ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ โดยใช้ ชุดการเรียน
รายวิชาประวัติศาสตร์ รหัส ส 21104 เรื่อง รอยถิ่นฐาน สืบตำนาน เผ่าภูไท
โดยใช้นวัตกรรม 4 ร
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางศุภาพิชญ์ อุดรสรรพ์
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างชุดการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง รอยถิ่นฐาน สืบตำนาน เผ่าภูไท ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ชุดการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดการเรียน รายวิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส 21104 เรื่อง รอยถิ่นฐาน สืบตำนานเผ่าภูไทสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 84.03/82.67 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ชุดการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส 21104 เรื่องรอยถิ่นฐาน สืบตำนาน เผ่าภูไท สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิผลตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
3. ชุดการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา ส 21104 รอยถิ่นฐาน สืบตำนานเผ่าภูไท สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยชุดการเรียน รายวิชาประวัติศาสตร์ รหัสวิชา
ส 21104 เรื่อง รอยถิ่นฐาน สืบตำนานเผ่าภูไท มีความพึงพอใจต่อการเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52
กิตติกรรมประกาศ
การวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ โดยใช้ ชุดการเรียน
รายวิชาประวัติศาสตร์ รหัส ส 21104 เรื่อง รอยถิ่นฐาน สืบตำนาน เผ่าภูไท
โดยใช้นวัตกรรม 4 ร โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สำเร็จสมบูรณ์ได้โดยความกรุณาเป็นอย่างยิ่งจาก
ขอขอบพระคุณ นายอานนท์ อินทรพาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ ที่ให้ความอนุเคราะห์องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำการวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้
ขอขอบคุณนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ จำนวน 120 คน
ที่ให้ความร่วมมือในการศึกษาค้นคว้าและทดลองครั้งนี้
สุดท้ายนี้ ผู้ศึกษาขอขอบพระคุณทุกท่านที่ไม่ได้เอ่ยนาม และมีส่วนช่วยในการวิจัยฉบับนี้
ศุภาพิชญ์ อุดรสรรพ์