ชื่อผลงานการศึกษา การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง คำพ้องเสียงคำพ้องรูปแสนสนุก
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางอัจจิมา วัฒนสุข
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง คำพ้องเสียงคำพ้องรูปแสนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง คำพ้องเสียงคำพ้องรูปแสนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง คำพ้องเสียงคำพ้องรูปแสนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง คำพ้องเสียงคำพ้องรูปแสนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/4 โรงเรียนเทศบาลวัดโขดทิมทาราม อำเภอเมืองระยอง สังกัดกองการศึกษา เทศบาลนครระยอง ที่กำลังศึกษาอยู่ภาคเรียน ที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 36 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ทำการวิจัยในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ใช้เวลาในการศึกษา 18 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 4 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง คำพ้องเสียงคำพ้องรูปแสนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งผู้รายงานได้ดำเนินการตามขั้นตอนการสร้างแผน จำนวน 18 แผน หนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง คำพ้องเสียงคำพ้องรูปแสนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แต่ละชุดประกอบด้วยแบบฝึกหัด 2 แบบฝึก โดยใช้เป็นสื่อในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแผนการจัดการเรียนรู้มีทั้งหมด 8 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางเรียน จำนวน 30 ข้อ เป็นข้อสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ซึ่งมีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.74 และค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.32 ถึง 0.83 แล้วหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่อง คำพ้องเสียงคำพ้องรูปแสนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 15 ข้อสถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ หาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t – test (Dependent Sampling)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง คำพ้องเสียงคำพ้องรูปแสนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.07/87.22
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง คำพ้องเสียงคำพ้องรูปแสนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.8169 ซึ่งหมายความว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง คำพ้องเสียงคำพ้องรูปแสนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ชุดนี้ ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 81.69
3. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง คำพ้องเสียงคำพ้องรูปแสนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง คำพ้องเสียงคำพ้องรูปแสนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมมีระดับความ พึงพอใจมาก ( x- = 3.86 , S.D. = 0.56 )