ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางสุจิตรา พงษ์วัน ตำแหน่งครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
2. เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้
3.1 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียน
ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ก่อนเรียนและหลังเรียน
3.2 เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
หลังเรียนได้เรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
4. เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีการสรุปผลการวิจัยตามขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 ผลการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ระยะที่ 2 ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ระยะที่ 3 ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ระยะที่ 4 ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ผลการวิจัย
จากการดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนการวิจัยในแต่ละระยะของการวิจัย ผู้วิจัยสามารถสรุปผลการวิจัยโดยมีรายละเอียดตามลำดับดังต่อไปนี้
1. ผลการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
1.1 องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือ ไม่เพียงแต่เป็นการแบ่งกลุ่มให้นักเรียนช่วยกันทำงานที่ได้รับ มอบหมายให้ประสบความสำเร็จเท่านั้น การเรียนรู้แบบร่วมมือจะต้องมีองค์ประกอบสำคัญครบ 6 ประการ ดังนี้
1.1.1 แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน
1. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้
2. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ
2.1 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
2.2 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์
2.3 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1.1.2 วัตถุประสงค์
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความคิดสร้างสรรค์
1.1.3 ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นเตรียม เป็นขั้นครูแนะนำทักษะในการเรียนรู้ร่วมกันและจัดเป็นกลุ่มย่อย
แจ้งวัตถุประสงค์ของบทเรียน และการทำกิจกรรมร่วมกัน และการฝึกฝนทักษะพื้นฐานจำเป็นสาหรับการทำกิจกรรมกลุ่ม
2. ขั้นสอนและเสนอบทเรียนต่อทั้งชั้น เป็นขั้นครูนำเข้าสู่บทเรียนแนะนำเนื้อหา แนะนำแหล่งข้อมูลและมอบหมายงานให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม
3. ขั้นทำกิจกรรมกลุ่ม เป็นขั้นที่ผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มย่อย โดยที่แต่ละคนมีบทบาทและหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย เป็นขั้นตอนที่สมาชิกในกลุ่มจะได้ร่วมกันรับผิดชอบต่อผลงานของกลุ่ม ในการทำกิจกรรมแต่ละครั้ง เทคนิคที่ใช้แต่ละครั้ง จะต้องเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการเรียน แต่ละเรื่อง ในการเรียนครั้งหนึ่ง ๆ อาจต้องใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือหลาย ๆ เทคนิคประกอบกันเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการเรียน
4. ขั้นทดสอบย่อย ขั้นนี้เป็นการตรวจสอบว่าผู้เรียนได้ปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วนแล้วหรือยัง ผลการปฏิบัติเป็นอย่างไร เน้นการตรวจสอบผลงานกลุ่มและรายบุคคล ในบางกรณีผู้เรียนอาจต้องเสริมสร้างส่วนที่ยังขาดตกบกพร่อง ต่อจากนั้นเป็นการทดสอบความรู้
5. ขั้นสรุป ครูและผู้เรียนช่วยกันสรุป บทเรียนถ้ามีสิ่งที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจครูควรอธิบายเพิ่มเติม ครูและผู้เรียนช่วยกันประเมินผลการทำงานกลุ่มและพิจารณาว่า อะไรคือจุดเด่นของงาน และอะไรคือสิ่งที่ควรปรับปรุง
1.1.4 ระบบสังคม
บทบาทครูผู้สอน : การวางแผนการจัดการเรียนการสอน การสอน การช่วยเหลือ
กลุ่ม และการประเมินผล วิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้
บทบาทผู้เรียน : ทำตามกิจกรรมการจัดการเรียนรู้และทำตามโครงสร้างเป็นลำดับขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
1.1.5 ระบบสนับสนุน
1. สิ่งแวดล้อมในการเรียนการสอน
2. แหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งในและนอกห้องเรียน
3. กิจกรรมกลุ่ม การมีส่วนร่วมจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ
1.2 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผู้วิจัยได้สังเคราะห์เป็นรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีที่ให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมแบบกลุ่มโดยมีการรวมกลุ่มที่ชัดเจน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย
1.2.1. ขั้นเตรียม เป็นขั้นครูแนะนำทักษะในการเรียนรู้ร่วมกันและจัดเป็นกลุ่มย่อย
แจ้งวัตถุประสงค์ของบทเรียน และการทำกิจกรรมร่วมกัน และการฝึกฝนทักษะพื้นฐานจำเป็นสาหรับการทำกิจกรรมกลุ่ม
1.2.2. ขั้นสอนและเสนอบทเรียนต่อทั้งชั้น เป็นขั้นครูนำเข้าสู่บทเรียนแนะนำเนื้อหา แนะนำแหล่งข้อมูลและมอบหมายงานให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม
1.2.3. ขั้นทำกิจกรรมกลุ่ม เป็นขั้นที่ผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มย่อย โดยที่แต่ละคนมีบทบาทและหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย เป็นขั้นตอนที่สมาชิกในกลุ่มจะได้ร่วมกันรับผิดชอบต่อผลงานของกลุ่ม ในการทำกิจกรรมแต่ละครั้ง เทคนิคที่ใช้แต่ละครั้ง จะต้องเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการเรียน แต่ละเรื่อง ในการเรียนครั้งหนึ่ง ๆ อาจต้องใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือหลาย ๆ เทคนิคประกอบกันเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการเรียน
1.2.4. ขั้นทดสอบย่อย ขั้นนี้เป็นการตรวจสอบว่าผู้เรียนได้ปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วนแล้วหรือยัง ผลการปฏิบัติเป็นอย่างไร เน้นการตรวจสอบผลงานกลุ่มและรายบุคคล ในบางกรณีผู้เรียนอาจต้องเสริมสร้างส่วนที่ยังขาดตกบกพร่อง ต่อจากนั้นเป็นการทดสอบความรู้
1.2.5. ขั้นสรุป ครูและผู้เรียนช่วยกันสรุป บทเรียนถ้ามีสิ่งที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจครูควรอธิบายเพิ่มเติม ครูและผู้เรียนช่วยกันประเมินผลการทำงานกลุ่มและพิจารณาว่า อะไรคือจุดเด่นของงาน และอะไรคือสิ่งที่ควรปรับปรุง
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม มีรายละเอียดดังนี้
2.1 แนวคิดพื้นฐาน รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม มีการศึกษาแนวคิดพื้นฐานในการพัฒนา ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และงานวิจัยที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากแนวคิดของ Joyce, Weil และ Calhoun (2011 : 83-101) ซึ่งได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วยคือ 1) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง 6) ระบบสนับสนุน
2.2 หลักการ ประกอบด้วย 1) รูปแบบการเรียนรู้นี้เป็นการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ และสามารถนำไปใช้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือนี้ให้อิสระแก่ผู้เรียนในการดำเนินกิจกรรมภายในกลุ่มย่อย ซึ่งแต่ละกลุ่มและแต่ละคนต้องรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง โดยครูผู้สอนคอยให้ความช่วยเหลือ
2.3 จุดมุ่งหมาย เพื่อ 1) พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 2) พัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน 3) พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
2.4 เนื้อหา ประกอบด้วย 1) สาระการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบและเขียนเว็บไซต์เบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
2.5 กิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) บทบาทผู้เรียน 2) บทบาทครูผู้สอน 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 4) สิ่งแวดล้อมในการเรียนการสอน แหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งในและนอกห้องเรียน
2.6 การวัดและประเมินผล ประกอบด้วย 1) ทดสอบความสามารถในการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 2) ประเมินความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 3) ประเมินคุณลักษณะอังพึงประสงค์ของผู้เรียน
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม พบว่า ในภาพรวมผู้เรียนให้ความสนใจกับบทเรียนมาก โดยหลังจากเรียนจบผู้เรียนยังซักถามเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนด้วยวิธีอื่นๆ อีก และเมื่อผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน และวิธีการเรียน ผู้เรียนมีความคิดเห็นว่า กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ น่าสนใจ ผู้เรียนชอบที่จะทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม ส่วนบรรยากาศการทำงานกลุ่ม พบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความกระตือรือร้นในการทำงาน โดยจะพูดคุยและให้ความช่วยเหลือกันในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี จะเห็นได้ว่าการจัดกลุ่มที่มีความเหมาะสม คือการมีสมาชิกจำนวน 4 คน ปัญหาที่พบคือ ผู้เรียนไม่คุ้นเคยกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ จึงทำให้ค่อนข้างจะสับสนในระยะแรก และไม่รู้ว่าควรจะทำอะไร เมื่อไร และจะทำกิจกรรมในใบงานอย่างไร ซึ่งครูแก้ปัญหาโดยเข้าไปอธิบายทีละกลุ่มแล้วถามกระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์ ซึ่งหลังจากทำไปได้สักระยะหนึ่ง ผู้เรียนจึงเข้าใจและสามารถดำเนินกิจกรรมตามรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ได้ในที่สุด
ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการออกแบบและเขียนเว็บไซด์เบื้องต้นของผู้เรียนก่อนและหลังการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 16.63 คะแนน และ 21.17 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนะสอบหลังเรียนของผู้เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับผลการประเมินความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่เรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี พบว่า ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์เท่ากับ 15.82 คะแนน และ 31.39 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนะสอบหลังเรียนของผู้เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สำหรับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความคิดเห็นว่า รูปแบบการเรียนรู้แบบนี้เป็นรูปแบบที่ดี ได้ทำงานกลุ่ม เป็นวิธีสอนที่ให้ทุกคนได้ร่วมมือกัน คนที่ไม่เก่งได้ทำงานกับคนเก่ง การฟังอธิบายจากเพื่อนทำให้กล้าซักถามในสิ่งที่ไม่เข้าใจ การทำงานกลุ่มเป็นสิ่งที่ได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ และทุกคนได้ร่วมมือกันในกลุ่ม และได้เรียนรู้จากต่างกลุ่มทำให้ได้แลกเปลี่ยนความคิดที่หลากหลาย
4. ผลการประเมินรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองเตาวิทยาคม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม พบว่า รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก