การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD
เรื่องการขยายพันธุ์มะนาวโดยวิธีการเสียบยอด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ
1) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องการขยายพันธุ์มะนาวโดยวิธีการเสียบยอด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องการขยายพันธุ์มะนาวโดยวิธีการเสียบยอด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องการขยายพันธุ์มะนาวโดยวิธีการเสียบยอด
4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องการขยายพันธุ์มะนาวโดยวิธีการเสียบยอด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 40 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนนาคำวิทยา ตำบลแดงหม้อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) รูปแบบการวิจัยเป็นรูปแบบการวิจัยแบบทำการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest - Posttest Design) ระยะเวลาในการทดลอง คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องการขยายพันธุ์มะนาวโดยวิธีการเสียบยอด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องการขยายพันธุ์มะนาวโดยวิธีการเสียบยอด
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการขยายพันธุ์มะนาวโดยวิธีการเสียบยอด วิชาการงานอาชีพ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ที่มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.32-0.78 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.24- 0.95 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.81 2) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องการขยาย
พันธุ์มะนาวโดยวิธีการเสียบยอด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.42 0.86 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. เอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องการขยายพันธุ์มะนาวโดยวิธีการเสียบยอด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 83.86/82.75
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. เอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องการขยายพันธุ์มะนาวโดยวิธีการเสียบยอด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.59 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนร้อยละ 59
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องการขยายพันธุ์มะนาวโดยวิธีการเสียบยอด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีผลต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องการขยายพันธุ์มะนาวโดยวิธีการเสียบยอด โดยรวม
อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. = 0.69) ด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ
ด้านที่ 3 เอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD ทำให้เกิดทักษะในการปฏิบัติกิจกรรม
อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.78, S.D. = 0.81) รองลงมาคือ ด้านที่ 2 การเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD ทำให้นักเรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.73, S.D. = 0.51) รองลงมาคือ ด้านที่ 11 นักเรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D. = 0.62) และด้านที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ ด้านที่ 8 กิจกรรมในชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เหมาะสมกับเวลา อยู่ในระดับมาก ( = 4.25, S.D. = 0.78)