ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกคำศัพท์โดยใช้กลวิธีการเรียนศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยการสอนแบบผสมผสาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย นางกัญณาภัค พรหมศิริ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล 1 สว่างวิทยา สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย
ปีที่ยื่นเสนอ พ.ศ. 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกคำศัพท์ โดยใช้กลวิธีการเรียนศัพท์ภาษาอังกฤษ ด้วยการสอนแบบผสมผสาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกคำศัพท์โดยใช้กลวิธีการเรียนศัพท์ภาษาอังกฤษ ด้วยการสอนแบบผสมผสาน ให้มีความเหมาะสมกับการจัดกระบวนการเรียนรู้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พร้อมกับพัฒนาให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ (E1/E2) 80/80 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผล (I.E.) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกระบวนการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) โดยกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนา เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 1 สว่างวิทยา
สำนักการศึกษา เทศบาลเมือง หนองคาย ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน มีวิธีดำเนินการวิจัย
โดยการทดสอบก่อนเรียน แล้วเรียนโดยใช้แบบฝึกคำศัพท์กลวิธีการเรียนศัพท์ภาษาอังกฤษ
ด้วยการสอนแบบผสมผสานพร้อมกับการทดสอบระหว่างเรียน 10 ครั้ง แล้วทดสอบหลังเรียนพร้อมกับการเก็บรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นต่อการเรียน ด้วยแบบสอบถามความคิดเห็น แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐานโดยการใช้ t test (dependent sample)
ผลการวิจัย พบว่า :
1. ผลการประเมินความเหมาะสม ของแบบฝึกคำศัพท์โดยใช้กลวิธีการเรียนศัพท์ภาษาอังกฤษ ด้วยการสอนแบบผสมผสาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ด้วยการหาค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วแปลความหมายตามเกณฑ์ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 9 ข้อ นอกนั้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามอันดับ ได้ดังนี้ คือ อันดับที่ 1 ข้อ 3) สาระการเรียนรู้กับระดับชั้นของผู้เรียน อันดับที่ 2 ข้อ 6) บทบาทของนักเรียน มีกระบวนการแลกเปลี่ยนบทบาทตามขั้นตอน และอันดับที่ 3 มีค่าเฉลี่ย เท่ากัน 7 ข้อ
คือ ข้อ 2), 5), 7), 10), 12), 13) และข้อ 14) นอกนั้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
2. ค่าประสิทธิภาพของแบบฝึกคำศัพท์โดยใช้กลวิธีการเรียนศัพท์ภาษาอังกฤษ
ด้วยการสอนแบบผสมผสาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพกระบวนการ/ประสิทธิภาพผลลัพธ์ E1/E2) = 87.47/85.27 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (80/80) ซึ่งเป็นไป
ตามสมมติฐานข้อที่ 1
3. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกกลวิธีการเรียนศัพท์ภาษาอังกฤษ ก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ย 14.07 คิดเป็นร้อยละ 28.13 ของคะแนนเต็ม และ
หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 42.63 คิดเป็นร้อยละ 85.27 ส่วนคะแนนพัฒนาการ (D) มีค่าเฉลี่ย 28.57
คิดเป็นร้อยละ 57.13 ของคะแนนเต็ม (50 คะแนน)
4. ค่าดัชนีประสิทธิผล ของแบบฝึกคำศัพท์โดยใช้กลวิธีการเรียนศัพท์ภาษาอังกฤษ ด้วยการสอนแบบผสมผสาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.7949 ตามค่า
ดัชนีประสิทธิผลที่ได้ หมายความว่า ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.7949 (เทียบกับ 1 ตามค่าดัชนีประเมินค่า
ดัชนีประสิทธิผลสูงสุด) หรือคิดเป็นร้อยละ 79.49
5. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน
ด้วยแบบฝึกกลวิธีการเรียนศัพท์ภาษาอังกฤษ ด้วยการสอนแบบผสมผสาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2
6. ความคิดเห็นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้แบบฝึกคำศัพท์โดยใช้กลวิธีการเรียนศัพท์ภาษาอังกฤษ ด้วยการสอนแบบผสมผสาน โดยรวม พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 6 ข้อ นอกนั้นมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
9 ข้อ และเมื่อเรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามอันดับได้ดังนี้ อันดับหนึ่ง คือ ข้อ 13)
การเรียนศัพท์ภาษาอังกฤษทำให้ข้าพเจ้าเห็นความจำเป็นในการฝึกฝนทักษะด้านโครงสร้างคำและบริบทคำ อย่างจริงจัง อันดับสอง คือ ข้อ 8) ขั้นฝึกหัด (practice) มีแบบฝึกหัดเพียงพอในการฝึกฝนโครงสร้างคำและบริบทคำที่ได้เรียนมา และอันดับสาม มี 2 ข้อ คือ ข้อ 1) ตัวอักษรอ่านง่ายและชัดเจน และข้อ 3) การนำเสนอกิจกรรมแต่ละขั้นตอนมีความชัดเจน มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน