บทสรุปการพัฒนา
การพัฒนาทักษะอาชีพนักเรียน ในประเด็นการพัฒนานั้นพบว่าความสำเร็จในการพัฒนาทักษะอาชีพนักเรียน ครูผู้สอนต้องมีความรู้ความเข้าใจมีทักษะอาชีพ มีความสามารถในการศึกษาค้นคว้าเพื่อนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้าพเจ้าในฐานะผู้บริหารจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้นักเรียนมีทักษะอาชีพสามารถนำความรู้ไปประยุคต์ใช้ในชีวิตประจำวันและหารายได้ นำไปประกอบอาชีพต่อไป โดยสามารถต่อยอดสู่อาชีพใหม่ๆตรงกับความต้องการของตนเองได้ในอนาคตภายใต้ กิจกรรม ๖ กิจกรรม ได้แก่ งานจักสานไม้ไผ่ งานทำไม้กวาดดอกหญ้า งานทำขนม งานทำน้ำยาล้างจาน การเลี้ยงไก่ไข่ การเพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้า เพื่อให้เกิดการพัฒนากลุ่มเป้าหมายนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ ๑ ๓ โรงเรียนเลยตาดโนนพัฒนา โดยใช้ระยะเวลาการพัฒนา ๓ เดือนคือเดือน กรกฎาคม - กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนาทักษะอาชีพนักเรียนสู่ความพอเพียง เป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย( )ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการพัฒนาพบว่า
ด้านปริมาณ
๑. ประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการโดยผลการประเมินโดยภาพรวมพบว่าผลการประเมิน
โครงการพัฒนาทักษะอาชีพนักเรียนสู่ความพอเพียงโรงเรียนเลยตาดโนนพัฒนา โดยภาพรวมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด( =๔.๘๓,S.D.=๐.๒๗)คิดเป็นร้อยละ ๙๖.๖๐ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ๓.๕๑ ความพึงพอใจเกี่ยวกับผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด ( =๔.๘๗,S.D.=๐.๓๓) คิดเป็นร้อยละ ๙๗.๔๐ สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ๓.๕๑
๒. ผลการพัฒนาการทักษะอาชีพนักเรียน สู่ความพอเพียง พบว่านักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนเลยตาดโนนพัฒนาร้อยละ ๑๐๐ เข้าร่วมกิจกรรมทักษะอาชีพนักเรียน สู่ความพอเพียง ซึ่งบรรลุเป้าหมายเชิงปริมาณที่ตั้งไว้ คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนเลยตาดโนนพัฒนาไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐๐ เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาทักษะอาชีพนักเรียน สู่ความพอเพียง
๓. ผลการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน พบว่าโรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย
ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนักเรียนสามารถเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับตัวเองได้ ตามที่กำหนดไว้ ๖ ฐานเรียนรู้ ได้แก่ ฐานการเรียนรู้กิจกรรมการจักสานไม้ไผ่ ฐานการเรียนรู้กิจกรรมการทำไม้กวาดดอกหญ้า ฐานการเรียนรู้กิจกรรมการทำขนม ฐานการเรียนรู้กิจกรรมการทำน้ำยาล้างจาน ฐานการเรียนรู้กิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ ฐานการเรียนรู้กิจกรรมการเพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้า
ด้านคุณภาพ
๑. ผลการพัฒนาทักษะอาชีพนักเรียนสู่ความพอเพียงและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ นักเรียนเข้า
เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน ครบทุกคน โรงเรียนมีการพัฒนาทักษะอาชีพนักเรียนและแหล่งเรียนรู้ ที่หลากหลายต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีการบูรณาการการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนสามารถเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับความถนัดและความต้องการของตัวเอง โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลายต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยมีแหล่งเรียนรู้ ครบทุกคน ตามที่กำหนดหนดไว้ ได้แก่ แหล่งเรียนรู้การจักสานไม้ไผ่ แหล่งเรียนรู้การทำไม้กวาดดอกหญ้า แหล่งเรียนรู้การทำขนม แหล่งเรียนรู้การทำน้ำยาล้างจาน แหล่งเรียนรู้การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ แหล่งเรียนรู้การเพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้า โดยภาพรวมพบว่า ทุกกิจกรรมมีการปฏิบัติโดยมีนักเรียนร่วมทั้งหมด โดยแบ่งนักเรียนตามความสนใจและกำหนดให้เข้ากิจกรรมพร้อมกันในชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้และกิจกรรมชุมนุม มีการนำผลที่เกิดจากทักษาชีพสู่ความพอเพียงขยายผลสู่ครอบครัวและชุมชรพร้อมกับขยายผลสู่โรงเรียนใกล้เคียงซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้
๒. ผลการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การบริหารจัดการ การปฏิบัติ
หน้าที่และนักเรียนมีอุปนิสัยพอเพียง พบว่า โรงเรียนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การบริหารจัดการไดยการประชุมวางแผนการดำเนินที่ดี มีการกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าประสงค์ในการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม สู่การปฏิบัติหน้าที่ของคณะครูและนักเรียนให้มีอุปนิสัยพอเพียง ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง