ชื่อวิจัย การพัฒนาแบบฝึกทักษะศิลปะเพิ่มเติม ชุดการวาดภาพหุ่นนิ่ง
โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นายปัญญา พันธุ์ธงไชย
ปี พ.ศ. 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะศิลปะเพิ่มเติม ชุดการวาดภาพ
หุ่นนิ่ง โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะศิลปะเพิ่มเติม ชุดการวาดภาพหุ่นนิ่ง โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะศิลปะเพิ่มเติม ชุดการวาดภาพหุ่นนิ่ง โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2/3 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสะแกราชธวัชศึกษา อำเภอ
ปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะศิลปะเพิ่มเติม ชุดการวาดภาพหุ่นนิ่ง โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้
เชิงรุก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการวาดภาพหุ่นนิ่ง วิชาศิลปะเพิ่มเติม รหัสวิชา
ศ 22201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบปรนัย จำนวน 40 ข้อ
4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะศิลปะเพิ่มเติม
เรื่อง การวาดภาพหุ่นนิ่ง โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลมีหลายรูปแบบ ดังนี้ 1) วิเคราะห์แบบฝึกทักษะศิลปะเพิ่มเติม เรื่อง การวาดภาพหุ่นนิ่ง โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นให้ได้มาตรฐาน ตามเกณฑ์ 80/80 โดยใช้ E1/E2 2) วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะศิลปะเพิ่มเติม ชุดการวาดภาพหุ่นนิ่ง โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ t test (Dependent Sample) 3) วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนแบบฝึกทักษะศิลปะเพิ่มเติม เรื่อง การวาดภาพหุ่นนิ่ง โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะศิลปะเพิ่มเติม ชุดการวาดภาพหุ่นนิ่ง โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 เล่ม ในกลุ่มตัวอย่าง จำนวนนักเรียน 30 คน มีคะแนนเฉลี่ยจากแบบฝึกทักษะระหว่างเรียนเท่ากับ 131.20 คิดเป็นร้อยละ 82.00 (80 ตัวแรก) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5.93 และคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากแบบฝึกทักษะศิลปะเพิ่มเติม ชุดการวาดภาพหุ่นนิ่ง โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เท่ากับ 32.57 คิดเป็นร้อยละ 81.42 (80 ตัวหลัง) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.26 แสดงว่า แบบฝึกทักษะศิลปะเพิ่มเติม ชุดการวาดภาพหุ่นนิ่ง โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.00/81.42 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนแบบฝึกทักษะศิลปะเพิ่มเติม ชุดการวาดภาพหุ่นนิ่ง โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนทั้ง 30 คน มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 29.17 (S.D.= 3.66) และ คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 32.57 (S.D.= 3.26) ค่า t เท่ากับ 4.80 แสดงว่าเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ ชุดการวาดภาพหุ่นนิ่ง โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มี
ความพึงพอใจระดับมาก ( = 4.36, S.D.=0.59)