บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง : การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย : อชิวะ วรรณขามป้อม
ปีที่ศึกษา :ปีการศึกษา 2560
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการชุดกิจกรรมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนพระธาตุหนองสามหมื่น จำนวน 51 คนและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนพระธาตุหนองสามหมื่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 23 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) และใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งออกแบบการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนได้แก่ (1)ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (2) ขั้นสอน/สาธิต (3) ขั้นฝึกปฏิบัติ (4) ขั้นนำไปใช้หรือขั้นประเมินผล (5) ขั้นสรุปบทเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย (1)ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 เล่ม (2) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 แผน (3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดกิจกรรมกาเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ/ความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 20 ข้อ
โดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประเมินผลการเรียนรู้แบบ One Group Pre test Post - test Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนที่ได้จากผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม E1/E2 และการทดสอบค่า t-test แบบ Pair-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้แก่ ชุดที่ 1 เรื่อง การแจกแจงความถี่ของข้อมูล ชุดที่ 2 เรื่อง การแจกแจงความถี่ของข้อมูลโดยใช้กราฟ ชุดที่ 3 เรื่อง การวัดค่ากลางของข้อมูล ชุดที่ 4 เรื่อง การวัดตำแหน่งที่ของข้อมูล และชุดที่ 5 เรื่อง การวัดการกระจายของข้อมูล รวม 5 ชุด ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ เท่ากับ 86.17/85.94 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. ผลการหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.6367 หรือคิดเป็นร้อยละ 23.62
3. ผลการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ด้านความเข้าใจ ด้านการวิเคราะห์ และด้านทักษะกระบวนการหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4. ผลศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น พบว่ามีระดับความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับมากที่สุด ( = 4.52) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.55 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คือ เครื่องมือสำหรับวัดและประเมินผลการเรียนมีความชัดเจนและเชื่อถือได้ ( = 4.93) นักเรียนมีความสุขและสนุกในการทำกิจกรรม ( = 4.83) เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัยและนำไปใช้ประโยชน์ได้ ( = 4.80) นักเรียนพอใจที่ได้ตอบคำถามและทำแบบฝึกหัดเพื่อเป็นการทบทวนความรู้ ( = 4.77) เนื้อหาที่เรียนเหมาะสมกับเวลาเรียน ( = 4.61) เนื้อหาเข้าใจง่าย เหมาะสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ ( = 4.58) ครูใช้ภาษา ถ้อยคำเหมาะสมเข้าใจชัดเจน ( = 4.58) ใช้ภาษาได้ถูกต้องและเข้าใจง่าย ( = 4.54) มีการตรวจและแจ้งผลการทดสอบรวมทั้งการกำหนดงานให้นักเรียนทำมีความรวดเร็วและเหมาะสม ( = 4.54) ส่วนข้ออื่น ๆ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากตามลำดับ