รายงานวิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง
การเปลี่ยนพฤติกรรมในการเรียน ให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาศิลปะ
โดยใช้เทคนิคกิจกรรมสร้างสรรค์ด้วยสมุดภาพ pop up ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย นางสุพัฒตรา หีบแก้ว กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนกู่ทองพิทยาคม
..........................................................................................................................................................................
1. ปัญหาหรือเหตุผลและความสำคัญของปัญหา
จากการสังเกตนักเรียนที่เรียนวิชาศิลปะ นักเรียนส่วนใหญ่ไม่สนใจต่อการเรียน การจัดกระบวนการ
เรียนรู้ในวิชาศิลปะ เป็นปัญหาสำคัญสำหรับครูผู้สอนที่จะต้องนำเทคนิคกระบวนการทักษะต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อดึงดูดความสนใจ ซึ่งการจัดกิจกรรมทางศิลปะนับว่าเป็นการยากวิชาหนึ่งสำหรับครูผู้สอนเองที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ ใฝ่เรียนรู้ ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นเสมอกับนักเรียนทุกระดับชั้น ผู้วิจัยสังเกตเห็นพฤติกรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 ไม่ค่อยให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ซึ่งอาจจะมาจากสาเหตุหลายประการด้วยกัน อาทิ เช่น พื้นฐานทักษะไม่มี การไม่ชอบเรียน เบื่อหน่ายต่อการเรียน จึงเป็นสิ่งที่ครูผู้สอนจะต้องหาเทคนิคใหม่ ๆ มากระตุ้นความสนใจผู้เรียนในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอยู่ตลอดเวลา เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ และส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่อไป
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง บทบาทของดนตรีในวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ ขึ้นเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และทัศนคติที่ดีต่อวิชาศิลปะ โดยการให้นักเรียนปฏิบัติและสร้างสรรค์ผลงานตามความคิด และจินตนาการอย่างอิสระด้วยเทคนิค และวิธีการสร้างสรรค์ผลงานตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น
2. ปัญหาการวิจัย
การให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองตามเทคนิคและวิธีการอย่างอิสระ จะทำให้นักเรียนมี
ทัศนคติที่ดีต่อวิชาศิลปะหรือไม่
3. เป้าหมายในการวิจัย
1. เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมในการเรียนวิชาศิลปะให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาศิลปะ
2. ยึดหลักการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3. ใช้วิธีสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม
4. วิธีการดำเนินการวิจัย
4.1 กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกู่ทองพิทยาคม อำเภอเชียงยืน
จังหวัดมหาสารคาม ที่เรียนวิชาศิลปะ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 14 คน
4.2 ตัวแปรที่ศึกษา
- ตัวแปรต้น ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง บทบาทของดนตรีในวัฒนธรรมของ
ประเทศต่างๆ
- ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลงานจากการปฏิบัติงาน สมุดภาพ pop up
4.3 เครื่องมือที่ใช้
- แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง บทบาทของดนตรีในวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ จำนวน 2 ชั่วโมง
- ผลงานนักเรียน สมุดภาพ pop up
4.4 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
- แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
- สังเกตการปฏิบัติงานจากผลงานที่ปรากฏ
4.5 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
- ตรวจคะแนนผลงานที่สร้างสรรค์
- ผลงานที่สำเร็จ
5. ระยะเวลาที่ใช้
ทำการวิจัยในชั่วโมงเรียนวิชาศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง บทบาทของดนตรีในวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ จำนวน
2 ชั่วโมง
6. ผลการวิจัย
จากการจัดกิจกรรมการการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคสมุดภาพ pop up จากแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง บทบาทของดนตรีในวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเรียนรู้ของนักเรียนให้มีความตื่นตัวขึ้น ส่งผลให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาศิลปะ หลังจากการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้ทักษะการเรียนรู้สิ้นสุดลง ผู้วิจัยพบว่า นักเรียนร้อยละ 70 สามารถสร้างสรรค์ผลงานกิจกรรมสร้างสรรค์ด้วยสมุดภาพ pop up ออกมาได้ตามกิจกรรมได้ค่อนข้างดีทุกคน จึงเห็นได้ว่าการจัดกิจกรรมการการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิควิธีการตามแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความสนใจทางการเรียน ส่งผลต่อทัศนติที่ดีต่อวิชาศิลปะ และเป็นพื้นฐานในการเรียนศิลปะในระดับที่สูงขึ้นต่อไป