ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาตามแนวคิด
Collaborative Inquiry เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา
และการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางจุฑารัตน์ บรรจงปรุ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนครบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาตามแนวคิดCollaborative Inquiry เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาตามแนวคิดCollaborative Inquiry เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 52) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาตามแนวคิดCollaborative Inquiry เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 53)ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาตามแนวคิดCollaborative Inquiry เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้3.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาตามแนวคิดCollaborative Inquiry 3.2)เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาตามแนวคิดCollaborative Inquiry3.3)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการทำงานเป็นทีม ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาตามแนวคิดCollaborative Inquiry4)ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาตามแนวคิดCollaborative Inquiry เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 32 คนที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนครบุรี ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1)รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยาตามแนวคิดCollaborative Inquiry เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) คู่มือการใช้รูปแบบ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา 6) แบบประเมินการทำงานเป็นทีม 7) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)
ค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test for dependent samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1.ผลจากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาตามแนวคิด Collaborative Inquiry พบว่าเป็นการผสมผสานการเรียนรู้แบบร่วมมือ (CollabativeLearning) กับการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (Inquiry Learning) เข้าด้วยกัน มีการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยมีเป้าหมายการเรียนรู้โดยลงมือปฏิบัติกิจกรรมสืบเสาะหาความรู้ที่ทั้งผู้สอนและผู้เรียนมีบทบาทร่วมกันในการสืบเสาะความรู้ใหม่ในทุกขั้นตอน เพื่อสร้างองค์ความรู้
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาตามแนวคิดCollaborative Inquiry เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5จากการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ พบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมและสอดคล้องทุกองค์ประกอบ ซึ่งรูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้มี4องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ ผู้เรียนร่วมกันสืบเสาะแสวงหาความรู้ ผ่านกระบวนการปฏิบัติและการสะท้อนผลเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ 2) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการทำงานเป็นทีม และความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ (1) รวมกลุ่มสืบเสาะ (Organizing) (2)ร่วมวิเคราะห์แนวทาง (Planing) (3) ร่วมค้นหาแก่นข้อมูล(Collaborative Exploring)(4) เพิ่มพูนองค์ความรู้(Enhancing Knowledge)(5) นำสู่การสะท้อนผล (Presenting and Evaluating) 4) การวัดผล ประเมินผล มี 3 ด้าน คือ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา และ ด้านความสามารถในการทำงานเป็นทีม
3.ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาตามแนวคิดCollaborative Inquiry เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า 3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดCollaborative Inquiryสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .053.2)ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดCollaborative Inquiryสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3)ความสามารถในการทำงานเป็นทีม ของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดCollaborative Inquiryสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนครบุรี มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาตามแนวคิดCollaborative Inquiry เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีม อยู่ในระดับมากที่สุด