การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารโรงเรียนคลองลาดกระบัง 2) พัฒนากลยุทธ์ การบริหารโรงเรียนคลองลาดกระบังเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาครู สู่ความเป็นมืออาชีพ 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณภาพของนักเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการบริหารโรงเรียนคลองลาดกระบังเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาครูสู่ความเป็นมืออาชีพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย นักเรียนโรงเรียนคลองลาดกระบัง จำนวน 154 คน ครู จำนวน 14 คน ผู้ปกครอง จำนวน 16 คน ได้มาจากตัวแทนผู้ปกครองที่มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทำการสุ่มอย่างง่ายจาก 8 ชั้นเรียน ชั้นเรียนละ 2 คนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนคลองลาดกระบัง จำนวน 7 คน ที่ไม่รวมผู้บริหารสถานศึกษาและผู้แทนครู กลุ่มเป้าหมายในการพิจารณาความครอบคลุม ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาและการจัดการเรียนรู้ของครู จำนวน 5 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Simpling) ประกอบด้วย ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาและศึกษานิเทศก์ ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่า เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวนทั้งสิ้น 9 ฉบับ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 4 ฉบับ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 5 ฉบับ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับระหว่าง .92 .93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ร้อยละ (Frequency Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สรุปผลการวิจัยผลการศึกษากลยุทธ์ การบริหารโรงเรียนคลองลาดกระบังเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาครู สู่ความเป็นมืออาชีพ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูและคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง พบว่า มีผลการบริหารอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.65,  = 0.60) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า การควบคุมและประเมินผลกลยุทธ์ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.73,  = 0.57) รองลงมาคือ การกำหนดกลยุทธ์ มีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.70,  = 0.56) ส่วนรายการที่มีผลการศึกษาน้อยที่สุด ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.56,  = 0.65)
ผลการปฏิบัติตามกลยุทธ์ การบริหารโรงเรียนคลองลาดกระบังเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาครูสู่ความเป็นมืออาชีพ ในความเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูและคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง พบว่า มีผลการบริหารอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.62,  = 0.65) เมื่อพิจารณาเป็นรายกลยุทธ์ พบว่า การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ มีผลการการปฏิบัติตามกลยุทธ์ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.64,  = 0.62) รองลงมาคือ การพัฒนาครูด้วยเครือข่ายการเรียนรู้ มีผลการการปฏิบัติตามกลยุทธ์ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.62,  = 0.63) ส่วนกลยุทธ์ที่มีการปฏิบัติตามกลยุทธ์น้อยที่สุด ได้แก่ การพัฒนาครูด้วยเครือข่าย การเรียนรู้ มีผลการการปฏิบัติตามกลยุทธ์ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.59,  = 0.67)
ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนคลองลาดกระบัง พบว่า ในปีการศึกษา 2560 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เฉลี่ยที่สูงขึ้นกว่าปีการศึกษา 2558 ทุกระดับชั้น โดยชั้นที่มีระดับการพัฒนาสูงที่สุด คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีการพัฒนาร้อยละ 19.51 รองลงมาคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีการพัฒนาร้อยละ 18.47 ระดับชั้นที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีการพัฒนาร้อบละ 10.31 โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีการพัฒนาสูงสุด ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ มีการพัฒนาร้อยละ 19.62 รองลงมาคือ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาร้อยละ 19.10 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีการพัฒนาร้อยละ 8.51 ผลการศึกษาคุณภาพของนักเรียน พบว่า ปีการศึกษา 2560 มีการพัฒนาจากปีการศึกษา 2558 ร้อยละ 24.17 เมื่อพิจารณาเป็นรายมาตรฐาน พบว่า มาตรฐานที่มีการพัฒนาสูงสุด ได้แก่ มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนา ร้อยละ 41.77 รองลงมาคือ มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ มีการพัฒนา ร้อยละ 30.71 มาตรฐานที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด คือ มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต มีการพัฒนา ร้อยละ 6.29
ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการบริหารโรงเรียนคลองลาดกระบังเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาครูสู่ความเป็นมืออาชีพ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x-= 4.65, S.D. = 0.59) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ครูสอนให้นักเรียนรักความเป็นไทย มีระดับความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด (x- = 4.81, S.D. = 0.44) รองลงมา คือ นักเรียนพอใจในการสอนและการดูแลนักเรียนของครู มีระดับความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด (x-= 4.74, S.D. = 0.47) ข้อที่นักเรียนมีความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ครูสอนให้นักเรียนมีความเป็นประชาธิปไตย มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x-= 4.51, S.D. = 0.65)
ผลการศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารโรงเรียนคลองลาดกระบังเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาครูสู่ความเป็นมืออาชีพ พบว่า ครูมีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x-= 4.66, S.D. = 0.59) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า โรงเรียนมีวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าประสงค์ที่เหมาะสม มีระดับความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด (x-= 4.93, S.D. = 0.27) รองลงมา คือ ครูมีส่วนร่วมในการกำหนดกลยุทธ์การบริหารโรงเรียน มีระดับความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด (x-= 4.85, S.D. = 0.36) ข้อที่ครูมีความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ครูมีความพึงพอใจในแนวทางของการส่งเสริมให้นักเรียนสามารถทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก (x-= 4.43, S.D. = 0.76)
ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการบริหารโรงเรียนคลองลาดกระบังเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาครูสู่ความเป็นมืออาชีพ พบว่า ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (x-= 4.63, S.D. = 0.62) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ครูใช้สื่อการจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ได้อย่างดี มีระดับความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด (x-= 4.79, S.D. = 0.51) รองลงมา คือ ผู้ปกครองและคณะกรรมกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมในการกำหนดกลยุทธ์การบริหารโรงเรียน มีระดับความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด (x-= 4.75, S.D. = 0.53) ข้อที่ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ครูมีความพึงพอใจในแนวทางของการส่งเสริมให้นักเรียนสามารถทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x-= 4.50, S.D. = 0.59)
ข้อเสนอแนะ
การนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนา การบริหารโรงเรียนเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาครู สู่ความเป็นมืออาชีพ อาจมีการปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา
ในการวิจัยครั้งต่อไปควรมีการวัดระดับความเป็นครูมืออาชีพก่อนการทดลองใช้กลยุทธ์ เพื่อจะได้เห็นผลของการนำกลยุทธ์ไปใช้อย่างชัดเจน