ชื่อเรื่อง การจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐาน
ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ผู้ศึกษา นางสาวนวพร ขันสิงห์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนเทศบาลท่าโขลง 1
ปีที่ศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับคะแนนพฤติกรรมทางสังคมและการพัฒนาจริยธรรมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กนักเรียนชาย – หญิง ที่มีอายุ 5 – 6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลศรีธาตุ ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย 1 ห้องเรียนจาก 3 ห้องเรียน และสุ่มนักเรียนจากห้อง ที่เลือกได้มาจำนวน 15 คน ใช้เป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน ๆ ละ 30 นาที รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 24 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการค้นคว้า คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา 2)แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคม และ 3)แบบทดสอบการพัฒนาจริยธรรม ของเด็กปฐมวัย ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น โดยใช้ผู้สังเกต 2 คน ได้ค่าความเชื่อมั่นของผู้สังเกต RAI เท่ากับ 0.9 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (One –way Repeated-Measure ANOVA) และ t – test แบบ Dependent Sample
ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยก่อนการจัดกิจกรรม และระหว่างการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา ในแต่ละช่วงสัปดาห์ มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมทางสังคม โดยเฉลี่ยรวมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P < .01 และเมื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงระหว่างช่วงสัปดาห์ พบว่า คะแนนพฤติกรรมทางสังคมโดยเฉลี่ยรวม มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเพิ่มขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 1, 5, 6 และ 7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P < .01 เมื่อวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย แยกเป็นรายด้าน ได้แก่ การช่วยเหลือ การแบ่งปัน การยอมรับผู้อื่น โดยค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมทางสังคม ด้านการช่วยเหลือมีการเปลี่ยนแปลง ในทางที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ 1, 5, 6 และ 7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P < .01 ส่วนด้านการแบ่งปันและ การยอมรับ มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ 5, 6 และ 7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ P < .01 ยกเว้นบางช่วงสัปดาห์ มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
สรุปผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาส่งเสริมให้พฤติกรรมทางสังคมและการพัฒนาจริยธรรมของเด็กปฐมวัยโดยรวมและรายด้านสูงขึ้นอย่างชัดเจน และเด็กปฐมวัยหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมเกมศึกษา มีการพัฒนาจริยธรรม หลังการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับดีมาก แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระ