STEAM พหุศิลป์ บนแผ่นดินพ่อ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
นางสาวศศิประภา สูงขาว
๑. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
ด้วยพระมหากรุณาอันล้นพ้นจนหาที่สุดมิได้ พ่อในหลวง คำที่ชาวเขาเผ่าม้งทุกคนเรียก ในหลวง รัชกาลที่ ๙ วันนับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสวรรคต ยังคงความเสียใจให้กับประชาชนชาวไทยอย่างใหญ่ยิ่ง แต่เหนือสิ่งอื่นใด พระองค์ท่านได้ทิ้งสิ่งของที่ล้ำค่าไว้ให้พวกเราอย่างมากมาย อาทิ คำสอน และสิ่งที่พระองค์ทรงทำไว้ให้เป็นแบบอย่าง พระเมตตาของพระองค์ยังแผ่ไพศาลไปยังชาวเขาเผ่าเล็กๆในทุกพื้นที่ อย่างชาวเขาเผ่าม้งและเผ่าลั๊วะ ใน จ.น่าน ก็เช่นกัน และตั้งแต่วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๑ ถึงวันที่ วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๕ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงเสด็จพระราชดำเนิน จ.น่านถึง ๒๒ ครั้ง โดยเสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมทหารที่ รพ.น่าน และ ทรงเสด็จมาที่ หมู่บ้านถ้ำเวียงแก อ. สองแคว ถึง ๔ ครั้ง ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ จากการเสด็จเยือนในพื้นที่อำเภอสองแควก็ดังคำกล่าวที่ว่า หยาดเหงื่อพระองค์ท่านหยดลงหนแห่งใดถิ่นนั้นย่อมเกิดความเจริญงอกงาม พื้นที่แห่งพหุวัฒนธรรมถือกำเนิดเกิดขึ้นเมื่อกลุ่มชาติพันธ์ทั้ง ๖ ชนเผ่าในพื้นที่อำเภอสองแคว ได้แก่ ชนเผ่าม้ง เมี่ยน ถิ่น ก่อ ไทลื้อ และชนเผ่าขมุ ได้มีหลักในการยึดเหนี่ยวจิตใจ มีหัวใจดวงเดียวกัน ตามรอยพ่อในหลวง ทรงเป็นแบบอย่างการดำเนินชีวิต การชี้แนะแนวทางแห่งผลสำเร็จให้แก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า ได้เกิดการพัฒนาทั้งด้านเทคโนโลยี วิศวกรรม วิทยาศาสตร์และก็ไม่ละทิ้งความเป็นวัฒนธรรมอันดีงามของปวงชนชาวไทย
โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก เป็น ๑ ในอีก ๓๓ โรงเรียนทั่วประเทศที่กำเนิดเกิดขึ้นจากรัฐบาลจัดตั้งโรงเรียนระดับสามัญศึกษาเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ในรัชกาลที่ ๙ เป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้น เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานยิ่งกว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช ซึ่งทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยที่เคยครองราชย์ยาวนานที่สุด นับตั้งแต่วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ถึงวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นเวลา ๔๒ ปี ๒๓ วัน เป็นโรงเรียนประจำอำเภอที่มีเขตพื้นที่บริการทั้ง ๓ ตำบล มีกลุ่มชาติพันธ์ชนเผ่าอาศัยอยู่ร่วมกัน ๖ ชนเผ่า มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และวิถีชีวิตค่านิยมสืบต่อมา
บนแผ่นดินพ่อในหลวง ทรงให้ความสำคัญกับการศึกษาถือเป็นอาวุธสำคัญในการพัฒนา ดังความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๖ ว่า ต้องพัฒนาอาชีพความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นอาชีพไม่ใช่เพียงแต่ปลูกผัก ถั่ว งาให้หลานเฝ้า แต่เป็นเรื่องของความอยู่ดีกินดี ความรู้การศึกษาที่กล่าวว่า ต้องช่วยให้การศึกษาดีขึ้น เพราะถ้าการศึกษาไม่ดี คนไม่สามารถทำงาน การศึกษาต้องได้ทุกระดับ ถ้าพูดถึงระดับสูง หมายความว่า นักวิทยาศาสตร์ขั้นสูง ถ้าไม่มีการเรียนขั้นประถม อนุบาล ไม่มีทางที่จะให้คนไทยขึ้นไปเรียนขั้นสูง หรือเรียนขั้นสูงไม่ดี ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็ยังไม่ดี เพราะขั้นสูงนั้นต้องมีรากฐานจากขั้นต่ำ ถ้าไม่มีก็เรียนขั้นสูงไม่รู้เรื่อง การศึกษาสำคัญกับทุกกลุ่มคน ทุกหย่อมหญ้า ที่ควรได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงทั้งนี้การศึกษาไทยเป็นไปตามรูปแบบการเรียนรู้ นวัตกรรมที่แปลกใหม่ นำเข้ามาเสริมสร้างและพัฒนาการศึกษาไทยให้เทียบเท่าตามมาตรฐานระดับสากล เช่น การศึกษาแบบนานาชาติ การศึกษาทวิภาคี การศึกษารูปแบบ IS การศึกษารูปแบบ STEM ศึกษา รวมไปถึงในด้านของสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่นั้นส่วนมากแล้วจะเป็นสื่อที่มีการนำนวัตกรรมเทคโนโลยี ITC ต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความสนใจ อยากที่จะเรียนมากขึ้น อย่างเช่น สื่อ CAI บทเรียนออนไลน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ด้วยความก้าวหน้าทางการศึกษาดังกล่าว ผู้เสนอผลงานได้นำความรู้ในรูปแบบของศาสตร์และศิลป์มาบูรณาการร่วมกัน โดยให้ชื่อว่า STEAM ศึกษา ต่อยอดพัฒนามาจากการเรียนรู้แบบ STEM สะเต็มศึกษา(Science Technology Engineering and Mathematics Education:STEM Education) คือ แนวทางการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ไปใช้ในการเชื่อมโยงและแก้ปัญหา ในชีวิตจริง ( เอกสาร สะเต็มศึกษา สสวท.2014) รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และบรูณาการกับ ศิลปะ (ART) สอดแทรกแนวความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมที่แปลกใหม่เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ มีความแตกต่างจากการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ เนื่องจากกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการทางศิลปะ ชื่นชมความงาม มีสุนทรียภาพ ความมีคุณค่า ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์ กิจกรรมทางศิลปะช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม ตลอดจนการนำไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ชุมชนท้องถิ่นส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง อันเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพได้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : 182 ผู้เสนอผลงานจึงมีแนวคิดต่อยอด เป็นนวัตกรรมการศึกษาที่ชื่อว่า STEAM พหุศิลป์ บนแผ่นดินพ่อ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ เพื่อใช้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในการดำเนินชีวิตร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมต่อไป
๒. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
๒.๑ จุดประสงค์
๑. เพื่อสร้างและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ บูรณาการ STEAM ศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
๒. เพื่อเสริมทักษะ การบรูณาการโดยสอดแทรกความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กับกลุ่มสาระวิชาอื่นๆ ได้หลากหลายรูปแบบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
๓. เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ STEAM สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
๒.๒ เป้าหมาย
๑) เชิงปริมาณ
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๓๒ คน
- แผนการจัดการเรียนรู้ STEAM ศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน
๖ แผน
๒) เชิงคุณภาพ
- จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ STEAM ศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากขึ้นไป
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ มีคะแนนทักษะการสร้างสรรค์งานศิลปะ สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ร้อยละ ๘๐
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาทีที่ ๔ มีทักษะการบรูณาการโดยสอดแทรกความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กับกลุ่มสาระวิชาอื่นได้ร้อยละ ๘๐
- นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ STEAM ศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ อยู่ในระดับมากที่สุด
๓. การดำเนินงาน
3.1 ขั้นตอนการดำเนินงาน Flow Chart
แผนภาพแสดงขั้นตอนการดำเนินงาน
3.2 รายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงาน
๑. ศึกษาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน
๒. ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
๓. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษารูปแบบ STEM ศึกษา ผลสัมฤทธิ์จากการเรียนการสอนในรูปแบบ STEM ศึกษา และแบบวัดความพึงพอใจ อย่างละเอียด
๔. กำหนดวัตถุประสงค์การศึกษา
๕. สุ่มตัวอย่างที่จะใช้ในการวิจัย โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling ) ได้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ โรงเรียนไตเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก จำนวน ๓๒ คน ประกอบด้วยนักเรียนชาย ๑๓ คน และนักเรียนหญิง ๑๙ คน
๖. สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่
๖.๑ แผนการจัดการเรียนรู้ STEAM ศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔จำนวน ๖ แผน แผนละ ๒ ชั่วโมง
๖.๒ แบบประเมินแผนความพึงพอใจ ในการจัดการเรียนรู้ STEAM ศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๑๐ ข้อ โดยกำหนดระดับคะแนนแบบแบบประเมินความพึงพอใจเป็น ๕ ระดับ
๗. การเก็บรวบรวมข้อมูล
๗.๑ ใช้แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบ STEAM ศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ที่ผ่านจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน
๗.๒ นักเรียนประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบ STEAM ศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยนักเรียนเป็นผู้ประเมินตนเอง
๘. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล
๙. สรุปผล และอภิปรายผลการดำเนินการที่สอดคล้องตามวัตถุประสงค์การศึกษา
๔. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
๔.๑ ได้แผนการจัดการเรียนรู้ STEAM ศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยรวมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.76 ซึ่งมีความเหมาะสมมากที่สุด
๔.๒ นักเรียนมีคะแนนทักษะ การบรูณาการโดยสอดแทรกความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กับกลุ่มสาระวิชาอื่นๆ ได้หลากหลายรูป คิดเป็นร้อยละ 88.31
๔.๓ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อ การจัดการเรียนรู้ STEAM ศึกษา โดยรวมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.69 ซึ่งมีความพึงพอใจมากที่สุด
๕. ปัจจัยความสำเร็จ
๕.๑ นักเรียน
๑.นักเรียนเห็นคุณค่าและความสำคัญของการเรียนโดยการบรูณาการโดยสอดแทรกความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กับกลุ่มสาระวิชาอื่นๆ ได้หลากหลายรูป
๒.นักเรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้รูปแบบใหม่ๆ ผ่านกระบวนการบูรณาการ คิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ อย่างหลากหลายรูปแบบ ทางความคิด ในรายวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) และรายวิชาอื่นๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เทคโนโลยี เป็นต้น
๓. นักเรียนมีศักยภาพด้านศิลปะสูงขึ้น ผ่านการฝึกคิด ใช้สมองในการเรียนรู้ และปฏิบัติกิจกรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้านอื่นๆ
๔. นักเรียนพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของตนเองให้สูงขึ้น นำไปสู่การเรียนรู้ คิดค้น และประดิษฐ์สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ สามารถเป็นตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันด้านศิลปะประเภทต่างๆ ได้เป็นอย่างดีและประสบความสำเร็จ
๕. นักเรียนเกิดความเชื่อมั่น ความพึงพอใจต่อความสามารถของตนเอง กล้าเผชิญหน้า และแก้ปัญหาต่างๆ โดยใช้กระบวนการบูรณาการได้อย่างดี
๕.๒ ครูผู้สอน
๑. ครูตระหนักและเห็นคุณค่าของการจัดกิจกรรมเชิงบูรณาการ รูปแบบ STEAM ศึกษา ซึ่งมีความสำคัญต่อกระบวนการเรียนการสอน และพัฒนาศักยภาพของนักเรียนในทุกด้าน
๒. เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ และนักการศึกษาทั่วไป ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้น่าสนใจ แปลกใหม่ ตอบสนองความต้องการของนักเรียนในแต่ละวัย และกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด
๕.๓ ผู้ปกครอง
๑. ผู้ปกครองตระหนักและเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับสาระวิชาอื่นๆ หรือการมีส่วนร่วมกับทางชุมชน ท้องถิ่น ปราชญ์ แก้ไขปัญหา และปรับใช้ในการดำเนินชีวิต ของนักเรียน
๒. ผู้ปกครองส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ในรูปแบบของการบูรณาการร่วมกัน ทั้งในโรงเรียนและบ้าน อย่างหลากหลาย
๕.๔ สถานศึกษา
๑. ผู้บริหารสนับสนุนและส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบ STEAM ศึกษา
๒. ผู้บริหารสถานศึกษามีการควบคุม ติดตาม และนิเทศ อย่างจริงจังและต่อเนื่อง จนทำให้กระบวนการจัดการเรียนการสอนของครูมีศักยภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น
๖. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)
๖.๑ ข้อสรุป
แนวทางการจัดการศึกษารูปแบบ STEAM ศึกษา ก่อให้เกิดการเรียนรู้เชิงบูรณาการความรู้เชิงศิลปะ ร่วมกับทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ไปใช้ในการเชื่อมโยงและแก้ปัญหา ในชีวิตจริง เตรียมความพร้อมเข้าสู่การเรียนรู้ตามมาตรฐานสากลต่อไป
๖.๒ ข้อสังเกต
การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบบูรณาการจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่สำคัญยิ่งคือ ครูผู้สอนทั้งในกลุ่มสาระวิชาต่างๆ ที่พร้อมเป็นส่วนสนับสนุนช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมายและสำเร็จผลโดยไม่ละทิ้ง การสนับสนุนงบประมาณ จัดสรรงบประมาณจากท่านผู้บริหารเพื่อให้การจัดการศึกษาดำเนินการตามแผนที่กำหนด
๖.๓ ข้อเสนอแนะ
ครูผู้สอนต้องดูแลเอาใจใส่นักเรียนอย่างใกล้ชิด คอยชี้แนะแนวทาง และให้คำปรึกษา ไม่ทำให้นักเรียนรู้สึกกดดัน และให้กำลังใจโดยการเสริมแรงทางบวกขณะปฏิบัติกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพและเรียนรู้อย่างมีความสุข
๖.๔ ข้อควรระวัง
ครูผู้สอนต้องวางแผน และกำหนดวัตถุประสงค์ของการดำเนินการให้ชัดเจน โดยคำนึงถึงลักษณะและรูปแบบการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความแตกต่างกัน รวมทั้งต้องมีความมุ่งมั่นในการศึกษาเก็บรวมรวมข้อมูล และสรุปผลอภิปรายผล เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้