บทคัดย่อ
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ ประกอบเทคนิค TGT เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ ประกอบเทคนิค TGT เรื่อง สารในชีวิต ประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ 2 ) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ ประกอบเทคนิค TGT เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ ประกอบเทคนิค TGT เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ และ 4) ประเมินผลแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ ประกอบเทคนิค TGT เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ ใช้รูปแบบวิจัย R&D ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน
ขั้นตอน ที่ 1 การวิจัย (Research) : การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มาตรฐานการเรียนรู้และสาระวิทยาศาสตร์ สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยในประเทศ งานวิจัยในต่างประเทศ ข้อมูลนักเรียนและการสนทนากลุ่มกับนักเรียน ครู และผู้ปกครอง 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ที่กำลังเรียนหรือเคยเรียนสาระวิทยาศาสตร์ สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง สารในชีวิตประจำวันมาแล้ว จำนวน 30 คน และ 3) ครูผู้สอนสาระวิทยาศาสตร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 8 คน
ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development) : แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ ประกอบเทคนิค TGT ได้ดำเนินการ ดังนี้
1. ผู้วิจัยได้นำแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบสืบเสาะ ประกอบเทคนิค TGT ที่สร้างขึ้น ให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องเชิงเนื้อหา และปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
2. นำแผนการจัดการเรียนรู้ ไปทดลองสอนกับกลุ่มทดลอง (แบบรายบุคคล, แบบกลุ่มเล็กและ แบบภาคสนาม) และปรับปรุงแก้ไข
3. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ไปใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง
ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research) : การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้
การดำเนินการในขั้นตอนนี้เป็นการนำแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ ประกอบเทคนิค TGT ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ และปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 40 คน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนสอบหลัง(One Group Pretest and Posttest Design) ก่อนเรียน ทำการทดสอบด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ ประกอบเทคนิค TGT เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนทดสอบด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนำผลคะแนนที่ได้มาหาค่าดัชนีประสิทธิผล และค่า T-Test และหลังจากนั้นประเมินวัดความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ ประกอบเทคนิค TGT เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นำผลคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ
ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development) : การประเมินผลและปรับปรุงการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้
การดำเนินการในขั้นตอนนี้เป็นการประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ จำนวน 40 คน หลังจากเรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ ประกอบเทคนิค TGT เรื่อง สารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ผู้วิจัยนำผลคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐาน
1.1 ด้านหลักสูตร หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นกลุ่มสาระที่ช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุ เป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ ทำให้มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ตรวจสอบได้ ดังนั้นทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและเทคโนโลยี และจะได้นำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์ มีคุณธรรม และมีคุณภาพเมื่อจบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.2 ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ โดยใช้กระบวนการในการสืบเสาะหาความรู้ และการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทุกขั้นตอน มีการทำกิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติจริงอย่างหลากหลาย เหมาะสมกับระดับชั้น
1.3 ด้านนักเรียน นักเรียนไม่มีความพร้อมที่จะเรียน ทำให้นักเรียนเบื่อหน่าย ไม่อยากจะเรียน ประกอบกับผู้เรียนส่วนใหญ่มีสภาพแวดล้อมของครอบครัวที่ต้องหาเช้ากินค่ำ ไม่ได้รับการดูแลจากผู้ปกครองเท่าที่ควร จึงส่งผลทำให้นักเรียนไม่ค่อยอยากจะมาโรงเรียน ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
1.4 ด้านครูผู้สอน ครูใช้เทคนิควิธีสอนที่ไม่เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน ใช้การบรรยายเป็นส่วนใหญ่ ครูไม่เน้นกระบวนการให้นักเรียนปฏิบัติจริง ไม่ได้เน้นกระบวนการเรียนการสอนที่จะหาองค์ความรู้ใหม่ที่ทำให้นักเรียนเกิดการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ประกอบกับครูต้องรับผิดชอบงานอื่นๆ จำนวนมาก จึงทำให้มีเวลาสำหรับเตรียมการสอนน้อยลง
2. แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ ประกอบเทคนิค TGT เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.22/84.67 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
3. ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) มีค่าเท่ากับ 0.7161 แสดงว่า นักเรียนมีการพัฒนาขึ้นร้อยละ 71.61 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ ประกอบเทคนิค TGT เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก