ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของ นักเรียน โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกโพธิ์ ปีการศึกษา 2560
ผู้รายงาน : นางนิตยา โรจนหัสดิน
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโคกโพธิ์
หน่วยงาน : ` โรงเรียนวัดโคกโพธิ์ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต 1
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2560
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกโพธิ์ ปีการศึกษา 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของโครงการประกอบด้วย 1) คุณภาพของการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดและการเขียนของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกโพธิ์ ปีการศึกษา 2560 2) ทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียนหลังดำเนินโครงการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนวัดโคกโพธิ์ ปีการศึกษา 2560 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังดำเนินโครงการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนวัดโคกโพธิ์ ปีการศึกษา 2560 4) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกโพธิ์ ปีการศึกษา 2560 โดยศึกษาจากประชากรครูปีการศึกษา 2560 จำนวน 5 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 19 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 19 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน มี 2 ลักษณะได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษาและผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน จำนวน 2 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับ ระหว่าง .946-.990
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกโพธิ์ ปีการศึกษา 2560 ตามความเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่าทุกประเด็นตัวชี้วัดทั้งสองกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมากและมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านการประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดและการเขียนของนักเรียน โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกโพธิ์ ปีการศึกษา 2560 ตามความเห็นของครู โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่าทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมินอยู่ในระดับมากและมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดและการเขียนของนักเรียน โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกโพธิ์ ปีการศึกษา 2560 ตามความเห็นของครู ผู้ปกครองและนักเรียน โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่าทุกประเด็นตัวชี้วัดทั้งสามกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมากและมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดและการเขียนของนักเรียน โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกโพธิ์ ปีการศึกษา 2560 ตามความเห็นของครู ผู้ปกครองและนักเรียน โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมากและมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่า ทุกประเด็นตัวชี้วัดทั้งสามกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมากและมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกโพธิ์ ปีการศึกษา 2560 ตามความเห็นของครู และผู้ปกครอง โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่า ทุกประเด็นตัวชี้วัดทั้งสองกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน จำแนกเป็น
4.3.1 ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนวัดโคกโพธิ์ปีการศึกษา 2560 เปรียบเทียบกับเป้าหมาย โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนดโดยคะแนนเฉลี่ยทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เท่ากับ ( ¯X = 73.56 ) สูงกว่าเป้าหมายของโรงเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3.2 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559 ภาพรวม เฉลี่ยร้อยละ 37.63 และ ปีการศึกษา 2560 ภาพรวมเฉลี่ยร้อยละ 41.28 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.65 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง นักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกโพธิ์ ปีการศึกษา 2560 โดยรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ควรมีการนิเทศ ติดตาม กำกับดูแล ช่วยเหลือและการประเมินผล เกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการทั้งเป็นกลุ่มบริหารหัวหน้ากลุ่มสาระและเป็นรายบุคคล แบบกัลยาณมิตร โดยเน้นการมีส่วนร่วม
2. การส่งเสริม โรงเรียนต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ขยายผลไปสู่ผู้ปกครองเป็นครอบครัวรักการอ่าน การคิด และการเขียน เพื่อปลูกฝังทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนที่ยั่งยืน
3. ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการและควรยกย่องเชิดชูเกียรติ ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ชื่อเสียงผลงสนของบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงานที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุนโครงการ ด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม
4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต 1 และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ควรกำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจน ให้โรงเรียนต่างๆได้ดำเนินการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนอย่างต่อเนื่อง และให้ความสำคัญกับการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งในระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับชาติ ตลอดจนสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการวิจัยพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดและการเขียนของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม ระดับสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
2. ควรมีการประเมินโครงการต่างๆ ทุกโครงการที่โรงเรียนดำเนินการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่นๆที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
3. ควรมีการประเมินโครงการในระดับองค์รวมของสถานศึกษา โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินของซิปป์ (CIPP Model)
4. ควรศึกษาความสัมพันธ์ของการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียน ระดับสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา