ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนาการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการหาพื้นที่ผิวและปริมาตรรูปทรงเรขาคณิตสามมิติเบื้องต้น โดยใช้เทคนิค KWDL ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ
ผู้วิจัย กล้าเกื้อ เวียงแก้ว
สถานที่ โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2560
บทคัดย่อ
รูปแบบการพัฒนาการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการหาพื้นที่ผิวและปริมาตร รูปทรงเรขาคณิตสามมิติเบื้องต้น โดยใช้เทคนิค KWDL ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการหาพื้นที่ผิวและปริมาตรรูปทรงเรขาคณิตสามมิติเบื้องต้น โดยใช้เทคนิค KWDL ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องการหาพื้นที่ผิวและปริมาตรรูปทรงเรขาคณิตสามมิติเบื้องต้น โดยใช้เทคนิค KWDLชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการหาพื้นที่ผิวและปริมาตร รูปทรงเรขาคณิตสามมิติเบื้องต้น โดยใช้เทคนิค KWDL ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 ของโรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการหาพื้นที่ผิวและปริมาตรรูปทรงเรขาคณิตสามมิติเบื้องต้น โดยใช้เทคนิค KWDL ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 แผน 2) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการหาพื้นที่ผิวและปริมาตรรูปทรงเรขาคณิตสามมิติเบื้องต้น โดยใช้เทคนิค KWDLชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 5 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการหาพื้นที่ผิวและปริมาตรรูปทรงเรขาคณิตสามมิติเบื้องต้น โดยใช้เทคนิค KWDLชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการหาพื้นที่ผิวและปริมาตรรูปทรงเรขาคณิตสามมิติเบื้องต้น โดยใช้เทคนิค KWDLชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย
1. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการหาพื้นที่ผิวและปริมาตรรูปทรงเรขาคณิตสามมิติเบื้องต้น โดยใช้เทคนิค KWDL ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า
1.1 องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการหาพื้นที่ผิวและปริมาตรรูปทรงเรขาคณิตสามมิติเบื้องต้น โดยใช้เทคนิค KWDL ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1.1.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 1.1.2 ขั้นดำเนินการสอน ใช้เทคนิค KWDL ประกอบด้วย 4 ขั้น 1) หาสิ่งที่รู้เกี่ยวกับโจทย์2) หาสิ่งที่ต้องการรู้เกี่ยวกับโจทย์ 3) ดำเนินการแก้โจทย์ปัญหา 4) สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียน 1.1.3 ขั้นฝึกทักษะ นักเรียนทำแบบฝึกหัดจากแบบเรียน 1.1.4 ขั้นสรุปบทเรียนและประเมินผล
1.2 กระบวนการในรูปแบบการพัฒนาการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการหาพื้นที่ผิวและปริมาตรรูปทรงเรขาคณิตสามมิติเบื้องต้น โดยใช้เทคนิค KWDL ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ เป็นกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งมีผล การดำเนินการ 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน (Research : R1) ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม (Development : D1) ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้ (Research : R2)ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุง (Development : D2)
1.3 ค่าประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการหาพื้นที่ผิวและปริมาตรรูปทรงเรขาคณิตสามมิติเบื้องต้น โดยใช้เทคนิค KWDLชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน เท่ากับ 78.72/85.28 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ E1/E2 เท่ากับ 75/75
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการหาพื้นที่ผิวและปริมาตรรูปทรงเรขาคณิตสามมิติเบื้องต้น โดยใช้เทคนิค KWDL ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 25.53 คิดเป็นร้อยละ 63.82 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 34.11 คิดเป็นร้อยละ 85.28 แสดงว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการหาพื้นที่ผิวและปริมาตร รูปทรงเรขาคณิตสามมิติเบื้องต้น โดยใช้เทคนิค KWDL ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า โดยภาพรวมความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับมาก ( =4.34) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.=0.65)