ชื่อผลงาน : การพัฒนาความมีวินัยในตนเองของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์
WINAI MODEL โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก)
จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2559 - 2560
ผู้รายงาน : นายสมชาติ เหลืองสะอาด
ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก)
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2559 - 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการพัฒนาความมีวินัยในตนเองของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ WINAI MODEL โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2559 - 2560 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2559 - 2560 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2559 - 2560 4) เพื่อศึกษาสมรรถนะสำคัญของนักเรียน ทั้ง 5 ด้าน ตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2559 2560 5) เพื่อศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ทั้ง 8 ประการ ตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2559 2560 6) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครอง และเครือข่ายชุมชน โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) ต่อการพัฒนาความมีวินัยในตนเองของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ WINAI MODEL หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2559 - 2560
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย นักเรียน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1,128 คน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1,052 คน ครู ปีการศึกษา 2559 จำนวน 70 คน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 73 คน ผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1,128 คน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1,052 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2559 และปีการศึกษา 2560 จำนวน 13 คน และเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2559 และปีการศึกษา 2560 จำนวน 15 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลรวมทั้งสิ้น 6 ฉบับ มีลักษณะเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ และเป็นแบบบันทึกผลการประเมินตามสภาพจริง จำนวน 3 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .97 - .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for windows V.18
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพการพัฒนาความมีวินัยในตนเองของนักเรียนที่เกิดจากการใช้กลยุทธ์ WINAI MODEL โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) หลังการพัฒนา ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และเครือข่ายชุมชน
ปีการศึกษา 2559 โดยรวมทุกกลุ่มผู้ประเมิน อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็น รายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.80 , S.D. = 0.35) อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ กลุ่มนักเรียน ( = 3.68 , S.D. = 0.54) อยู่ในระดับมาก และกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กลุ่มเครือข่ายชุมชน ( = 3.59 , S.D. = 0.46) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2560 โดยรวมทุกกลุ่มผู้ประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็น รายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.70 , S.D. = 0.46) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( = 4.62 , S.D. = 0.52) อยู่ในระดับมากที่สุด และกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กลุ่มครู ( = 4.53 , S.D. = 0.42) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน สอดคล้องตามสมมติฐาน
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะความมีวินัยในตนเองของนักเรียนที่เกิดจากการใช้กลยุทธ์ WINAI MODEL โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) หลังการพัฒนา ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง
ปีการศึกษา 2559 โดยรวมทั้งสองกลุ่มผู้ประเมิน อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.66 , S.D. = 0.67) อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ กลุ่มผู้ปกครอง ( = 3.65 , S.D. = 0.68) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2560 โดยรวมทั้งสองกลุ่มผู้ประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ทั้งสองกลุ่ม คือ กลุ่มครูและกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ( = 4.53 , S.D. = 0.67 และ 0.64) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน สอดคล้องตามสมมติฐาน
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2559 2560 พบว่า หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2560 มีค่าพัฒนาสูงกว่าปีการศึกษา 2559 เท่ากับ + 3.50 เมื่อพิจารณาจำแนกตามระดับชั้น พบว่า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ยพัฒนาสูงสุด เท่ากับ + 5.24 รองลงมาได้แก่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยพัฒนา เท่ากับ + 4.56 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ยพัฒนาต่ำสุด เท่ากับ + 2.03 และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีค่าเฉลี่ยพัฒนาสูงสุด เท่ากับ + 6.12 รองลงมาได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เท่ากับ +5.29 และกลุ่มสาระ การเรียนรู้ศิลปะ มีค่าเฉลี่ยพัฒนาต่ำสุด เท่ากับ + 1.75 แสดงให้เห็นว่าสอดคล้องตามสมมติฐาน
4. ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) ที่มีผลการประเมินระดับดีขึ้นไป หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2559 - 2560 พบว่า สมรรถนะสำคัญของนักเรียนที่มีผลการประเมินระดับดีขึ้นไป หลังการพัฒนาทั้ง 2 ปีการศึกษา มีค่าเฉลี่ยร้อยละมากกว่า ร้อยละ 80 ทั้ง 5 สมรรถนะ และเมื่อพิจารณาค่าพัฒนา พบว่า สมรรถนะความสามารถในการสื่อสาร และสมรรถนะความสามารถในการใช้เทคโนโลยี มีค่าพัฒนาสูงสุด +3.36 เท่ากัน รองลงมาได้แก่ สมรรถนะความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต มีค่าพัฒนาเท่ากับ +3.25 ส่วนสมรรถนะความสามารถในการคิด มีค่าพัฒนาต่ำสุด +1.96 สอดคล้องตามสมมติฐาน
5. ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) ที่มีผลการประเมินระดับดีขึ้นไป หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2559 - 2560 พบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่มีผลการประเมินระดับดีขึ้นไป หลังการพัฒนา ทั้ง 2 ปีการศึกษา มีค่าเฉลี่ยร้อยละมากกว่า ร้อยละ 90 ทั้ง 8 ประการ โดยปีการศึกษา 2560 มีค่าเฉลี่ย ร้อยละสูงกว่าปีการศึกษา 2559 ทั้ง 8 ประการ และเมื่อพิจารณาค่าพัฒนา พบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียง มีค่าพัฒนาสูงสุด +5.41 รองลงมาได้แก่ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมุ่งมั่นในการทำงาน +4.92 ส่วนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ มีค่าพัฒนาต่ำสุด +3.29 สอดคล้องตามสมมติฐาน
6. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครอง และเครือข่ายชุมชนในการพัฒนาความมีวินัยในตนเองของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ WINAI MODEL โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) หลังการพัฒนา
ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยกลุ่มเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.67 , S.D. = 0.56) อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ กลุ่มผู้ปกครอง ( = 3.64 , S.D. = 0.58) อยู่ในระดับมาก และกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ครู ( = 3.52 , S.D. = 0.64) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.64 , S.D. = 0.49) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มเครือข่ายชุมชน ( = 4.63 , S.D. = 0.62) อยู่ในระดับมากที่สุด และกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กลุ่มครู ( = 4.55 , S.D. = 0.56) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน สอดคล้องตามสมมติฐาน
ข้อเสนอแนะ
จากการวิจัยวิธีการวิจัยการพัฒนาความมีวินัยในตนเองของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ WINAI MODEL โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2559-2560 ครั้งนี้ทำให้ได้ค้นพบจุดเด่นของการมีแบบอย่างที่ดีซึ่งเป็นประโยชน์ และเป็นแนวทางในการพัฒนาความมีวินัยในตนเองของนักเรียนต่อไป
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1 ด้านองค์ความรู้ สถานศึกษาควรให้ความรู้ และทำความเข้าใจกับนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ถึง แนวทางการพัฒนาความมีวินัยในตนเองของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ WINAI MODEL ครอบคลุมวินัยในตนเอง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความมีวินัยในการแสดงความเคารพ ด้านความมีวินัยในการรักษาความสะอาด ด้านความมีวินัยในการรักษาความเป็นระเบียบ และด้านความมีวินัยในการตรงต่อเวลา เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาความมีวินัยในตนเองของนักเรียนให้สอดคล้องกับภารกิจ และบทบาทหน้าที่ของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาความมีวินัยในตนเองทั้งที่โรงเรียน บ้าน ชุมชน และสังคมที่เด็กได้อยู่อาศัย
1.2 ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดีในส่วนของครู จะต้องเป็นครูต้นแบบที่เป็นแบบอย่างที่ดีของนักเรียนทั้งด้านการวางแผน และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยบูรณาการการเรียนการสอนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และส่งเสริมให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน และมีการประเมินผลตามสภาพจริง เพื่อให้นักเรียนมีวินัยในตนเองสู่ความยั่งยืน
1.3 หลังการพัฒนาโรงเรียนควรมีการตรวจสอบพฤติกรรมหรือคุณลักษณะความมีวินัยในตนเองของนักเรียน อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อดูแนวโน้มความยั่งยืน หรือความคงทนถาวรของความมีวินัยในตนเอง และมีการทบทวนกิจกรรมต่างๆ เพื่อปรับปรุงพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของชุมชน สังคม และนโยบายแห่งรัฐ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักเรียนสู่ความยั่งยืน
2.2 ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความมีวินัยในตนเองของนักเรียนกับคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.3 ควรศึกษาผลกระทบของความมีวินัยในตนเองของนักเรียนที่มีต่อชุมชน และสังคมโดยรอบสถานศึกษา