ชื่อเรื่อง การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปเรื่อง มหัศจรรย์แห่งน้ำและอากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา นายณัฐกรณ์ ไกรศรี
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 2 (สหกรณ์สมทบ) กองการศึกษาเทศบาลเมืองบัวใหญ่
อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การศึกษา คือ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปเรื่อง มหัศจรรย์แห่งน้ำและอากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตรงตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง มหัศจรรย์แห่งน้ำและอากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตรงตามเกณฑ์ 70 (3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง มหัศจรรย์แห่งน้ำและอากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ
(4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูป
เรื่อง มหัศจรรย์แห่งน้ำและอากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 (สหกรณ์สมทบ) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 22 คน ที่สุ่มด้วยวิธีแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ (1) บทเรียนสำเร็จรูป 8 เล่ม
(2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 8 ฉบับ ฉบับละ 10 ข้อ และแบบทดสอบประจำหน่วย 30 ข้อ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจ 15 ข้อ และ (4) แผนการจัดการเรียนรู้ 8 แผน สถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ ค่าดัชนีประสิทธิผล และค่าทดสอบ t-test ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้
1. บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง มหัศจรรย์แห่งน้ำและอากาศ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.38/84.55 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง มหัศจรรย์แห่งน้ำและอากาศ มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 74.90 สูงกว่าเกณฑ์ 70 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 74.90 หรือก้าวหน้าอยู่ในระดับดี
3. นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง มหัศจรรย์แห่งน้ำและอากาศ
มีคะแนนหลังการเรียนเฉลี่ยรวมและทั้ง 8 เล่ม สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูป
เรื่อง มหัศจรรย์แห่งน้ำและอากาศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด