การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ ALSACA Model เพื่อส่งเสริมเพื่อส่งเสริมความซื่อสัตย์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) อ. เมือง จ.ยะลา มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ ALSACA Modelเพื่อส่งเสริมความซื่อสัตย์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์แบบ ALSACA Modelเพื่อส่งเสริมความซื่อสัตย์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดประสบการณ์แบบ ALSACA Modelก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ ALSACA Modelเพื่อส่งเสริมความซื่อสัตย์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3
การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งมีขั้นตอนดำเนินงานตามกรอบวิธีการวิจัย (Research Framework ) ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ และขั้นตอนที่ 4 การประเมินความพึงพอใจของเด็กที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ ALSACA Modelเพื่อส่งเสริมความซื่อสัตย์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กระดับปฐมวัยชาย หญิงที่มีอายุระหว่าง 5 - 6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล ๔ (ธนวิถี) อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 1 ห้อง จำนวน 33 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งเป็นห้องเรียนที่ผู้วิจัยทำการสอน ทำการทดลองโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ที่พัฒนาขึ้น จำนวน 10 สัปดาห์ ใช้แบบแผนการวิจัย แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบ ก่อนหลัง (One group Pretest - Postest Design ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความซื่อสัตย์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 และแบบสังเกตพฤติกรรมความซื่อสัตย์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3
และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที (t-test แบบ dependent)
สรุปผลการการวิจัย
1. ผู้เชี่ยวชาญทุกท่านเห็นด้วยและให้ความสําคัญกับการพัฒนาความซื่อสัตย์ในระดับเด็ก ปฐมวัย เพราะเป็นวัยที่มีความสําคัญในการพัฒนาจริยธรรมเพราะเป็นระยะที่สําคัญที่สุดของ การ พัฒนาในทุกด้าน ซึ่งเด็กจะซึมซับสิ่งต่างๆ รอบตัวได้ง่าย ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เด็กได้รับจะมี อิทธิพลต่อการพัฒนาจริยธรรม ควรเน้นพัฒนาด้านความซื่อสัตย์ด้วยการพูดความจริงไม่โกหก ไม่ลักขโมย รักษาคําพูด ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ไม่เอาของคนอื่นมาเป็นของตนเอง มีความยุติธรรม ควรมีวิธีการจัดประสบการณ์ที่หลากหลายจัด ประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม และการเป็นแบบอย่างของครูเป็นสําคัญ เพราะเป็นการสอนแบบธรรมชาติโดยไม่รู้ตัว เด็กเกิดการเรียนรู้ตาม ธรรมชาติ ดังนั้นครูจึงต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งบุคลิกภาพและการกระทํา และคําพูด
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ ALSACA Modelเพื่อส่งเสริมความซื่อสัตย์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 องค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ สาระ กระบวนการจัดประสบการณ์ และการประเมินผล โดยรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการสําคัญ 6 ขั้นตอน ตามกระบวนการ ALSACA Model คือ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ (Attention) ขั้นที่ 2 ขั้นสนุกหรรษาเรียนรู้ร่วมกัน (Learning) ขั้นที่ 3 ขั้นเสนอความคิดจิตประสาน (Sharing) ขั้นที่ 4 ขั้นสร้างสรรค์การแสดง (Acting) ขั้นที่ 5 ขั้นสรุป (Conclusion) ขั้นที่ 6 ขั้นสุขใจนำไปใช้ (Application) โดยภาพรวมมีความเหมาะสมมาก และคู่มือการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์มีคุณภาพในระดับมาก ส่วนแผนการจัดประสบการณ์มีคุณภาพในระดับมากที่สุด สามารถนําไปใช้จัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมความซื่อสัตย์ได้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบแบบ ALSACA Model เพื่อส่งเสริมความซื่อสัตย์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่า ความซื่อสัตย์สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ ALSACA Model เพื่อส่งเสริมความซื่อสัตย์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 พบว่า ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการเรียน จะเห็นได้จากเด็กอยากเรียนรู้และมีความสนใจใน กิจกรรมที่ครูจัดให้ เด็กได้ร่วมกิจกรรมกับครู โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย สนองตอบความ ต้องการของตนเอง และยังส่งเสริมความซื่อสัตย์ให้กับเด็กปฐมวัยด้วย