ชื่อผลงานวิจัย เรื่อง การพัฒนาบุคลากรด้านการนิเทศภายในโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก
อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์
ผู้วิจัย นางลักษมี พายุหะ รองผู้อำนวยการโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก สพม.32
ปีพ.ศ. 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียน 2)สร้างคู่มือการดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียน 3)ประเมินคู่มือการนิเทศภายในโรงเรียนและ 4)พัฒนาบุคลากรโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี
กลุ่มเป้าหมาย การศึกษาแนวทางการดำเนินงานนิเทศภาย การจัดทำคู่มือ ประเมินคู่มือ กำหนดแบบเจาะจง เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการให้สัมภาษณ์ และประเมินคู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน จำนวน 5 คน แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาแนวทางการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียน ระยะที่ 2 การจัดทำคู่มือ และระยะที่ 3 ประเมินคู่มือ เครื่องมือที่ใช้ศึกษา แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินคู่มือการนิเทศภายในโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก
กลุ่มเป้าหมายพัฒนาบุคลากรโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี ตามกระบวนการ 5 ขั้นตอน ได้แก่ การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการพัฒนา การวางแผนและกำหนดทางเลือก การสร้างเครื่องมือและพัฒนาวิธีการ การปฏิบัติการนิเทศภายในโรงเรียน และการประเมินผลและรายงานผล โดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกต และการสะท้อนผล ดำเนินการพัฒนา 2 วงรอบ 2 กลยุทธ์ ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการดูแล กำกับ ติดตาม กลุ่มผู้ร่วมศึกษาวิจัย 6 คน ประกอบด้วย ผู้ศึกษาวิจัย 1 คน และกลุ่มผู้ร่วมศึกษา 5 คน ได้แก่ ครูหัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-2 ครูหัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3-4 ครูหัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5-6 ครูหัวหน้าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช) และครูหัวหน้างานวิชาการ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก วิทยากร และครูประจำการโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก จำนวน 102 คน เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบทดสอบวัดความรู้ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตการณ์ประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อการนิเทศภายใน และแบบประเมินผลการพัฒนาบุคลากรด้านการนิเทศภายใน การจัดกระทำและการตรวจสอบข้อมูลใช้เทคนิคการครวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า(Triangulation Technique) วิเคราะห์และนำเสนอผลการศึกษาวิจัยโดยวิธีพรรณาวิเคราะห์
ผลการวิจัย
1. ผลการวิจัยการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียน ของโรงเรียนละหานทรานรัชดาภิเษก อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า การนิเทศภายในโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก มีองค์ประกอบของการนิเทศ 5 ด้าน ดังนี้ 1)การศึกษาสภาพการดำเนินการนิเทศ 2)การวางแผนการนิเทศการศึกษา 3)การสร้างสื่อและเครื่องมือการนิเทศ 4)การปฏิบัติการนิเทศภายใน 5) การประเมินผลเพื่อการตัดสินใจ
2. ผลการพัฒนาคู่มือการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียน พบว่า คู่มือการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียน โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1 บทนำ 2 เนื้อหา 3 แนวทางการดําเนินการนิเทศภายในโรงเรียน 4 การใช้เครื่องมือการนิเทศ 5 เครื่องมือการนิเทศภายใน
3. ผลการประเมินคู่มือการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียน ด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.35 และ S.D. = 0.42) และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57 , S.D. = 0.34)
4. ผลการศึกษาวิจัยการพัฒนาบุคลากรด้านการนิเทศภาย โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ตามรูปแบบการนิเทศ 5 ขั้นตอน ผลการพัฒนาในวงรอบที่ 1 โดยใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการดูแล กำกับ ติดตาม พบว่า การพัฒนาบุคลากรด้านการนิเทศภายในของกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า มีระดับการพัฒนาอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.02) ผลการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อการนิเทศภายในของกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า ครูมีความพึงพอใจต่อการนิเทศภายในของกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.86) เห็นได้ว่ากลุ่มผู้ร่วมศึกษาวิจัยมีความรู้ความเข้าใจในการนิเทศภายในดีขึ้น และสามารถดำเนินการนิเทศภายในตามกระบวนการ 5 ขั้นตอนได้ แต่ยังมีบางขั้นตอนที่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ซึ่งยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะขั้นตอนในการประเมินและรายงานผลอยู่ในระดับการพัฒนาน้อย เพื่อสนองต่อความมุ่งหมายในการพัฒนาบุคลากรด้านการนิเทศภายในให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และสามารถดำเนินการนิเทศภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพในส่วนที่ยังไม่บรรลุเป้าหมายจึงได้ดำเนินการนำผลไปพัฒนาในวงรอบที่ 2 โดยใช้กลยุทธ์ ดูแล กำกับ ติดตาม พบว่า การพัฒนาบุคลากรด้านการนิเทศภายในของกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า มีระดับการพัฒนาอยู่ในระดับ มากที่สุด (X ̅= 4.53) ผลการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อการนิเทศภายใน ครูมีความพึงพอใจต่อการนิเทศภายในของกลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅=4.51) เชื่อได้ว่า กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้ามีความรู้ความเข้าใจและสามารถสรุปผลการประเมินและรายงานผลการนิเทศภายในได้ตามความมุ่งหมายที่กำหนดได้เป็นอย่างดี กระบวนการนิเทศภายในทั้ง 5 ขั้นตอนมีความถูกต้อง และสมบูรณ์ในทุกขั้นตอนของการพัฒนา โดยเฉพาะขั้นตอนการประเมินผลและรายงานผลมีการพัฒนามากขึ้น
สรุปว่า การพัฒนาบุคลากรด้านการนิเทศภายในโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ส่งผลให้ครูโรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษก สามารถจัดการเรียนการสอนได้มาตรฐานตามเกณฑ์คุณภาพ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ระดับน่าพอใจ การบริหารการศึกษา จึงควรส่งเสริมสนับสนุนกลยุทธ์ดังกล่าวไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรด้านการนิเทศภายในให้เกิดการพัฒนาด้านอื่นๆควบคู่กันไปด้วย