่องหลักสูตรไว้ว่า จัดหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน กิจกรรมการวัดและประเมินผลทุกระดับและประเภทการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อเอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ให้สามารถคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น รวมทั้งจัดบริการการศึกษาและเรียนรู้ด้วยรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับบุคคลที่มีความสามารถและศักยภาพพิเศษด้านต่าง ๆ (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๕๒ : ๑๑-๑๕)

สภาพที่เกิดขึ้นได้สะท้อนให้เห็นว่าไทยมีการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษาอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำกว่าประเทศอื่นที่มีประชากรและทรัพยากรในระดับที่ใกล้เคียงกัน และในมุมมองทางการศึกษาของศาสตราจารย์ ดร. ภาวิช ทองโรจน์ กล่าวถึงการศึกษาไทยว่า คุณภาพการศึกษาพื้นฐานตกต่ำจึงมีความจำเป็นที่ต้องปฏิรูปการเรียนรู้ หมายถึง คุณภาพทางวิชาการ และองค์ความรู้ที่เรามีอยู่ในระบบการศึกษาต่ำกว่ามาตรฐาน ระบบการถ่ายทอด ความรู้ของครูผู้สอน ระบบสนับสนุนการเรียนรู้ หรือการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ซึ่งส่งผลทำให้ผู้เรียนมีความรู้ต่ำกว่ามาตรฐาน (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๕๓ : ๗๗ - ๘๗) ซึ่งทักษะที่คาดหวังในศตวรรษที่ ๒๑ ที่เรียนรู้ผ่านหลักสูตรที่เป็นสหวิทยาการ บูรณาการ จะเน้นด้านการพัฒนาทักษะผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาประกอบด้วย ๕ ด้าน คือ ๑) ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ๒) ทักษะการใช้เทคโนโลยี ๓) ทักษะการแก้ปัญหา ๔) ทักษะการสื่อสาร ๕) ทักษะชีวิตและอาชีพ ในปัญหาที่ซับซ้อน การนำเสนอด้วยวาจาและด้วยการเขียน การใช้เทคโนโลยีความเป็นพลเมืองดี การฝึกปฏิบัติอาชีพ การวิจัยและการปฏิบัติสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นดังนั้นการให้การศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเปลี่ยนแปลงทัศนะ (Perspectives) จากกระบวนทัศน์แบบดั้งเดิม (Tradition Paradigm) ไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ (New Paradigm) ที่ให้โลกของนักเรียนและโลกความเป็นจริงเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ที่ไปไกลกว่าการได้รับความรู้แบบง่าย ๆไปสู่การเน้นพัฒนาทักษะและทัศนคติ ทักษะการคิด ทักษะการแก้ปัญหาทักษะองค์การ ทัศนคติเชิงบวกความเคารพตนเอง นวัตกรรม ความสร้างสรรค์ทักษะการสื่อสาร ทักษะและค่านิยมทางเทคโนโลยี ความเชื่อมั่นตนเองความยืดหยุ่น การจูงใจตนเอง และความตระหนักในสภาพแวดล้อม และเหนืออื่นใดคือความสามารถ ใช้ความรู้อย่างสร้างสรรค์เป็นทักษะที่สำคัญจำเป็นสำหรับการเป็นนักเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ เป็นสิ่งที่ท้าทาย ในการที่จะพัฒนาการเรียนเพื่ออนาคตให้นักเรียนมีทักษะทัศนคติ ค่านิยม และบุคลิกภาพส่วนบุคคล เพื่อเผชิญกับอนาคตด้วยภาพในทางบวก (Optimism) ที่มีทั้งความสำเร็จและมีความสุข

การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนระดับประถมศึกษาศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ ที่พบว่า ภาครัฐได้กำหนดนโยบายการจัดการศึกษาให้กับทุกคนอย่างเท่าเทียม ทั่วถึงและให้มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาได้ร่วมกันกำหนดคุณลักษณะนักเรียน ครูผู้สอนและผู้บริหาร เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะพัฒนาไปศตวรรษที่ ๒๑ คือ นักเรียนต้องมีทักษะ ความรู้เกี่ยวกับทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อเตรียมพร้อมให้เด็กไทยให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมของการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีคุณภาพ อันจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคตได้อย่างเหมาะสมซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๔๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๕๕๓ (ราชกิจจานุเบกษา, ๒๕๕๓ : ๗-๘) ที่ได้กล่าวไว้ในหมวดที่ ๑ มาตรา ๖ ว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และหมวด ๔ แนวการจัดการศึกษา มาตรา ๒๒ ที่ได้ระบุไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

การศึกษาอนาคตภาพการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษาศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ พบว่า ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการบริหารจัดการ และด้านการพัฒนาวิชาชีพ สถานศึกษาควรนำผลวิเคราะห์จากการ SWOT มากำหนดวิสัยทัศน์ การสอนเน้นทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน การสร้างความรู้และการให้ความหมาย (Student Learning : Knowledge – Building and Making Meaning) ทักษะที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาผู้เรียน ได้แก่ ทักษะพื้นฐาน (Core Skills) การสื่อสาร การดำเนินงาน การใช้ ICT การแก้ปัญหา การทำงานกับผู้อื่น ทักษะการเรียนรู้และพัฒนาตน (Personal Learning & Development Skill) ทักษะพลเมือง/ความรับผิดชอบต่อสังคม (Citizenship Skill) ทักษะการทางาน (Employability Skills) ทักษะการวางแผนงาน/กิจกรรม มีทักษะการจัดการตนเองและผู้อื่น สามารถทางานร่วมกับคนอื่น สอดคล้องแนวคิดของนโยบายการศึกษาไทยตามแนวทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๕๔ : ๒๔) การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนประกอบด้วย ความสามารถในการสื่อสารภาษาต่างประเทศ อย่างน้อย ๑ ภาษา รวมถึงด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยี นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับ ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการศึกษาเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, ๒๕๕๔ : ๙๙-๑๐๔) เพื่อให้ทันการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยสมบูรณ์ ได้แก่ การจัดการศึกษาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและเพิ่มพูนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ โดยพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนทั่วไปในทุกระดับและทุกประเภทการศึกษา (สถาบันคลังสมองของชาติ, ๒๕๕๒: ๔-๑๒) ที่เสนอแนวคิดเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคน ได้แก่ พัฒนา International Community School/College ซึ่งเป็นโรงเรียนเฉพาะทางที่เน้นหลักสูตรภาษาอังกฤษ หรือภาษาประเทศเพื่อนบ้านกลุ่มอาเซียนที่สอดคล้องกับ ความต้องการของตลาดแรงงานในภูมิภาคเพื่อเตรียมความพร้อมและปูพื้นฐานให้สอดคล้องกับการเป็น ASEAN Citizen ตั้งแต่ระดับประถมถึงอุดมศึกษา (สุรินทร์ พิศสุวรรณ, ๒๕๕๕ : ๑๕๐) ที่กล่าวถึงการเตรียมคนเข้าสู่อาเซียนว่าจะต้องผลักดันให้เด็ก ๆ ใช้ภาษาอังกฤษเป็น หรืออย่างน้อย ๆ

ขอให้อ่านออกเขียนได้ตามหลักไวยากรณ์ เราอาจพูดไม่ได้เร็ว สำเนียงอาจจะไม่เหมือนเจ้าของภาษา แต่พูดถูกและคนฟังเข้าใจภาษาอังกฤษดี สร้างความได้เปรียบให้กับมนุษย์คนหนึ่งมากมายมหาศาล (ดวงกมล สินเพ็ง, ๒๕๕๓ : ๑๗) กล่าวไว้ว่า หลักสูตรสถานศึกษาและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรมีแนวทางพัฒนาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายได้หลาย ๆ แนวทางตามความ สามารถความถนัดและความสนใจของผู้เรียนที่แตกต่างกัน(แผนการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๕๙), (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๕๓ : ง-ช) ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ในทุกระดับ คือ ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ มีสมรรถนะทั้งด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ การคิดคำนวณ คิดวิเคราะห์แก้ปัญหา คิดริเริ่มสร้างสรรค์ (สุรินทร์ พิศสุวรรณ, ๒๕๕๕ : ๑๕๘-๑๖๗) ที่ได้กล่าวถึงคุณลักษณะของคนที่จะเข้าสู่อาเซียนไว้ว่า คนอาเซียนจะต้องมีความเป็นเลิศ มีความเป็นมืออาชีพ และต้องปรับตัวได้ตลอดชีวิต (วิจารณ์ พานิช, ๒๕๕๕ : ๒๘-๒๙) ที่กล่าวไว้ว่า นับวันโลกยิ่งเปลี่ยนแปลงเร็วและซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ คนที่อ่อนแอในด้านทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมจะเป็นคนที่ตามโลกไม่ทัน ชีวิตก็จะยากลำบาก ดังนั้นเด็กจะต้องได้รับการพัฒนาทักษะของตนเองในด้านการเรียนรู้ทักษะในการเรียนรู้ (Learning How to Learn) และเรียนรู้ทักษะในการสร้างการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น (นวัตกรรม) ซึ่งประกอบไปด้วยทักษะย่อย ๆ ได้แก่ ๑) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) และการแก้ปัญหา (Problem Solving) ซึ่งหมายถึง การคิดอย่างผู้เชี่ยวชาญ (Expert Thinking) ๒) การสื่อสาร (Communication) และความร่วมมือ (Collaboration) ซึ่งหมายถึง การสื่อสารอย่างซับซ้อน (Complex Communicating) และ ๓) ความริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity) และนวัตกรรม (Innovation) ซึ่งหมายถึง การประยุกต์ใช้จินตนาการและการประดิษฐ์ และสิ่งที่สำคัญในการบ่มเพาะทักษะทั้งสามก็คือ การฝึกตั้งคำถาม เพราะการตั้งคำถามที่ถูกต้องสำคัญกว่าการหาคำตอบ (ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ, ๒๕๕๔ : ๖๘) กล่าวไว้ว่าอนาคตด้านการสื่อสารผ่านสื่อใหม่ ๆ ครูและบุคลากรต้องใช้และเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศทุกระบบเน้นการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน (Christen, ๒๐๐๙ : ๒๙) ได้กล่าวไว้ว่า ในปัจจุบันนี้ นักเรียนที่มีโอกาสและความสามารถในการเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ทจะเข้าไปอยู่ในโลกแห่งการสื่อสาร และเข้าถึงโลกเสมือนที่จะค้นหาสารสนเทศและการศึกษาได้อย่างไม่มีขีดจำกัดและการศึกษาที่เปลี่ยนรูปแบบสำหรับนักเรียนจึงต้องมีความโดดเด่น อีกทั้งโลกแห่งงานที่รองรับหลังจากสำเร็จการศึกษานั้น ผลักดันให้นักเรียนต้องแสวงหาความรู้ยุคใหม่ กาญจณี สุวรรณโพธิ์ศรี (๒๕๕๗ : ๑๓๔-๑๓๘) ได้ทำการวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้เครื่องมือแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ (ไอซีที) เพื่อจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรม Scratch ผลการวิจัยพบว่า ๑) การพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้เครื่องมือแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ (ICT) เพื่อจัดการเรียนรู้เพื่อจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ ด้วยโปรแกรม Scratch เพื่อการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย ๕ ขั้นตอน คือ ขั้นที่ ๑ กระตุ้นฝัน ขั้นที่ ๒ ระดมฝัน ขั้นที่ ๓ สร้างฝันเป็นจริง ขั้นที่ ๔ พาสู่โลกกว้าง และขั้นที่ ๕ ขั้นสรุป ตามลำดับ ๒) ระดับค่าเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนก่อนเรียนหลังทดลองระดับ “สูง” สูงกว่าก่อนทดลองซึ่งอยู่ระดับ “ปานกลาง” ๓) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อรูปแบบที่พัฒนามีระดับ “มาก” ตามลำดับ

บทสรุป

การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนระดับประถมศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ ที่พบว่า ทักษะ ด้านความคิดสร้างสรรค์ ควรให้ครอบคลุมความรู้ ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการ เจตคติ และบูรณาการด้านเศรษฐกิจ เอกชัย พุทธสอน (๒๕๕๗ : บทคัดย่อ) ได้ทำวิจัยเรื่องแนวโน้มการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ ๒๑ สำหรับนักศึกษาผู้ใหญ่ ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ สำหรับนักศึกษาผู้ใหญ่ ได้แก่ ๑) ทักษะการเรียนรู้และ ๒) ทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี และ ๓) ทักษะชีวิตและการทำงาน กัญจนา สล้างสุขสกาว (๒๕๕๗ : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่องรูปแบบการประยุกต์เครื่องมือแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ (ไอซีที) ในการจัดการเรียนรู้วิชากิจกรรมการสอนคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ เรื่องคู่อันดับและกราฟโดยนำ ICT มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ ผลการวิจัยพบว่า ๑) รูปแบบการประยุกต์ใช้เครื่องมือแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ (ไอซีที) ในการจัดการเรียนรู้วิชากิจกรรมการสอนคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ เรื่องคู่อันดับและกราฟโดยนำ ICT มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย ๕ ขั้นตอน คือ ขั้นที่ ๑ สนุกคิด ขั้นที่ ๒ จินตนาการสรรสร้าง ขั้นที่ ๓ ฝันให้ไกล ขั้นที่ ๔ ไปให้ฮอด และ ขั้นที่ ๕ ขั้นสรุป ตามลำดับ ๒) ระดับทักษะความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนหลังทดลองมีระดับมากที่สุด สูงกว่าก่อนทดลองมีระดับปานกลาง ๓) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบในระดับมากที่สุด (Bell, ๒๐๑๐ : ๓๖) ได้กล่าวว่า การเรียนรู้ในอนาคตนั้นการเรียนรู้โดยโครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) เป็นอีกหนึ่งวิธีการสอนที่เป็นนวัตกรรมการสอนที่ครูสร้างความอยากรู้อยากเรียนให้เกิดขึ้น และนักเรียนได้แสดงพลังแห่งการเรียนรู้ผ่านทางการเสาะแสวงหาความรู้อย่างแท้จริง ทิศนา แขมมณี (๒๕๕๒ : ๑๒๓-๒๘๒) ได้เสนอรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในรูปแบบ CIPPA MODEL โดยยึดองค์ประกอบสำคัญตามชื่อ CIPPA C (Construct of Knowledge) คือ การสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยกระบวนการ I (Interaction) คือ การให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อมรอบตัว P (Process Skill) คือ ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการต่าง ๆ จำนวนมาก เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ P (Physical Participation) คือ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีการเคลื่อนไหวทางร่างกายอย่างเหมาะสม A (Application) คือ การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวัน

เอกสารอ้างอิง

กาญจณี สุวรรณโพธิ์ศรี. การพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้เครื่องมือแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษ

ที่ ๒๑ (ไอซีที)เพื่อจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ ด้วยโปรแกรม Scratch ระดับชั้น

ประถมศึกษาปีที่ ๕ เพื่อการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร

ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ ลำปาง, ๒๕๕๗.

กัญจนา สล้างสุขสกาว. รูปแบบการประยุกต์เครื่องมือแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ (ไอซีที)

ในการจัดการเรียนรู้วิชากิจกรรมการสอนคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

เรื่อง คู่อันดับและกราฟโดยนำ ICT มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์.

วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, ๒๕๕๗.

จุมพล พูลภัทรชีวิน. “เทคนิคการวิจัยอนาคต แบบ EDFR,” ใน รวมบทความที่เกี่ยวกับการวิจัย

ทางการศึกษา (เล่ม ๒). ๑๒,๑ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๓๕) : ๒๕๘-๒๖๕.

ดวงกมล สินเพ็ง. การพัฒนาผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ : การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน

เป็นศูนย์กลาง : กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๒.

กรุงเทพฯ : บริษัท วี. พริ้นท์ (๑๙๙๑) จากัด, ๒๕๕๓.

ทิศนา แขมมณี. รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์

แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๒.

บริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย,สำนัก. คู่มือการสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาและการส่งเสริม

ศักยภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ., ๒๕๕๓

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๕๓, ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๑๒๗

ตอนที่ ๔๕ ก. หน้า ๓. ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. สัตตสิกขาทัศน์เจ็ดมุมมองการศึกษาใหม่และการเรียนการสอน

นอกกรอบ ๗ ประการ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๔.

เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. การบรรยายทางวิชาการเพื่อสร้างความตระหนัก เรื่อง

"การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน". กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, ๒๕๕๔.

วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๑. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์,

๒๕๕๕.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. การศึกษาเพื่ออาเซียน:หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม.

กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง, ๒๕๕๔.

--------------------. ทศวรรษที่สองของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์

การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด, ๒๕๕๒.

--------------------. แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๕๙) ฉบับสรุป.

กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, ๒๕๕๓.

สถาบันคลังสมองของชาติ. ภาพอนาคตประเทศไทย ๒๕๖๒. กรุงเทพฯ : สถาบันคลังสมอง

ของชาติ, ๒๕๕๒.

สุรินทร์ พิศสุวรรณ. Asean อาเซียนรู้ไว้ได้เปรียบแน่. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง

แอนด์พับลิซซิ่ง, ๒๕๕๕.

เอกชัย พุทธสอน. แนวโน้มการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ สำหรับนักศึกษา

ผู้ใหญ่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, ๒๕๕๗.

Bell, S. “Project-Based Learning for the ๒๑st Century : Skills for the Future,”

The Clearing House : A Journal of Educational Strategies, Issues and Ideas,

๘๓ (๒) (๒๐๑๐) : ๓๙-๔๓.

Christen, Amy. “Transforming the Classroom for Collaborative Learning in the ๒๑st

Century,” Techniques : Connecting Education and Careers. (J๑), v๘๔ n๑

(Jan ๒๐๐๙) : ๒๘-๓๑.

โพสต์โดย daeng : [24 ก.พ. 2562 เวลา 06:24 น.]
อ่าน [3362] ไอพี : 101.51.150.46
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 14,805 ครั้ง
เจ้านายจู้จี้ ขี้บ่น ทำยังไงดี
เจ้านายจู้จี้ ขี้บ่น ทำยังไงดี

เปิดอ่าน 21,080 ครั้ง
การใช้ใบเสร็จรับเงินจากช่องทางการให้บริการด้านอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักฐานในการประกอบการเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ว 34)
การใช้ใบเสร็จรับเงินจากช่องทางการให้บริการด้านอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักฐานในการประกอบการเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ว 34)

เปิดอ่าน 12,449 ครั้ง
สำหรับท่านที่พลาด คลิปเต็ม "บัวขาว บัญชาเมฆ" พลาดท่าพ่ายนักชกรัสเซีย โดนศอกเลือดอาบ
สำหรับท่านที่พลาด คลิปเต็ม "บัวขาว บัญชาเมฆ" พลาดท่าพ่ายนักชกรัสเซีย โดนศอกเลือดอาบ

เปิดอ่าน 17,167 ครั้ง
โครงการหลวง 40 ชูไฮไลต์ พืช-ผลไม้ เพื่อสุขภาพ
โครงการหลวง 40 ชูไฮไลต์ พืช-ผลไม้ เพื่อสุขภาพ

เปิดอ่าน 9,916 ครั้ง
ทึ่ง! เจ้าหมูซูเปอร์ฮีโร่ช่วยชีวิตลูกแพะตกน้ำ
ทึ่ง! เจ้าหมูซูเปอร์ฮีโร่ช่วยชีวิตลูกแพะตกน้ำ

เปิดอ่าน 7,896 ครั้ง
การอ่านและเขียนสะกดคำที่มี a เป็นสระเดี่ยวในคำ
การอ่านและเขียนสะกดคำที่มี a เป็นสระเดี่ยวในคำ

เปิดอ่าน 12,797 ครั้ง
คลิปฮา อ.เนลสันคัมแบ๊ก เต้นเพลงไทยครั้งแรก เต้นเพลงอะไร ชมเลย
คลิปฮา อ.เนลสันคัมแบ๊ก เต้นเพลงไทยครั้งแรก เต้นเพลงอะไร ชมเลย

เปิดอ่าน 9,091 ครั้ง
พืชผักสวนครัว
พืชผักสวนครัว

เปิดอ่าน 36,574 ครั้ง
จริยธรรมที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
จริยธรรมที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ

เปิดอ่าน 13,848 ครั้ง
คนจีนแห่เที่ยวไทย ตามรอยหนังดัง Lost in Thailand ชมตัวอย่างหนังเรื่องนี้กันเลย
คนจีนแห่เที่ยวไทย ตามรอยหนังดัง Lost in Thailand ชมตัวอย่างหนังเรื่องนี้กันเลย

เปิดอ่าน 15,244 ครั้ง
5 กลิ่นอาหาร ที่จะช่วยให้คุณผอม!
5 กลิ่นอาหาร ที่จะช่วยให้คุณผอม!

เปิดอ่าน 11,918 ครั้ง
5 สเต็ปคิดสักนิดก่อนตัดสินใจกู้
5 สเต็ปคิดสักนิดก่อนตัดสินใจกู้

เปิดอ่าน 13,194 ครั้ง
ไหว้พระเสริมบารมี (แก้ชง) ปีม้า 2557
ไหว้พระเสริมบารมี (แก้ชง) ปีม้า 2557

เปิดอ่าน 18,238 ครั้ง
เอกสารประกอบการสอนเสริมเพื่อเตรียมสอบ O-NET
เอกสารประกอบการสอนเสริมเพื่อเตรียมสอบ O-NET

เปิดอ่าน 10,007 ครั้ง
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 16 กรกฏาคม 2552
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 16 กรกฏาคม 2552

เปิดอ่าน 50,095 ครั้ง
เก่งภาษาอังกฤษ...แบบนีน่า
เก่งภาษาอังกฤษ...แบบนีน่า
เปิดอ่าน 10,875 ครั้ง
แชร์สนั่น!คลิปสาวนักพากย์คนใหม่
แชร์สนั่น!คลิปสาวนักพากย์คนใหม่
เปิดอ่าน 19,490 ครั้ง
การศึกษากับมุมมองของคนเวียดนาม
การศึกษากับมุมมองของคนเวียดนาม
เปิดอ่าน 10,558 ครั้ง
5 เทคโนโลยีสำคัญในปี 2559
5 เทคโนโลยีสำคัญในปี 2559
เปิดอ่าน 82,682 ครั้ง
การจัดรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางอาชีพในหลักสูตรสถานศึกษา
การจัดรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางอาชีพในหลักสูตรสถานศึกษา

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ