ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ หน่วยเลขยกกำลัง รายวิชาคณิตศาสตร์ ค21101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
ผู้วิจัย นางชลธิชา พันธุ์ธงไชย
โรงเรียน โรงเรียนสะแกราชธวัชศึกษา อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีที่พิมพ์ พ.ศ. 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลหน่วยเลขยกกำลัง รายวิชาคณิตศาสตร์ ค21101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์(1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ หน่วยเลขยกกำลัง รายวิชาคณิตศาสตร์ ค21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ตามเกณฑ์ 75/75(2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุของนักเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ หน่วยเลขยกกำลัง รายวิชาคณิตศาสตร์ ค21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1และ(3)เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนในการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ หน่วยเลขยกกำลัง รายวิชาคณิตศาสตร์ ค21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 จำนวน 26 คนโรงเรียนสะแกราชวิทยา อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมาสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่ม(Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 4 ชนิด คือ (1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ หน่วยเลขยกกำลัง รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ค21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1จำนวน 15 เรื่อง (2) แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ เลขยกกำลัง รายวิชาคณิตศาสตร์ ค21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 15 แผน (3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.28–0.72ค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.33– 0.67และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.84(4)แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผล ซึ่งเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อมีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.28–0.67ค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.33– 0.78และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.84 และ(5)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนในการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ หน่วยเลขยกกำลัง รายวิชาคณิตศาสตร์ ค21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1เป็นแบบมาตราประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 15ข้อมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.71-0.80และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (α) เท่ากับ0.96สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( )ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t – test for Dependent Sample)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ หน่วยเลขยกกำลัง รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ค21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์75/75ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ หน่วยเลขยกกำลัง รายวิชาคณิตศาสตร์ ค21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด