บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง : การศึกษาภาพความสำเร็จของการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง โรงเรียนนาหนังพัฒนศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
ชื่อผู้รายงาน : นายสลับ หัดคำหมื่น
ปีที่รายงาน : พ.ศ. 2562
---------------------------------------------------------------------------
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาภาพความสำเร็จของการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาภาพความสำเร็จของการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อศึกษา (1) ผลการดำเนินการตามกระบวนการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา (2) ความสำเร็จของการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (3)ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโรงเรียนนาหนังพัฒนศึกษาที่มีการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย คือ ผู้บริหารและครูบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนนาหนังพัฒนศึกษา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 26 คน นักเรียน จำนวน 438 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 438 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนนาหนังพัฒนศึกษา จำนวน 15 คน โดยได้กำหนดจำนวน 100 คน ดังนี้ ผู้บริหารและครูบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 26 คน นักเรียน จำนวน 44 คน แบ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 14 คน ชุมชน จำนวน 30 คน ผลการเก็บรวบรวมข้อมูล พบว่าได้รับแบบสอบถามกลับคืนจำนวนทั้งสิ้น 100 ชุด คิดเป็นอัตราร้อยละ 100 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) แบบ Enter และแบบ Stepwise
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการดำเนินการตามกระบวนการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาจำแนกตามประเภทของโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย 5 ด้าน ได้แก่ (1.1) ด้านการบริหารจัดการ (1.2) ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน (1.3) ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (1.4) ด้านกิจกรรมพัฒนาบุคลากร และ (1.5) ด้านการสร้างเครือข่ายและขยายผล โดยภาพรวม พบว่า ผลการดำเนินการตามกระบวนการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาในภาพรวมมีความคิดเห็นในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน
2. ระดับความสำเร็จของการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนที่มีการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยพิจารณาจาก (1) คุณภาพของผู้เรียน โดยดูจาก (1.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้แก่ คะแนน O-NET และ คะแนน GPA (1.2)สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (1.3) คุณลักษณะของผู้เรียน (2) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียนและ (3) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในชุมชน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) คุณภาพของผู้เรียน
(1.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ก. คะแนน O-NET
เมื่อพิจารณาคะแนน O-NET เฉลี่ยของนักเรียนระดับชั้น ม.3 พบว่า คะแนนเฉลี่ย O-NET ของนักเรียนระดับชั้น ม.3 ปีการศึกษา 2560 มีคะแนนเฉลี่ย(x̄ = 32.06) น้อยกว่าปีการศึกษา 2557 ที่มีคะแนนเฉลี่ย(x̄ = 34.70)โดยมีผลต่างเท่ากับมีคะแนนเฉลี่ย( x̄= -2.63) และเมื่อเทียบกับคะแนนเฉลี่ยระดับเขตพื้นที่ พบว่า ปีการศึกษา 2560 มีคะแนนเฉลี่ย( x̄= 34.48) น้อยกว่าปีการศึกษา 2557 ที่มีคะแนนเฉลี่ย(x̄ = 39.58)โดยมีผลต่างเท่ากับมีคะแนนเฉลี่ย(x̄ = -5.10) เมื่อพิจารณาคะแนน O-NET เฉลี่ยของนักเรียนระดับชั้น ม.6 พบว่า คะแนนเฉลี่ย O-NET ของนักเรียนระดับชั้น ม.6 ปีการศึกษา 2560 มีคะแนนเฉลี่ย( x̄= 28.42 ) น้อยกว่าปีการศึกษา 2557 ที่มีคะแนนเฉลี่ย(x̄ =29.97) โดยมีผลต่างเท่ากับมีคะแนนเฉลี่ย( x̄= -1.54)และเมื่อเทียบกับคะแนนเฉลี่ยระดับเขตพื้นที่ พบว่า ปีการศึกษา 2560 มีคะแนนเฉลี่ย(x̄ =33.41) น้อยกว่าปีการศึกษา 2557 ที่มีคะแนนเฉลี่ย(x̄ = 36.37)โดยมีผลต่างเท่ากับมีคะแนนเฉลี่ย(x̄ = -2.96)
ข. คะแนน GPA
เมื่อพิจารณาคะแนน GPA เฉลี่ยของนักเรียนระดับชั้น ม.3 พบว่า คะแนนเฉลี่ย GPA ของนักเรียนระดับชั้น ม.3 ปีการศึกษา 2560 มีคะแนนเฉลี่ย( x̄= 2.37 ) น้อยกว่าปีการศึกษา 2557 ที่มีคะแนนเฉลี่ย(x̄ = 2.52)โดยมีผลต่างเท่ากับมีคะแนนเฉลี่ย( x̄= -0.15) และคะแนนเฉลี่ย GPA ของนักเรียนระดับชั้น ม.6 พบว่า ปีการศึกษา 2560 มีคะแนนเฉลี่ย(x̄ = 2.68 ) น้อยกว่าปีการศึกษา 2557 ที่มีคะแนนเฉลี่ย(x̄ = 2.75)โดยมีผลต่างเท่ากับมีคะแนนเฉลี่ย( x̄= -0.07)
(1.2) สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
โดยภาพรวมคะแนนสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ย(x̄ = 4.33 ) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการใช้เทคโนโลยี(x̄ = 4.60 ) รองลงมา คือ ด้านการแก้ปัญหา(x̄ = 4.54 ) ด้านการใช้ทักษะชีวิต( x̄= 4.50) ด้านการคิด ( x̄= 4.44 ) และ ด้านการสื่อสารมีคะแนนเฉลี่ย(x̄ =4.33)ตามลำดับ
(1.3) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
โดยภาพรวมผลการวิเคราะห์คะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนทั้ง 9 ด้านโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ย( x̄= 4.45 ) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านมีวินัย( x̄= 4.53) รองลงมา คือด้านใฝ่รู้ใฝ่เรียน (x̄ = 4.51 ) ด้านซื่อสัตย์ สุจริต ( x̄= 4.48 ) ด้านอยู่อย่างพอเพียง ( x̄= 4.46 ) ด้านมุ่งมั่นในการทำงาน (x̄ = 4.46 ) ด้านการมีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี ( x̄= 4.41 ) ด้านการมีจิตสาธารณะ (x̄ = 4.41 )ด้านรักความเป็นไทย ( x̄= 4.40 ) และด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์มีคะแนนเฉลี่ย( x̄= 4.30 ) ตามลำดับ
(2) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน พบว่า ผลการวิเคราะห์คะแนนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน ซึ่งพิจารณาจากพฤติกรรมของผู้บริหารและครู ในการเข้าร่วมการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ย( x̄= 4.58 ) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุดคือ คุณลักษณะของบุคลากรภายในโรงเรียน( x̄= 4.65 )รองลงมา คือ คุณลักษณะของผู้บริหาร มีคะแนนเฉลี่ย(x̄ = 4.50 ) ตามลำดับ
(3) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับชุมชน
(3.1) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสมาชิกในชุมชนโดยภาพรวม พบว่า ผลการวิเคราะห์คะแนนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในชุมชน ในการเข้าร่วมการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ย(x̄ = 4.18 )
(3.2) ความพึงพอใจของชุมชน พบว่า ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของชุมชนต่อผลของการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาใน 5 ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ย(x̄ = 3.90 ) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านสภาพแวดล้อมโรงเรียน (x̄ = 4.57 ) รองลงมา คือ ด้านการจัดกิจกรรมบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ( x̄= 4.20 )ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน มีคะแนนเฉลี่ย(x̄ = 3.83 ) ด้านพฤติกรรมและคุณลักษณะของนักเรียน ( x̄= 3.60 ) และด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน (x̄ = 3.30 )ตามลำดับ
3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการศึกษาของโรงเรียนนาหนังพัฒนศึกษาที่มีการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้วิจัยได้ใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ(Multiple regression analysis) แบบ enterและแบบ stepwise โดยใช้กระบวนการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย 5 ด้าน ได้แก่ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านกิจกรรมพัฒนาบุคลากร และด้านการสร้างเครือข่ายและการขยายผล เป็นตัวแปรทำนาย พบว่า
(1) ด้านคุณภาพของผู้เรียน
(1.1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
(1.1.1) ตัวแปรค่าความแตกต่างของคะแนน O-NET ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างปีการศึกษา 2557 และ 2560 เป็นตัวแปรตาม ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบ Enter พบว่า ชุดของตัวแปรทำนายสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อย48.6 ( x̄=.486)อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
(1.1.2) ตัวแปรค่าความแตกต่างของคะแนน GPA ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างปีการศึกษา 2557 และ 2560 เป็นตัวแปรตามผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบ Enter พบว่า ชุดของตัวแปรทำนายสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อย 40.6 ( x̄=.406)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และเมื่อวิเคราะห์ด้วยการถดถอยพหุคูณ แบบ Stepwise พบว่า ตัวแปรด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสามารถทำนายตัวแปรค่าความแตกต่างของคะแนน GPA ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างปีการศึกษา 2557 และ 2560 ได้ 34.5 (x̄ =.345)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
(1.1.3) ตัวแปรค่าความแตกต่างของคะแนน O-NET ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างปีการศึกษา 2557 และ 2560 เป็นตัวแปรตาม ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบ Enter พบว่า ชุดของตัวแปรทำนายสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อย 69.6 (x̄ =.696)อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
(1.1.4) ตัวแปรค่าความแตกต่างของคะแนน GPA ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างปีการศึกษา 2557 และ 2560 เป็นตัวแปรตามผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบ Enter พบว่า ชุดของตัวแปรทำนายสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อย 22.8 ( x̄=.228)อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
(1.2) ด้านสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน
(1.2.1) ตัวแปรสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นตัวแปรตาม ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบ Enter พบว่า ชุดของตัวแปรทำนายสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ25.4 (x̄ = .254) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
(1.2.2) ตัวแปรสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นตัวแปรตาม ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบ Enter พบว่า ชุดของตัวแปรทำนายสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ58.8
( x̄= .588)อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติและเมื่อวิเคราะห์ด้วยการถดถอยพหุคูณ แบบ Stepwise พบว่า ตัวแปรด้านการบริหารจัดการสามารถทำนายตัวแปรค่าความแตกต่างของสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างปีการศึกษา 2557 และ 2560 ได้ 29.4 (x̄ =.294)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ ตัวแปรด้านหลักสูตรและการสอนสามารถทำนายตัวแปรค่าความแตกต่างของสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างปีการศึกษา 2557 และ 2560 ได้ 55.4 (x̄ =.554)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
(1.3) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
(1.3.1) ตัวแปรคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นตัวแปรตาม ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบ Enter พบว่า ชุดของตัวแปรทำนายสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ24.1 ( x̄= .241) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
(1.3.2) ตัวแปรคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นตัวแปรตาม ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบ Enter พบว่า ชุดของตัวแปรทำนายสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ55.5 ( x̄= .555) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(2) ด้านการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับบุคลากรของโรงเรียน พบว่า ตัวแปรด้านการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับบุคลากรของโรงเรียนเป็นตัวแปรตาม ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบ Enter พบว่า ชุดของตัวแปรทำนายสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ9.9 ( x̄= .099) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
(3) ด้านการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับชุมชน
(3.1) ตัวแปรการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสมาชิกในชุมชนเป็นตัวแปรตาม ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบ Enter พบว่า ชุดของตัวแปรทำนายสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ6.9 ( x̄= .069) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
(3.2) ตัวแปรความพึงพอใจของชุมชนเป็นตัวแปรตาม ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบ Enter พบว่า ชุดของตัวแปรทำนายสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ4.1 (x̄ = .041) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
ข้อเสนอแนะ
จากผลการวิจัยในการศึกษาภาพความสำเร็จของการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนนาหนังพัฒนศึกษา มีข้อค้นพบในกระบวนการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในด้านต่างๆ ดังนี้
1. สถานศึกษาควรจัดทำแผนการดำเนินงานในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา เพราะเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ โดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติในการทำงานและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Whole School Approach)นำมาสู่การขับเคลื่อนเป็นสถานศึกษาพอเพียงที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ(สปล.)เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการดำรงชีวิตอย่างพอเพียงและการจัดการศึกษาที่ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจนสามารถเป็นแบบอย่างให้แก่สถานสถานศึกษาพอเพียงอื่นๆ รวมถึงชุมชนและสังคมในวงกว้างได้
2. ผู้บริหารสถานศึกษา ควรให้การส่งเสริม สนับสนุนกระบวนการและปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ในสถานศึกษาโดยการบูรณาการเข้าสู่การเรียนการสอนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เป็นที่ทราบกันดีว่า การจัดการศึกษาเพื่อปลูกฝังค่านิยมและบ่มเพาะอุปนิสัยและคุณลักษณะ(Cultivating mindset and building character) ให้สัมฤทธิผลนั้น นอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว จำเป็นต้องมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (Enabling environment) ซึ่งรวมถึงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ วัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของสังคม (หรือค่านิยมร่วมขององค์กร/ชุมชน/สังคม) และแบบอย่างที่ดีในทางปฏิบัติ (Role Model)อีกทั้งควรทำการวิจัยผลการดำเนินงานด้วย