ชื่อชุด การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและ
วัฒนธรรม ชุด ท่องแดนดอกบัว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยจัดการ
เรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา
ผู้รายงาน ฉริยา นามโคตร
โรงเรียน น้ำขุ่นวิทยา
ปีที่ทำการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การรายงานครั้งนี้เป็นการพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ท่องแดนดอกบัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา มีจุดมุ่งหมายดังนี้
1. สร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ท่องแดนดอกบัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 (E1 / E2)
2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ท่องแดนดอกบัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD โดยพิจารณาเปรียบเทียบจากคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนกับคะแนนแบบทดสอบหลังเรียน
3. ศึกษาดรรชนีประสิทธิผลของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ท่องแดนดอกบัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา
4. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ท่องแดนดอกบัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา
การศึกษาครั้งนี้ทำการศึกษาโดยใช้ระยะเวลาทำการศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ใช้เวลาในการสอน 36 ชั่วโมง มีการสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 4 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 40ชั่วโมง โดยสอนสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง โดยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2560 ซึ่งมีจำนวน 39 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่
1. หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ท่องแดนดอกบัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD จำนวน 18 เรื่อง ได้แก่
เล่มที่ 1 เรื่อง ภูมิศาสตร์เมืองดอกบัว
เล่มที่ 2 เรื่อง ประวัติเมืองดอกบัว
เล่มที่ 3 เรื่อง ทรัพยากรเมืองดอกบัว
เล่มที่ 4 เรื่อง วิถีชีวิตเมืองดอกบัว
เล่มที่ 5 เรื่อง ปราชญ์เมืองดอกบัว
เล่มที่ 6 เรื่อง ท่องเที่ยวเมืองดอกบัว
เล่มที่ 7 เรื่อง ภูมิปัญญาเมืองดอกบัว
เล่มที่ 8 เรื่อง สืบสานงานศิลป์เมืองดอกบัว
เล่มที่ 9 เรื่อง เส้นสายลายเทียนเมืองดอกบัว
เล่มที่ 10 เรื่อง พิพิธภัณฑ์เมืองดอกบัว
เล่มที่ 11 เรื่อง โบราณสถานเมืองดอกบัว
เล่มที่ 12 เรื่อง มรดกทางศาสนาเมืองดอกบัว 1
เล่มที่ 13 เรื่อง มรดกทางศาสนาเมืองดอกบัว 2
เล่มที่ 14 เรื่อง มรดกทางศาสนาเมืองดอกบัว 3
เล่มที่ 15 เรื่อง มรดกทางศาสนาเมืองดอกบัว 4
เล่มที่ 16 เรื่อง ชาติพันธุ์เมืองดอกบัว
เล่มที่ 17 เรื่อง ความพอเพียงของเมืองดอกบัว
เล่มที่ 18 เรื่อง การอนุรักษ์ธรรมชาติเมืองดอกบัว
2. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนชุด ๆ ละ 10 ข้อ จำนวน 18 เล่ม
3. แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ท่องแดนดอกบัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD จำนวน 20 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
1. สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC :
Index of Item Objective Congruence) ค่าความยาก (p) ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ (KR- 20) ค่าอำนาจจำแนก (r)
2. สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าความเบี่ยงเบน
มาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน ทดสอบสมมติฐานผลสัมฤทธิ์ (t test Dependent) และทดสอบสมมติฐานดรรชนีประสิทธิผล (The Effectivenness index)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ท่องแดนดอกบัว กลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD พบว่ามีประสิทธิภาพ 85.24/84.50 ซึ่งสูงตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่ามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ท่องแดนดอกบัว กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. ดรรชนีประสิทธิผลในการเรียน ความก้าวหน้าทางการเรียนจากการเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนกับคะแนนทดสอบหลังเรียนเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด มีค่า 0.4437 แสดงว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ท่องแดนดอกบัว กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 44.37
4. ความพึงพอใจของผู้เรียนในการเรียน หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ท่องแดนดอกบัว กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD หลังการเรียนนักเรียนมีความพึงพอใจต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ท่องแดนดอกบัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.58 ระดับมากที่สุด และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.46