การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ในรายวิชาคอมพิวเตอร์ โรงเรียนอนุบาลด่านช้าง โดยใช้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเป็นฐาน
บทสรุป จุดเด่นของนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาและเป็นแบบอย่างได้
โรงเรียนอนุบาลด่านช้าง เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ มีนักเรียนเป็นจำนวนมาก จากรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report: SAR) ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ กล่าวว่าในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น ยังมีข้อที่ควรพัฒนา ได้แก่ ด้านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ข้อที่ ๑ ครูควรจัดกิจกรรมเน้นให้ผู้เรียนได้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์อย่างหลากหลาย คิดสร้างสรรค์ และใช้แหล่งเรียนรู้ในการพัฒนาตนเอง และข้อที่ ๖ ครูควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ โรงเรียนอนุบาลด่านช้างจึงต้องพัฒนาผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จและก้าวทันการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ มุ่งยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ Education for All และให้การสนับสนุนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จากรายงานการคัดกรองนักเรียนโดยศูนย์การศึกษาพิเศษ เขต ๕ สุพรรณบุรี และครูที่ผ่านการอบรมผู้คัดกรองนักเรียน พบว่านักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ของโรงเรียนอนุบาลด่านช้าง ยังขาดทักษะด้านการคิดสร้างสรรค์ เพราะนักเรียนส่วนมากประสบปัญหา เนื่องจากการคิดในกรอบหรือไม่กล้าคิดสร้างสรรค์ ถ้านักเรียนคิดสร้างสรรค์ไม่ได้ การคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์ ก็จะมีประสิทธิภาพน้อยเช่นกัน สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่นักเรียนขาดความคิดสร้างสรรค์ น่าจะมาจากสภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู ซึ่งใช้เทคนิควิธีสอนไม่เหมาะสม โดยยังใช้วิธีสอนแบบเดิมๆ ที่ครูมุ่งแต่จะฝึกทักษะการอ่าน การเขียน เน้นวิชาการให้เด็กเพียงอย่างเดียว และขาดเทคนิค วิธีการสอนใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับนักเรียน แม้ทางโรงเรียนจะหาวิธีทางแก้อย่างไร การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนยังคงพัฒนาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ทางโรงเรียนอนุบาลด่านช้างได้นำเอาการใช้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเป็นฐาน ในการจัดการเรียนรู้มาทดลองใช้กับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้ศึกษา ค้นคว้า คิดและลงมือปฏิบัติ ซึ่งช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดจากคำถามและพยายามหาคำตอบ เมื่อผู้สอนถามหรือท้าทาย ทำให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์ ยังได้บูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายในการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของโรงเรียน คือ ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นด่านช้าง ซึ่งอุดมไปด้วยความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของโรงเรียนและชุมชนด่านช้าง ได้รับรางวัล หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม ด้านแหล่งเรียนรู้ พ.ศ.๒๕๕๖ นักเรียนจะได้ศึกษา ๖ ศูนย์การเรียนรู้ที่น่าสนใจ ทำให้นักเรียนได้รับความรู้ สามารถนำความรู้ไปพัฒนาการคิดอย่างสร้างสรรค์ ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างมีขั้นตอน สื่อสารความรู้ ถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์สู่การวาดภาพด้วยโปรแกรม Paint จนได้ผลงานเป็นที่น่าพึงพอใจ
การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ในรายวิชาคอมพิวเตอร์ โรงเรียนอนุบาลด่านช้าง โดยใช้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเป็นฐาน มีแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน ๖ แผน ตามจำนวนของศูนย์การเรียนรู้ของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นด่านช้าง ในแต่ละแผนประกอบด้วย ๔ ขั้นตอน ดังนี้
๑. ขั้นวางแผน คือ การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ตั้งคำถามและร่วมกันตอบคำถามที่ตั้งไว้ เพื่อแสดงออกถึงความคิดที่หลากหลาย รวมทั้งให้นักเรียนร่วมกันคิดเรื่องที่ตนเองสนใจภายใต้หัวข้อที่ครูกำหนด โดยต้องไม่ซ้ำกับกลุ่มอื่น เพื่อเป็นการฝึกความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่น และความคิดละเอียดลออ
๒. ขั้นปฏิบัติ คือ ขั้นที่ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติในการทำชิ้นงาน แสดงออกถึงจินตนาการและสามารถถ่ายทอดความคิดออกมาในรูปแบบของชิ้นงานที่แปลกใหม่ เป็นการฝึกความคิดริเริ่มและความคิดละเอียดลออ
๓. ขั้นแสดงผล คือ ขั้นที่ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มได้นำเสนอชิ้นงาน โดยอธิบายขั้นตอนการทำชิ้นงานของกลุ่มตนเองตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนขั้นตอนสุดท้าย ในขั้นนี้เป็นการฝึกความละเอียดลออ
๔. ขั้นประเมินผลและต่อยอดการเรียนรู้ คือ ขั้นที่ครูและนักเรียนร่วมกันประเมินชิ้นงาน ประเมินการเรียนรู้เป็นกลุ่มของนักเรียนแต่ละกลุ่ม รวมถึงการต่อยอดการเรียนรู้ที่นักเรียนร่วมกันคิดหัวข้อเรื่องใหม่ๆ ที่จะเรียนรู้ร่วมกันในครั้งหน้า เป็นการฝึกความคิดคล่องแคล่ว
ในการใช้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเป็นฐาน ในการจัดการเรียนรู้ สามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย จัด การเรียนการสอนอย่างมีขั้นตอน บูรณาการวิชาคอมพิวเตอร์กับเนื้อหาสาระจาก ๖ ศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นด่านช้าง แทรกเสริมความรู้อื่น และให้นักเรียนนำเสนอผลงานจากความรู้ที่ได้รับผ่านกระบวนการคิดสร้างสรรค์
การจัดการเรียนการสอนเสริม หากมีกิจกรรมเสริมเพิ่มเติมจะใช้เวลาที่เป็นกิจกรรม เช่น วันเสาร์วันอาทิตย์ วันหยุด หรือในเวลาเลิกเรียน หรือในชั่วโมงกิจกรรมเสริมหลักสูตร หรือในโอกาสที่เป็นกิจกรรมร่วม จะมีการนัดหมายให้นักเรียนมาร่วมกิจกรรม
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อไอซีที โดยสื่อมีมากมายให้นักเรียนศึกษา เน้นการคิดและ การแสวงหาความรู้ ผ่านเว็บไซต์ของโรงเรียนอนุบาลด่านช้าง www.adcschool.com และเพจเฟสบุ้ค พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นด่านช้าง
จัดกลุ่มเนื้อหาที่กำหนดไว้เป็นเรื่องๆ และให้นักเรียนไปจับกลุ่มศึกษาเพื่อทำเป็น case study แล้วมา present เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กัน เน้นทำกิจกรรมร่วมกัน
ครูแต่ละชั้นเรียน และรายวิชา ช่วยกันติดตามผลงานของนักเรียน โดยสังเกตพฤติกรรม การทำงาน ชิ้นงานที่มีความคิดสร้างสรรค์จะได้รับการโพสต์บนไลน์กลุ่มและเฟสบุ้คของโรงเรียน และส่งให้ผู้ปกครองได้ทราบถึงพัฒนาการทางด้านความคิดสร้างสรรค์ ครูจัดแสดงผลงานนักเรียนในโอกาส กิจกรรมงานวิชาการของโรงเรียน มีการแนะนำเพื่อนครู ขยายผลสู่ครูในโรงเรียนหรือโรงเรียนใกล้เคียง เพื่อเป็นเครือข่ายและเป็นต้นแบบในการขยายผลสู่นักเรียนต่อไป และเมื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเสร็จสิ้น ครูผู้ฝึกซ้อมการแข่งขันวิชาคอมพิวเตอร์ จะทำการคัดตัวนักเรียนเพื่อเข้าร่วมแข่งขันคอมพิวเตอร์ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน เพื่อเป็นการยกระดับทักษะด้านคอมพิวเตอร์และพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยกระบวนทั้งหมด