ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เน้นการสืบเสาะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐาน
ทางวิทยาศาสตร์และเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน
ชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้วิจัย นางทองระ สุขสันต์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านทรายทอง) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
จังหวัดนราธิวาส
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เน้นการสืบเสาะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาล ปีที่ 3 สรุปสาระที่ได้จากการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์ 4 ประการ (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เน้นการสืบเสาะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เน้นการสืบเสาะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ (4) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เน้นการสืบเสาะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยมีขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เน้นการสืบเสาะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เน้นการสืบเสาะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 (Implement : l) และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์เน้นการสืบเสาะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 (Evaluation : E) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t test (Independent Sample t test)
ผลการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เน้นการสืบเสาะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานได้รูปแบบการจัดประสบการณ์เน้นการสืบเสาะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
1.1 ขั้นจุดประกายแนวคิด (Stimulation) เป็นขั้นที่เด็กได้รับการกระตุ้นให้สนใจ ด้วยสื่อที่เป็นของจริง ภาพ นิทานที่เหมาะสมกับวัย โดยให้ใช้คำถามให้ค้นหาคำตอบเพื่อกระตุ้นให้เด็กใช้เหตุผลและสืบค้น แสวงหาความรู้เพื่อให้ได้คำตอบนั้น
1.2 ขั้นร่วมด้วยช่วยกันคิด (Cooperation) เป็นขั้นที่ให้เด็กทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก กลุ่มละ 4-5 คน เพื่อร่วมกันค้นหาคำตอบของกลุ่มจากการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น พิจารณา ข้อมูลที่ได้รับโดยใช้ประสาทสัมผัสในการสำรวจ สังเกต หรือทดลองและสรุปข้อมูล ซึ่งครูจะเข้าไปช่วยเหลือแนะนำเมื่อเด็กเกิดปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือ
1.3 ขั้นนำเสนอแนวความคิด (Presentation) เป็นขั้นที่เด็กนำเสนอผลการเรียนรู้ จากสิ่งที่ค้นพบโดยการออกมาเล่าหน้าชั้นเรียนจัดแสดงผลงานของกลุ่มบนป้ายนิเทศหรือ มุมแสดงผลงาน แลกเปลี่ยน เรียนรู้กับเพื่อนกลุ่มอื่น
1.4 ขั้นประยุกต์แนวคิดและนำไปใช้ (Application) เป็นขั้นที่เด็กนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ โดยครูใช้คำถามให้เด็กหาคำตอบจากเหตุการณ์ใหม่ที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์เดิมซึ่งเด็กตอบได้ หลากหลายวิธี เช่น การเล่าหรือสร้างผลงานใหม่ ครูสังเกตการให้เหตุผลของเด็ก ในการนำ ความรู้หรือประสบการณ์ที่ได้รับมาใช้ในสถานการณ์ใหม่
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์เน้นการสืบเสาะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด (มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00- 4.80) และความคิดเห็นของครูปฐมวัยต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์เน้นการสืบเสาะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีผลประเมินโดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 2.70, S.D. = 0.47)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เน้นการสืบเสาะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์เน้นการสืบเสาะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทำให้นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเพิ่มขึ้น
4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เน้นการสืบเสาะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้
1) นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความสามารถในทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หลังใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เน้นการสืบเสาะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ถือว่าผ่านเกณฑ์
2) นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เน้นการสืบเสาะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ถือว่าผ่านเกณฑ์
3) นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์เน้นการสืบเสาะเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ถือว่าผ่านเกณฑ์