การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อประเมินทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้7E เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์เรื่อง ความน่าจะเป็น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม(Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ 7E เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 28 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อ ความน่าจะเป็น แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ 7E เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ (%), ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ( x̄), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติ t-test (Dependent)
ผลการวิจัย พบว่า
1.แบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.59/83.08 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง ( x̄= 3.84, S.D.= 0.04)
4.นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ 7E เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.74, S.D. = 0.11)