การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พระไตรปิฎกเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
(2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พระไตรปิฎกเบื้องต้น ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พระไตรปิฎกเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ(4).เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พระไตรปิฎกเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) สังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1/2559 ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster random sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน 25 คน โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม (Sampling Unit) ระยะเวลาที่ใช้ 7 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง แบบแผนการวิจัย แบบ One Group Pretest Posttest Design
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมด้านความต้องการเกี่ยวกับเนื้อหาและแบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พระไตรปิฎกเบื้องต้น 2) แบบประเมินเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พระไตรปิฎกเบื้องต้น 3) เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พระไตรปิฎกเบื้องต้น ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 7 เล่ม 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 5. แผนการจัดการเรียนรู้
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ(%)ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)การทดสอบสมมุติฐาน t-test dependentและการวิเคราะห์เนื้อหา(content Analysis)
สรุปผลการวิจัย
1. ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พระไตรปิฎกเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ครูผู้สอนและผู้เชี่ยวชาญต้องการให้มีการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พระไตรปิฎกเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีเนื้อหาเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก มีภาษาที่เข้าใจง่าย มีภาพประกอบ มีการจัดการเรียนการสอนเป็นรายบุคคลโดยให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองและมีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ตามความแตกต่างของบุคคล
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พระไตรปิฎกเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิ์ภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 เท่ากับ 81.43/83.08
3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พระไตรปิฎกเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ทุกชุด
4. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ร่วมกับเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พระไตรปิฎกเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความคิดเห็นว้าอกสารประกอบการเรียน เรื่อง พระไตรปิฎกเบื้องต้น ชุดนี้ ช่วยให้นักเรียนเข้าใจในบทเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด