ชื่อเรื่อง ผลการใช้เอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้เรื่อง รักษ์นาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย พรรษพร วงศ์แข
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
ผลการใช้เอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง รักษ์นาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง รักษ์นาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้เอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง รักษ์นาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (3) เพื่อศึกษาความสามารถในการปฏิบัติทักษะด้านนาฏศิลป์ไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการเรียนด้วยเอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง รักษ์นาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระ การเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง รักษ์นาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลวัดเสาธงทอง สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา (1) เอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง รักษ์นาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 4 เล่ม (2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการฝึกทักษะการปฏิบัติ 5 ขั้น จำนวน 10 แผน (3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 40 ข้อ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองเป็น ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก มีค่าความยากง่าย (P) ระหว่าง 0.35 ถึง 0.76 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ (0.22 -0.74 ) (4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการปฏิบัติทักษะด้านนาฏศิลป์ไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบประเมินตามสภาพจริง ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ จำนวน 20 ข้อ และ (5) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง รักษ์นาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ()
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง รักษ์นาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระ การเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.96 /81.94
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง รักษ์นาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ 0.7033 ค่าดัชนีประสิทธิผลสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้หลังจากการจัดการเรียนรู้โดยเอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง รักษ์นาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 70.33
3. ผลการหาความสามารถในการปฏิบัติทักษะด้านนาฏศิลป์ไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับเท่ากับ (= 18.35,  = 1.17) สูงกว่าคะแนนก่อนเรียนเท่ากับ ( 8.35 =, . = 1.55)
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง รักษ์นาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, = 0.44)