ชื่อเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E)
วิชาการเขียนโปรแกรมภาษา1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางรสสุคนธ์ แก้วคูณ
โรงเรียนสตรีสิริเกศ
บทคัดย่อ
การเรียนรู้วิชาการการเขียนโปรแกรมภาษา1 โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เป็นรูปแบบการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ มีทักษะสำคัญ ในการศึกษาค้นคว้าและสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วย การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมเรียนรู้ วิชาการเขียนโปรแกรมภาษา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น วิชาการเขียนโปรแกรมภาษา1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักร การเรียนรู้ 7 ขั้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 โรงเรียนสตรีสิริเกศ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 42 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ใน การศึกษาค้นคว้าประกอบด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น วิชาการเขียนโปรแกรมภาษา1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 40 ข้อ มีอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.88 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 และแบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียน แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) แบบ Dependent Sample Test
ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้
1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษา
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.57/83.33
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น มีค่าเท่ากับ 0.7368
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น
มีคะแนนจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น
อยู่ในระดับมาก
โดยสรุป การเรียนรู้วิชาการเขียนโปรแกรมภาษา โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น
มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสมในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทำให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจ จึงเป็นแนวทางหนึ่งสำหรับครูในการนำการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีต่อไป