วิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ โครงงานสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนา
ทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย เกษสุนีย์ ตู้สุพรรณ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
โรงเรียน บ้านคลองลึกพัฒนา
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โครงงานสะเต็มศึกษา
เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์
3 ประการประกอบด้วย 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โครงงาน
สะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ตามเกณฑ์ เท่ากับ 75/75 2) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้โครงงานสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้โครงงานสะเต็มศึกษา
เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งมีวิธีการดำเนินการศึกษาเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โครงงานสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ เท่ากับ75/75 โดยให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน พิจารณาความเหมาะสมในองค์ประกอบต่างๆ ของชุดกิจกรรม แล้วนำชุดกิจกรรมไปทดลองใช้กับนักเรียน 14 คน เพื่อหาประสิทธิภาพของ
ชุดกิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)
และค่า E1/E2
ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาผลการทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้โครงงานสะเต็มศึกษา
เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนบ้านคลองลึกพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 2 จำนวน 21 คน โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนหลัง (One – Group Pretest – Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โครงงานสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 และแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว (One sample t–test) และสถิติทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างสัมพันธ์กัน (Dependent samples t–test)
ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้แผนการจัดการ
เรียนรู้โครงงานสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 21 คน ที่เรียนโดยใช้
แผนการจัดการเรียนรู้โครงงานสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าคือแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)
ผลการศึกษาพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้โครงงานสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะ
การคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความเหมาะสมในองค์ประกอบต่างๆ ของแผนการจัดการเรียนรู้ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.38/76.56 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด32) นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์
หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้โครงงานสะเต็มศึกษา
เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22