ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบ
กลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการเรียนรู้แบบ SSCS เรื่อง ระบบสมการ
เชิงเส้นสองตัวแปร เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสาร
ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้ศึกษา ณัฐติกาญจน์ เกิดสม
สถานที่ศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ การเรียนรู้แบบ SSCS เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ การเรียนรู้แบบ SSCS เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการเรียนรู้แบบ SSCS เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 50 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) จากจำนวน 2 ห้องเรียน แล้วจับสลากเป็นกลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ การเรียนรู้แบบ SSCS เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 13 แผน ชั่วโมงสอน 23 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.85 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาเป็นแบบอัตนัย จำนวน 6 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 5) แบบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการอ่าน มีค่าความเชื่อมั่น 0.88 6) แบบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการเขียน มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 7) แบบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการฟัง มีค่าความเชื่อมั่น 0.89 8) แบบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการพูด มีค่าความเชื่อมั่น 0.91 และ 8) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสองค่าจากกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว (t-test for Paired Samples) และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยหนึ่งกลุ่มกับเกณฑ์ (One-Sample T-test)
ผลการศึกษา พบว่า
1. สภาพปัจจุบันครูมีสภาพการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา และการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x- = 2.74 S.D.= 0.11) ความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x- = 4.61 S.D. = 0.13)
2. รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการเรียนรู้แบบ SSCS เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ ผลลัพธ์ที่คาดหวัง กระบวนการจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล
3. รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการเรียนรู้แบบ SSCS เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ82.64/82.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
4.กผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ความสามารถในการสื่อสารทางของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
7. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( x- = 4.54 S.D.= 0.31)