การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการประเมินเพื่อประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านขุนยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ใน 4 ด้าน คือ 1) ด้านปัจจัยนำเข้า 2) ด้านกระบวนการ 3) ด้านผลผลิต 4) ด้านผลกระทบ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย ครูวิชาการโรงเรียนและครูผู้สอนจำนวน 6 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 7 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ โดยผู้ประเมินสร้างขึ้นเองและประยุกต์ใช้ยึดรูปแบบการประเมินแบซิปป์ (CIPP Model) ซึ่งประกอบด้วย ฉบับที่ 1 ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation) ฉบับที่ 2 ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ฉบับที่ 3 ประเมินผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) และฉบับที่ 4 ประเมินผลกระทบของโครงการ (Impact Evaluation) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีลักษณะเป็นแบบประมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) โดยวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ส่วนข้อมูลที่เป็นลักษณะคำถามปลายเปิดโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และหาค่าร้อยละ ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านขุนยะ ด้านปัจจัยนำเข้า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะรายการ โรงเรียนมีแผนงาน/โครงการยกระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางเรียน ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านขุนยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ด้านการดำเนินงานของโรงเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะรายการ โรงเรียนมีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในปีที่ผ่านมา อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ (NT) ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านขุนยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
3.1 ด้านการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะรายการ ครูมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและมีทักษะการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และครูมีเทคนิคการจัดการเรียนรู้อย่างหลากหลายและเหมาะสมกับกิจกรรมและนักเรียน และครูสามารถจัดกิจกรรมได้อย่างหลากหลายเหมาะสมกับศักยภาพของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
3.2 ด้านการบริหารจัดการอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะรายการ โรงเรียนดำเนินงานได้ตามที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติ และผู้ปกครองนักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชนมีความเชื่อถือ ศรัทธาและให้ความสำคัญกับผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนเป็นอย่างดี อยู่ในระดับมากที่สุด
3.3 ด้านคุณลักษณะผู้เรียนอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะรายการ นักเรียนมีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษากำหนด อยู่ระดับมากที่สุด
3.4 ด้านคุณภาพผู้เรียน ประกอบด้วย
3.4.1 ผลสัมฤทธิ์การประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ (NT) ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้าขุนยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มีการพัฒนาเพิ่มขึ้น
3.4.2 ผลสัมฤทธิ์การสอบประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ (NT) ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้าขุนยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์การสอบประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ สูงกว่าค่าเฉลี่ยในระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้ง 3 ด้าน
4. ผลการประเมินผลกระทบของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบ่งเป็น
4.1 ด้านความพึงพอใจของครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านขุนยะอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะความพึงพอใจในเรื่อง การพัฒนาบุคลากรเพื่อยกระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียน การเป็นคณะกรรมการหรือเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการยกระดับคุณภาพ ผลสัมฤทธิ์การสอบประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ (NT) ของโรงเรียนตามโครงการนี้ และความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานการยกระดับคุณภาพ ผลสัมฤทธิ์การสอบประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ(NT) ของโรงเรียน อยู่ระดับมากที่สุด
4.2 ด้านความพึงพอใจของนักเรียนโรงเรียนบ้านขุนยะอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะความพึงพอใจในเรื่อง นักเรียนชอบทำกิจกรรมที่ครูให้นักเรียนลงมือทำ และการให้คำแนะนำของครูอยู่ระดับมากที่สุด
4.3 ด้านความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านขุนยะอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะความพึงพอใจในเรื่อง ความพึงพอใจในการดำเนินงานตามโครงการพยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการดำเนินโครงการฯ ทำให้ครูมีความกระตือรือร้นในการสอนและการให้คำแนะนำของครู ผลการดำเนินโครงการฯ ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น แหล่งเรียนรู้ที่ใช้ประกอบการสอนในสถานศึกษาเหมาะสม เช่น ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องเรียน ฯลฯ และผลการดำเนินโครงการฯ ทำให้ครูมีความกระตือรือร้นในการสอน อยู่ระดับมากที่สุด
4.4 ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ผลการประเมินมีรายละเอียดดังนี้
4.4.1 ด้านการบริหารจัดการ ปัญหา อุปสรรคการดำเนินงานโครงการ ได้แก่ กิจกรรมภายนอกและงานนอกเหนือหน้าที่มีมากเกินไป
4.4.2. ด้านบุคลากร ปัญหา อุปสรรคการดำเนินงานโครงการ ได้แก่ ขาดครูที่สอนตรงตามสาขาวิชาเอก
4.4.3 ด้านทรัพยากรสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ ได้แก่ ขาดงบประมาณ สื่อ อุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาร้อยละ และสื่อและเทคโนโลยีการดำเนินงานบางกิจกรรมไม่เพียงพอ
4.4.4 ข้อเสนอแนะที่มีต่อการดำเนินงานโครงการที่ ได้แก่ ควรปรับทัศนคติของบุคลากรในโรงเรียนให้เข้าใจและเห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน