ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช
โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย นางสาวดวงกมล เล็กสวาสดิ์
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้ได้เกณฑ์มาตรฐาน 75/75
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน ชั้น ม1/1 จำนวน 21 คน ระยะเวลาที่ใช้ 22 ชั่วโมง แบบแผนการทดลองคือ (one-group pre-test post-test design) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 7 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 22 แผน 22 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ จำนวน 1 ฉบับ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และค่า t-test แบบ Dependent
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.00/78.88 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก