ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนบ้านเหล็ก
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3
ปีการศึกษา 2560
ชื่อผู้ประเมิน นางสาวนราธิป สมพงษ์
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การรายงานการประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนบ้านเหล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2560 ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) ประเมินโครงการด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรครู ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน จำนวน 202 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามเชิงสำรวจ จำนวน 64 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.864 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) กรณีกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way : ANOVA) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยใช้วิธีการทดสอบของเชฟเฟ่ (Scheffes Method) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการประเมินข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 202 คน เป็นเพศชาย จำนวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 29.2 เพศหญิง จำนวน 143 คน คิดเป็นร้อยละ 70.8 เป็นบุคลากรครู จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 9.9 ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 169 คน คิดเป็นร้อยละ 83.7 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 6.4 วุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน 153 คน คิดเป็นร้อยละ 75.7 ปริญญาตรี จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 19.3 และสูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 5.0
ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนบ้านเหล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปีการศึกษา 2560 พบว่า ระดับความคิดเห็นด้านบริบทอยู่ในระดับมาก ( = 4.00 , S.D. = 0.15) ด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับมาก ( = 4.18 , S.D. = 0.16) ด้านกระบวนการอยู่ในระดับมาก ( = 4.26 , S.D. = 0.14) และด้านผลผลิตอยู่ในระดับมาก ( = 4.13 , S.D. = 0.11)
2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนบ้านเหล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปีการศึกษา 2560 ภาพรวมรายด้านเมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า เพศชายและเพศหญิงมีความคิดเห็นต่อโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนบ้านเหล็ก ไม่แตกต่างกัน
ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนบ้าน-เหล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปีการศึกษา 2560 ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต เมื่อจำแนกตามสถานภาพ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ที่มีสถานภาพต่างกันมีความคิดเห็นต่อโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนบ้านเหล็ก ภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพต่างกันมีความคิดเห็นต่อโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนบ้านเหล็ก ไม่แตกต่างกันจำนวน 1 ด้าน คือ ด้านปัจจัยนำเข้า และพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพต่างกันมีความคิดเห็นต่อโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนบ้านเหล็ก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 3 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต
เมื่อพบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่าง จึงทำการวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe Method) พบว่า ด้านบริบท กลุ่มตัวอย่างที่เป็นคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครอง มีความคิดเห็นต่อโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนบ้านเหล็ก สังกัดสำนักงาน-เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปีการศึกษา 2560 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านกระบวนการ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรครูและผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างที่เป็นคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครอง มีความคิดเห็นต่อโครงการโรงเรียน-คุณธรรม สพฐ. โรงเรียนบ้านเหล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปีการศึกษา 2560 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนบ้าน-เหล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปีการศึกษา 2560 ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต เมื่อจำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนบ้าน-เหล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปีการศึกษา 2560 ภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มี วุฒิการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนบ้านเหล็ก ไม่แตกต่างกันจำนวน 2 ด้าน คือ ด้านบริบทและด้านผลผลิต และพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนบ้านเหล็ก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 2 ด้าน คือ ด้านปัจจัยนำเข้าและด้านกระบวนการ
เมื่อพบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่าง จึงทำการวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe Method) พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้า กลุ่มตัวอย่างที่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีและกลุ่มตัวอย่างที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรี มีความคิดเห็นต่อโครงการโรงเรียนคุณธรรม- สพฐ. โรงเรียนบ้านเหล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปีการศึกษา 2560 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านกระบวนการ กลุ่มตัวอย่างที่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีและกลุ่มตัวอย่างที่มีวุฒิการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีความคิดเห็นต่อโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนบ้านเหล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปีการศึกษา 2560 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่า ด้านบริบทและด้านผลผลิต ทุกกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อโครงการโรงเรียนคุณธรรม- สพฐ. โรงเรียนบ้านเหล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปีการศึกษา 2560 ไม่แตกต่างกัน
3. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียน บ้านเหล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปีการศึกษา 2560 บุคลากรครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน ได้เสนอแนวทางพัฒนาการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนบ้านเหล็ก ตามกรอบการประเมินทั้ง 4 ด้าน สรุปได้ดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านบริบท โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและผู้นำชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหามากยิ่งขึ้น โรงเรียนควรกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ให้มีความชัดเจน โรงเรียนควรกำหนดโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ไว้ในแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนโดยให้ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนและคณะกรรมการสถานศึกษาให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนะ ความคิดเห็น โรงเรียนควรสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ให้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมากขึ้น โรงเรียนควรมีการประชุมชี้แจงแนวทางการจัดทำแผนการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ชุมชนควรติดตามผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. จากการประชุมผู้ปกครองในแต่ละภาคเรียน โรงเรียนควรจัดทำเอกสารเผยแพร่ผล การดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ทุกปีการศึกษา คณะครูและผู้ปกครองควรให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. มากยิ่งขึ้น ด้านที่ 2 ด้านปัจจัยนำเข้า โรงเรียนควรมีการสร้างความรู้ความเข้าใจโดยการจัดอบรมเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการโรงเรียน-คุณธรรม สพฐ.มากยิ่งขึ้น โรงเรียนควรจัดให้มีการศึกษาดูงานในโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จด้านการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.มากขึ้น บุคลากรครูในโรงเรียนควรให้ความสนใจเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.มากยิ่งขึ้น บุคลากรครูควรทำหน้าที่ตามบทบาทหน้าที่ ที่ตนได้รับมอบหมายอย่างเต็มกำลังความสามารถ โรงเรียนควรมีการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ เพื่อรองรับการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนควรจัดหาแหล่งงบประมาณ จากด้านอื่น ๆ เพื่อนำมาสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนควรรายงานผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบผล การดำเนินงานทุกภาคเรียน ด้านที่ 3 ด้านกระบวนการดำเนินงาน โรงเรียนควรส่งเสริมให้ชุมชน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนมากยิ่งขึ้น โรงเรียนควรมอบหมายงานให้แก่บุคลากรครูที่ตรงกับความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคล โรงเรียนควรมีการประเมินผลความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ทุกภาคเรียน โรงเรียนควร นำเทคโนโลยีสารเทศมาเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานตามโครงการมากยิ่งขึ้น โรงเรียนควรมีการ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากรมากยิ่งขึ้น ด้านที่ 4 ด้านผลผลิต โรงเรียนควรจัดกิจกรรมส่งเสริมความมีระเบียบวินัย เพิ่มมากขึ้น โรงเรียนควรมีกิจกรรมเชิดชูเกียรตินักเรียนที่เก็บสิ่งของผู้อื่นได้แล้วนำส่งคืนเจ้าของ นักเรียนควรแสดงออกถึงความเคารพนอบน้อมต่อผู้ที่มีวัยวุฒิสูงกว่า โรงเรียนบ้านเหล็กไม่ควรมีนักเรียนที่มาโรงเรียนสายในแต่ละวัน นักเรียนควรเข้าแถวตามลำดับเมื่อจะซื้อสิ่งของ โรงเรียนควร จัดกิจกรรมส่งเสริมและสร้างความตระหนักในการทิ้งเศษขยะมากยิ่งขึ้น โรงเรียนควรจัดอบรมนักเรียนด้านความมีมารยาทเพิ่มมากขึ้น โรงเรียนควรส่งเสริมให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมประเพณีในท้องถิ่น ให้มากขึ้น โรงเรียนควรจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักในเรื่องการรักษาทรัพย์สินหรือรักษาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน โรงเรียนควรส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้จากภายนอกโรงเรียนมากยิ่งขึ้นนอกเหนือจากการค้นคว้าในห้องสมุดของโรงเรียน โรงเรียนควรจัดกิจกรรมอบรมเพื่อส่งเสริม ให้นักเรียนรู้จักกล่าวคำว่า ขอโทษ หรือ กล่าวคำว่า ขอบคุณ โรงเรียนควรสร้างความตระหนัก ให้นักเรียนรู้จักการช่วยเหลืองานบ้าน โรงเรียนควรมีกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักการช่วยเหลือผู้อื่น หรือกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักการเสียสละเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น โรงเรียนควรจัดกิจกรรมส่งเสริมและสร้างความตระหนักให้นักเรียนรู้จักดูแลความสะอาดภายในโรงเรียนมากยิ่งขึ้น โรงเรียนควร มีกิจกรรมเพื่อปลูกฝังความอดทนของนักเรียนเพิ่มมากขึ้น ควรมีกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคน มีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น ควรมีกิจกรรมปลูกฝังและฝึกความอดทน ของนักเรียนมากยิ่งขึ้น โรงเรียนควรมีกิจกรรมส่งเสริมความประหยัดอดออมและเชิดชูเกียรตินักเรียน ที่มีความประหยัดอดออมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักเรียนคนอื่น ควรมีกิจกรรมส่งเสริมและสร้างความตระหนักให้นักเรียนรู้จักดูแลรักษาทรัพย์สินทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน โรงเรียนควร จัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักการซื้อสิ่งของที่มีประโยชน์มากยิ่งขึ้น