นวัตกรรม "การขับเคลื่อนกระบวนการ PLC ในโรงเรียนคลองลาดกระบัง" เป็นนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ในโรงเรียนคลองลาดกระบัง โดยใช้กระบวนการ PLC ในการขับเคลื่อน ดังนี้
1) มีกระบวนการกลุ่มที่มีลักษณะคล้าย ๆ กันของกลุ่มครูตามลักษณะงาน แต่ละกลุ่มมีสมาชิก 6 8 คน โดยผู้บริหารและศึกษานิเทศก์ หมุนเวียนเข้ากลุ่มทุกกลุ่ม ใช้เวลาสัปดาห์ละ 2 3 ชั่วโมง ในการเข้ากลุ่ม โดยมีการโดยใช้ ICT ระหว่างการดำเนินการ
2) บทบาทของบุคคลในการทำ PLC
(1) ผู้อำนวยความสะดวก รักษาระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิก ควบคุมประเด็นการพูดคุย ยั่วยุให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น
(2) สมาชิก เปิดใจรับฟังและเสนอความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์
รับแนวทางไปปฏิบัติและนำผลมาเสนอ พร้อมต่อยอด
(3) ผู้บันทึก สรุปประเด็นการสนทนาและแนวทางการแก้ปัญหา พร้อมบันทึก Logbook
(4) กลุ่มร่วมกันคิด ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน หาปัญหาสำคัญที่สุด หาสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดปัญหา จากนั้นกลุ่มอภิปรายหาสาเหตุที่แท้จริง เน้นไปที่การสอนของครูเป็นอันดับแรก จากนั้นหาแนวทางแก้ไข ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน ที่สำคัญว่าจะแก้ไขอย่างไร ค้นหาสาเหตุของปัญหา แนวทางแก้ปัญหา แล้วนำแนวทางที่สรุปเพื่อนำไปแก้ไขปัญหา มาช่วยกันสร้างงาน สร้างแผนงาน เลือกการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning: PBL)
(5) นำแผนที่ร่วมกันคิดไปใช้ตามกำหนดการทำงาน นำเสนอในช่องทางต่าง ๆ เช่น Line และ Facebook ของโรงเรียน
(6) นำผลมาสรุปสุดท้าย ร่วมกันสะท้อนและปรับปรุงงานให้ดีขึ้น เผยแพร่ในแหล่งต่าง ๆ
ผลการใช้นวัตกรรม ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและโรงเรียนได้รับรางวัลจากความสามารถของนักเรียนเพิ่มขึ้นหลายรายการ