ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม : ร่วมกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง
โรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ชื่อผู้ประเมิน : นายประดิษฐ์ คชสวัสดิ์
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2560
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม : ร่วมกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง โรงเรียน บ้านทุ่งมะปรัง อำเภอควนโดน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ประเมินโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPPเModel)เประเมินโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตเโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท (ContextเEvaluation) เกี่ยวกับความต้องการจำเป็น ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับนโยบายและความต้องการของสถานศึกษา ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ ความเป็นไปได้ของโครงการ และความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร งบประมาณ สถานที่ ความเพียงพอของสื่อและวัสดุอุปกรณ์ 3)ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เกี่ยวกับการสร้างการรับรู้ และการยอมรับ การสร้างครูแกนนำและนักเรียนแกนนำ การกำหนดคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน การกำหนดวิธีบรรลุคุณธรรมอัตลักษณ์ การลงมือปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนแปลง และการสร้างกลไกขับเคลื่อนโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม 4) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เกี่ยวกับคุณธรรมด้านความเป็นคนดีของนักเรียน จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ความดีต่อตนเอง ความดีต่อผู้อื่น และความดีต่อสังคม และประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ
ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง อำเภอควนโดน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ในปีการศึกษา 2560 รวมทั้งสิ้น จำนวน 244 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (PurposiveเSampling) จำนวน 84 คน ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน 2) ครู จำนวน 16 คน 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 30 คน 5) กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ ดังนี้ 1) แบบสอบถามประเมินประเด็นบริบทก่อนการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม : ร่วมกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง 2) แบบสอบถามประเมินประเด็นปัจจัยนำเข้า ประเมินระยะต้นและระหว่างโครงการ 3) แบบสอบถามประเมินประเด็นกระบวนการในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรมเ:เร่วมกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง ด้านผลผลิตเกี่ยวกับความเป็นคนดีของนักเรียน 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการ
การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าสถิติ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows 16.0 ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
โครงการโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม : ร่วมกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง โรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง อำเภอ ควนโดน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล มีผลการประเมินสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการโดยการประเมิน 5 ตัวชี้วัด ในภาพรวมบริบทของโครงการมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดทั้ง 5 ตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่าความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมา คือ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความต้องการจำเป็นของโครงการ ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ และความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับนโยบายและความต้องการของสถานศึกษาตามลำดับ
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ โดยประเมิน 4 ตัวชี้วัดพบว่า โดยภาพรวมปัจจัยนำเข้าของโครงการมีความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดทั้ง 4 ตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านสื่อและวัสดุอุปกรณ์ มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสถานที่ ด้านบุคลากร และด้านงบประมาณ ตามลำดับ
3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการโดยประเมิน 6 ตัวชี้วัดพบว่า โดยภาพรวมกระบวนการดำเนินงานของโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมิน ที่กำหนดทั้ง 6 ตัวชี้วัด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านการสร้างการรับรู้และการยอมรับมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการกำหนดวิธีบรรลุคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน ด้านการลงมือปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย การเปลี่ยนแปลง ด้านการสร้างครูแกนนำและนักเรียนแกนนำ ด้านการกำหนดคุณธรรมอัตลักษณ์ ด้านการสร้างกลไกขับเคลื่อนโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม ตามลำดับ
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการโดยประเมิน 3 ตัวชี้วัดพบว่า โดยภาพรวมนักเรียน มีคุณธรรมความเป็นคนดีผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด และอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายละเอียดตามตัวชี้วัดพบว่า ด้านความดีต่อสังคม จำนวน 5 คุณธรรม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ความดีต่อตนเอง จำนวน 7 คุณธรรม และความดีต่อผู้อื่น จำนวน 8 คุณธรรมตามลำดับ และความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินงานกิจกรรมโครงการพบว่า โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด และอยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการประเมินโครงการในภาพรวม พบว่าโครงการโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม : ร่วมกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง โรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง อำเภอควนโดน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดทุกตัวชี้วัด และอยู่ในระดับมากที่สุด
ดังนั้น จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะให้มีการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม : ร่วมกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง โรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง อำเภอควนโดน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ต่อไป ทั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องตระหนักและเห็นความสำคัญ ให้ความร่วมมือ สนับสนุนอย่างจริงจัง มีการกำกับติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ