บทนำ
การจัดการเรียนรู้ในปัจจุบันจำเป็นต้องส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการเรียนรู้เพื่อ การดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ ตามแนวทางที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ (Active Learning) การปฏิรูปการศึกษาของไทยในทศวรรษที่สอง (๒๕๕๒ - ๒๕๖๑) กำหนดให้ คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมี คุณภาพ โดยมีจุดเน้นการปฏิรูป ได้แก่การพัฒนาคุณภาพการ ศึกษาและการเรียนรู้การเปิดโอกาส ทาง การศึกษาให้คนไทยเข้าถึงการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ของสังคมโดยมีเป้าหมายยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษา คือ ๑) คนไทยและการศึกษาไทยมีคุณภาพและได้มาตรฐานระดับสากล ๒) คนไทยใฝ่รู้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองรักการอ่านและ แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง ๓) คนไทยใฝ่ดีโดยมีคุณธรรมพื้นฐาน มีจิตสำนึกและค่านิยมที่พึงประสงค์เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม มีจิตสาธารณะ มีวัฒนธรรมประชาธิปไตย ๔) คนไทย คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้โดยมีทักษะในการคิดและปฏิบัติ มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความสามารถในการแข่งขันหลักสูตรในอดีตที่ผ่านมาเป็นหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาเป็นฐาน (Content Based Curriculum) จัดการเรียนการสอนจึงเน้นการถ่ายทอดความรู้โดยการ บรรยายเนื้อหาจากผู้สอนไปสู่ผู้เรียนเป็นหลักในลักษณะเชิงรับ (Passive Learning) ทำให้ผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในผู้เรียนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จึงมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรใหม่ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ จากที่เน้นเนื้อหามาเน้นที่กระบวนการเรียนรู้ให้มากขึ้นโดยมีมาตรฐาน (Standard Based Curriculum) เพื่อการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ จนนำมาสู่การเรียนรู้ใน ปัจจุบันยุคศตวรรษที่ ๒๑ ที่เน้นการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ใช้หลักการที่ครูต้องยึดหลัก สอนน้อย เรียนมาก เน้นสอนคนไม่ใช่สอนวิชาครูควรตอบได้ว่าผู้เรียนได้เรียนอะไร การเรียนรู้ต้องก้าวข้ามสาระวิชาไปสู่การเรียนรู้ทักษะเพื่อ การดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ โดยผู้เรียนจะเรียนแบบการ ลงมือทำซึ่งจะช่วยให้มีการเรียนรู้จากภายในใจแลสมองของตนเองการเรียนรู้สาระวิชา (Content หรือ Subject Matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้า ของศิษย์โดยครูช่วยแนะนำและออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนประเมินความก้าวหน้าการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ความสำคัญกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning
ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตว่าสาระวิชามี ความสำคัญแต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิต ในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ นอกจากสาระวิชาหลักที่ประกอบด้วยวิชาด้าน ภาษาเศรษฐศาสตร์ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ ฯลฯ แล้วควร สอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก ประกอบด้วย ๑) ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ได้แก่ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม การคิดอย่างมี วิจารณญาณและการแก้ปัญหา การสื่อสารและความร่วมมือ ๒) ทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี ๓) ทักษะด้านชีวิต และอาชีพ ผู้เรียนต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญ ได้แก่ ความ ยืดหยุ่นและการปรับตัว การริเริ่มสร้างสรรค์ ทักษะสังคมและ สังคมข้ามวัฒนธรรม การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิตความรับผิดชอบ และภาวะผู้นำ ดังนั้นการพัฒนาผู้เรียนในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ ผู้สอนจำเป็นต้องจัดการเรียนรู้ที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียน มีศักยภาพและมีทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตและการทำงานในยุคปัจจุบันด้วย
Active Learning มีแนวคิดมาจากทฤษฎี การเรียนรู้ของผู้ใหญ่คือ ๑) นัยสำคัญของการเรียนรู้คือ เนื้อหาที่ผู้เรียนจะยอมรับต้องมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับ จุดมุ่งหมายของผู้เรียน ๒) การเรียนรู้ต้องเรียนผ่านการกระทำ ๓) การเรียนรู้ คือ การอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียนโดยผู้เรียนมีส่วนร่วมและตอบสนองต่อ กระบวนการเรียนรู้ ๔) การเรียนรู้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในตนเองและเกี่ยวข้องกับผู้เรียนคนอื่น ๆ ทั้งด้านความรู้สึก และสติปัญญาเรียนรู้ได้ดีที่สุด คือ การได้มีส่วนร่วมในกระบวนการทำกิจกรรมการเรียนรู้ดังนั้น Active Learning คือ ผู้สอนเป็นผู้นำ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน กลยุทธ์การเรียนรู้โดยการปฏิบัติที่เป็นจุดแข็งและสร้างสิ่งแวดล้อมในการ เรียนรู้ให้กับผู้เรียน การจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning ช่วยพัฒนาทักษะการคิด อย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการแก้ปัญหาที่ผู้เรียน สามารถนำทักษะเหล่านี้ไปใช้ในการทำงานและการดำเนินชีวิตในอนาคต การจัดการเรียนการสอน แบบ Active Learning ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติตอบโต้และคิดเกี่ยวกับงานที่ทำอย่างมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการคิดระดับสูง
กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning คือ กระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาส ลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียวโดยมีกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ทักษะและเชื่อมโยงองค์ความรู้นำไปปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาโดยมีกระบวนการเรียนรู้โดยการอ่าน การเขียน การโต้ตอบ และการวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งผู้เรียนได้ใช้ กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมิน (Bonwell & Eison, ๑๙๙๑) การประยุกต์การเรียนรู้ แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน จะทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ส่งเสริมให้เกิด ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและผู้เรียนกับผู้เรียน จึงถือเป็นการจัดการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน มีคุณลักษณะที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน
กิจกรรมของกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning
กิจกรรมของกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบเชิงรุกกิจกรรมได้หลายรูปแบบ เช่น การอภิปรายแบบกลุ่ม (group discussions) การแก้ปัญหาโจทย์ (Problem Solving) การศึกษากรณีเฉพาะ (Case Studies) การแสดงกฎ (Role Plays) การเขียนวารสาร (Journal Writing) และการจัดการแบบกลุ่มเรียน (Structured Learning Groups) ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมทางการเรียนการสอนแนวคิด/หลักการจัดการเรียนรู้เพื่อการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกที่นำมาใช้ ๑) การมีส่วนร่วม (Participation) อย่างตื่นตัว (Active) ของผู้เรียน ๒) การมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) และร่วมมือร่วมใจ (Co-operation) ในการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share and Learning) ๓) การทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองทั้งซีกซ้ายและขวา หรือพัฒนาพหุปัญญา (Multiple Intelligences) ๔) การคิด (Thinking) ซึ่งกระตุ้นด้วยการถาม (Inquiry) ๕) การนำความรู้ไปใช้และประยุกต์ใช้ (Application)
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางของ Active Learning ได้กล่าวไว้ประกอบด้วย ๑) การจัดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน กิจกรรมต้องสะท้อนความต้องการในการพัฒนาผู้เรียนและ เน้นการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงของผู้เรียน ๒) สร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วมและการเจรจาโต้ตอบ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สอนและเพื่อนในชั้นเรียน ๓) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นพลวัตส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม ๔) จัดสภาพการเรียนรู้แบบร่วมมือ ส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือ ในกลุ่มผู้เรียน ๕) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ท้าทายและให้โอกาสผู้เรียนได้รับวิธีการสอนที่หลากหลาย ๖) วางแผนเกี่ยวกับเวลาในจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจนทั้งในส่วนของเนื้อหาและกิจกรรม ๗) ครูผู้สอนต้องใจกว้าง ยอมรับในความสามารถในการแสดงออกและความคิดของผู้เรียนลักษณะของ Active Learning ที่ต้องเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้น มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย อาทิเช่น แบบเน้น ตัวผู้เรียน แบบเน้นความรู้ความสามารถประสบการณ์เน้นปัญหา เน้นทักษะกระบวนการหรือเป็นการบูรณาการซึ่งจะมีวิธีการต่าง ๆ หลายรูปแบบที่ครูผู้สอนสามารถออกแบบการเรียนการสอนได้ เช่น การเรียนรู้แบบ นำตนเอง (Self - Directed Learning) ใช้สอนในระดับอุดมศึกษา ผู้เรียนจะวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง, การเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning), การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-Based Learning : PBL) เป็นการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (ProjectBased Instruction), Research - Based Instruction การจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (ณัชนัน แก้วชัยเจริญกิจ, ๒๕๕๐)
รูปแบบของการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ การจัดการเรียนการสอนเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ทั้งในและนอกห้องเรียนรวมทั้งสามารถใช้ได้กับทุกระดับทั้งการเรียนรู้เป็น รายบุคคล การเรียนรู้แบบกลุ่มเล็ก และการ เรียนรู้แบบกลุ่มใหญ่ Mc Kinney (๒๐๐๘, อ้างถึงใน ประภัสรา โคตะขุน, ๒๕๕๔) ได้เสนอ รูปแบบการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้แบบ Active Learning ได้ดีได้แก่ ๑) การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนดคนเดียว ๒-๓ นาที (Think) จากนั้นให้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนอีกคน ๓-๕ นาที (Pair) และนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share) ๒) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative Learning Group) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ ทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยจัดกลุ่มๆ ละ ๓-๖ คน ๓) การเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน (Student-Led Review Sessions) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้และพิจารณาข้อสงสัยต่าง ๆ ในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้โดยครูจะคอยช่วยเหลือ กรณีที่มีปัญหา ๔) การเรียนรู้แบบใช้เกม (Games) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนนำเกม เข้าบูรณาการในการเรียนการ สอน ซึ่งใช้ได้ทั้งในขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน การสอน การมอบหมายงานและหรือขั้นการประเมินผล ๕) การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ (Analysis or Reactions to Videos) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ ผู้เรียนได้ดูวีดีโอ ๕-๒๐ นาทีแล้วให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น หรือสะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูอาจโดยวิธีการพูด โต้ตอบกันการเขียนหรือการร่วมกันสรุปเป็นรายกลุ่ม ๖) การเรียนรู้แบบโต้วาที (Student Debates) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้เพื่อยืนยันแนวคิดของตนเองหรือกลุ่ม ๗) การเรียนรู้แบบผู้เรียนสร้างแบบทดสอบ (Student Generated Exam Questions) คือ การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างแบบทดสอบจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว ๘) การเรียนรู้แบบกระบวนการวิจัย (Mini-Research Proposals or Project) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ อิงกระบวนการวิจัย โดยให้ผู้เรียนกำหนดหัวข้อที่ต้องการเรียนรู้วางแผนการเรียน เรียนรู้ตามแผนสรุปความรู้หรือสร้าง ๕ ผลงานและสะท้อนความคิดในสิ่งที่ได้เรียนรู้ หรืออาจเรียกว่าการสอนแบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือ การสอนแบบใช้ปัญหา เป็นฐาน (Problem-Based Learning) ๙) การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze Case Studies) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้อ่านกรณี ตัวอย่างที่ต้องการศึกษา จากนั้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแนวทางแก้ปัญหาภายในกลุ่ม แล้วนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด ๑๐) การเรียนรู้แบบการเขียนบันทึก (Keeping Journals or Logs) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจด บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้พบเห็น หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน รวมทั้งเสนอความคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบันทึกที่เขียน ๑๑) การเรียนรู้แบบการเขียนจดหมายข่าว (Write and Produce a Newsletter) คือ การจัดกิจกรรม การเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนร่วมกันผลิตจดหมายข่าว อันประกอบด้วย บทความ ข้อมูลสารสนเทศ ข่าวสาร และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วแจกจ่ายไปยังบุคคลอื่นๆ ๑๒) การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Concept Mapping) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนออกแบบ แผนผังความคิด เพื่อนำเสนอความคิดรวบยอด และ ความเชื่อมโยงกันของกรอบความคิด โดยการใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง อาจจัดทำเป็นรายบุคคลหรืองานกลุ่ม แล้วนำเสนอผลงานต่อผู้เรียนอื่น ๆ จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคนอื่นได้ซักถามและ แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม (จิราภรณ์ ยกอินทร์, ๒๕๖๐ : ๕-๖)
บทบาทของครู
การเรียนรู้แบบ Active Learning มีการเปลี่ยน บทบาทผู้สอนจากผู้บรรยายมาเป็นผู้อำนวย ความสะดวก(Facilitator) ผู้แนะแนวทาง (Guide/Coach) หรือเป็นผู้ร่วมเรียนรู้ร่วมศึกษา (Co- Learner/ Co- Investigator) การเรียนรู้ที่ได้ผ่านการปฏิบัติจริงจะสามารถเก็บในระบบความจำระยะยาว (Long Term Memory) ทำให้ผลการเรียนรู้ยังคงอยู่ได้ในปริมาณที่มากกว่า และระยะยาวกว่าเมื่อกล่าวถึงกรวย แห่งการเรียนรู้ของเอ็ดการ์เดล จะพบว่าการเรียนรู้แบบ Passive Learning ถ้าผู้เรียนฟังบรรยายเพียง อย่างเดียวเมื่อเวลาผ่านไปผู้เรียนจะจำได้เพียง ๒๐% หากผู้เรียนมีโอกาสได้เห็นภาพประกอบด้วยก็จะทำให้ผลการเรียนรู้คงอยู่ได้เพิ่มขึ้นเป็น ๓๐% ถ้าจัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพิ่มขึ้น เช่น การให้ดูภาพยนตร์การสาธิตการไปทัศนศึกษา หรือดูงานจะทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้นเป็น ๕๐% แต่ถ้าได้เรียนแบบ Active Learning โดยผู้เรียนมีโอกาสฝึกทักษะการสื่อสารทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ๗๐% นอกจากนั้นถ้าได้มีการนำเสนองานทางวิชาการ เรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง มีการฝึกปฏิบัติในสภาพจริง มีการเชื่อมโยงกับสถานการณ์ต่าง ๆ จะทำให้ผลการเรียนรู้เกิดขึ้นถึง ๙๐% กลยุทธ์การสอนสำหรับ Active Learning นักการศึกษาได้แนะนำว่าการสอนแบบผู้เรียนลงมือกระทำต้องทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในด้าน ๑) คิดวิเคราะห์และคิดอย่างสร้างสรรค์ ๒) สื่อสารหรือพูดกับคู่เพื่อนกลุ่มเล็ก ๆ หรือ เพื่อนทั้งชั้นเรียนได้ ๓) แสดงออกทางความคิดผ่านการเขียน ๔) สำรวจทัศนคติและค่านิยมของตนได้ ๕) ให้หรือรับข้อมูลย้อนตั้งแต่การวางแผนในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้การทำกิจกรรมต้องเป็นกิจกรรมด้านการรู้คิด (Cognitive Activity) และกิจกรรมด้านพฤติกรรม (Behavioral Activity) โดยต้องทำให้เกิดผลลัพธ์ทั้งสองอย่างในตัวผู้เรียน แต่บางครั้งผู้สอนเข้าใจว่าเมื่อผู้เรียนเกิดความตื่นตัวด้านพฤติกรรมแล้วจะทำให้เกิดความตื่นตัวในกิจกรรมด้านการรู้คิดด้วย จึงเน้นกิจกรรม ด้านพฤติกรรมเพียงอย่างเดียวแล้วปล่อยให้ผู้เรียนเรียนรู้เองอย่างอิสระ ทำให้การลำดับความคิดและการจัดองค์ความรู้อาจไม่ถูกต้องซึ่งทำให้ประสิทธิผลของการเรียนรู้ลดลง ดังนั้น ครูผู้สอนควรช่วยถ่ายทอดข้อเท็จจริง หลักการ และทฤษฎีสรุปความคิดรวบยอดเพื่อทำให้ผู้เรียนสังเคราะห์องค์ความรู้จากข้อมูลได้ครบถ้วน (พรรณี ปานเทวัญ : ๒๕๖๑)
บทบาทของครูกับกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก บทบาทของครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางของกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก ดังนี้ ๑) จัดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน กิจกรรมต้องสะท้อนความต้องการในการพัฒนาผู้เรียนและเน้นการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงของผู้เรียน ๒) สร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วม และการเจรจาโต้ตอบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมี ปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สอนและเพื่อนในชั้นเรียน ๓) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นพลวัตส่งเสริมให้ผู้เรียน มีส่วนร่วมในทุก กิจกรรมรวมทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ ๔) จัดสภาพการเรียนรู้แบบร่วมมือ ส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือในกลุ่มผู้เรียน ๕) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ท้าทายและให้โอกาสผู้เรียนได้รับรู้วิธีการสอน ที่หลากหลาย ๖) วางแผนเกี่ยวกับเวลาในการจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจนเจนทั้งในส่วนเนื้อหาและกิจกรรม ๗) ครูผู้สอนต้องใจกว้าง ยอมรับความสามารถในการแสดงออก และความคิดของ ผู้เรียน (ฟาตีฮะห์ อุตส่าห์ราชการ, ๒๕๕๘ : ๑๒)
บทสรุป
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ เป็นการเรียนรู้ให้ได้ทั้ง สาระวิชาและทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตโดยเน้นการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ครูต้องเปลี่ยนจุดสนใจหรือจุดเน้นจากการสอนไปเน้นที่การ เรียน ต้องปรับปรุงรูปแบบการ เรียนรู้เปลี่ยนบทบาทของตนเองจากครูสอน(Teacher) ไป เป็นครูฝึก (Coach) หรือ ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Learning Facilitator) และต้องเรียนรู้การทำหน้าที่นี้โดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องที่ เรียกว่า PLC (Professional Learning Community) คือชุมชน การเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ซึ่งเป็นเครื่องมือให้ครูทุกคนได้เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง ทั้งผลการเรียนรู้ของนักเรียน มีการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียนและวิธีการทำงาน นอกจากนั้นครูยังต้องทำหน้าที่ จุดประกายความสนใจใฝ่รู้ (Inspire) แก่ศิษย์ให้ได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ (Learning by Doing) และ มีทักษะในการลงมือปฏิบัติเป็นทีมร่วมกับเพื่อนนักเรียน ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทน สามารถแสดงสมรรถนะผ่านกระบวนการเรียนรู้และประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
เอกสารอ้างอิง
จิราภรณ์ ยกอินทร์. การจัดการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ Active Learning. อาจารย์โปรแกรม
การศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง นครนายก, ๒๕๖๐ : ๕-๖.
พรรณี ปานเทวัญ. การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ กับการเรียนรู้เชิงรุกในวิชาชีพพยาบาล,
วารสารพยาบาลทหารบก ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๓ (ก.ย. - ธ.ค.) ๒๕๕๙.
ฟาตีฮะห์ อุตส่าห์ราชการ. รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อพัฒนาแนวคิด
เชิงวิทยาศาสตร์เรื่อง คลื่นไหวสะเทือน. วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาฟิสิกส์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, ตุลาคม ๒๕๕๘.
ณัชนัน แก้วชัยเจริญกิจ. ภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา : บทบาทของครูกับ Active Learning.
๒๕๕๐.
วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๑. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, ๒๕๕๕.
Bonwell, C.C. & Eison, J.A. Active Learning : Creating Excitement in the Classroom.
ERIC Clearinghouse on Higher Education Washington DC.| George Washington
Univ. Washington DC, ๑๙๙๑.