ชื่อเรื่อง รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะ และรูปแบบวัฏจักร ๗ ขั้น
เรื่องการเขียนเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
ผู้ศึกษา นางนนทกร อาษาราช ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีที่ศึกษา ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๑
บทคัดย่อ
วิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
โดยใช้แบบฝึกทักษะและรูปแบบวัฏจักร ๗ ขั้น เรื่องการเขียนเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๒) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของจัดกิจกรรม การเรียนรู้ แบบฝึกทักษะการเขียนเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๓) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ และรูปแบบวัฏจักร ๗ ขั้น เรื่องการเขียนเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ตามเกณฑ์ ๖๕ และ๔) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะและรูปแบบวัฏจักร ๗ ขั้น เรื่อง การเขียน เพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ แหล่งข้อมูลที่ใช้คือ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนนาเชือกวิทยาคม อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ จำนวน ๒๑ คน จาก ๑ ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกทักษะการเขียนเพื่อการสื่อสาร จำนวน ๘ เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใช้เป็นแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน ประกอบด้วยแบบทดสอบย่อยก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน ๘ ฉบับ รวม ๘๐ ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ประจำหน่วยเรื่องการเขียนเพื่อการสื่อสาร จำนวน ๔๐ ข้อ แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร ๗ ขั้น จำนวน ๑๖ แผน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเพื่อการสื่อสาร จำนวน ๒๐ ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือใช้ค่าสถิติร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
ผลการศึกษาพบว่า
๑. ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไข พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ซึ่งจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน หน่วยที่ 2 การเขียนเพื่อการสื่อสาร พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ ๗๕ ๗๘ ที่ผู้ศึกษาได้รับมอบหมายให้ทำการสอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ๑ หน่วยการเรียนรู้ คือ การเขียนเพื่อการสื่อสาร เฉลี่ยรวมร้อยละ ๗๓ ๗๖ ของคะแนนเต็มของหน่วยการเรียนรู้ ส่วนนักเรียนที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่แท้จริงเรื่อง การเขียนเพื่อ การสื่อสาร ซึ่งลักษณะเนื้อหาค่อยข้างยาก รวมทั้งโรงเรียนยังขาดสื่อการเรียนรู้ที่มีเนื้อหาไม่ครบถ้วนตาม ที่หลักสูตรกำหนดไว้และนักเรียนส่วนใหญ่ขาดความกระตือรือร้นในการใฝ่รู้ใฝ่เรียน โดยไม่รักการค้นคว้า หรือศึกษาเพิ่มเติม ขาดทักษะกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
๒. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะและรูปแบบวัฏจักร 7 ขั้น
มีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๕.๕๗/๘๔.๖๔ สูงกว่าเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ค่าดัชนีประสิทธิผลอยู่ในระดับ ดี โดยนักเรียนมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ ๗๕.๖๒ สูงกว่าเกณฑ์ ๖๕
๓. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประจำหน่วย และมีทักษะการเขียนเพื่อการสื่อสาร ทั้ง ๘ เรื่อง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และนักเรียนความคงทนในการเรียนรู้เรื่องการเขียนเพื่อ การสื่อสารโดยคะแนนลดลงร้อยละ ๐.๓๖
๔. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะและรูปแบบ วัฏจักร ๗ ขั้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
โดยสรุปแบบฝึกทักษะการเขียนเพื่อการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ มีประสิทธิภาพเหมาะสม ทำให้นักเรียนเกิดความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเพื่อการสื่อการ จึงสมควรสนับสนุนให้ครูภาษาไทย นำแบบฝึกทักษะการเขียนดังกล่าวไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ต่อไป