บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดแบบฝึกทักษะประกอบการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD
เรื่องชนิดของคำในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางสาวชุษณา นัครา
ตำแหน่งครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านห้วยม่วง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาตรัง เขต 1
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดแบบฝึกทักษะประกอบการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่องชนิดของคำในภาษาไทย สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องชนิดของคำในภาษาไทย รายวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดแบบฝึกทักษะประกอบการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่องชนิดของคำในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะประกอบการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่องชนิดของคำในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าประกอบด้วย 1) ชุดแบบฝึกทักษะประกอบการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่องชนิดของคำในภาษาไทย สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 7 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดแบบฝึกทักษะประกอบการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่องชนิดของคำในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 23 แผน 3) แบบทดสอบหลังการใช้ชุดแบบฝึกทักษะ เรื่องชนิดของคำในภาษาไทย แต่ละเล่ม เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 7 ฉบับ ฉบับละ 10 ข้อ
4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องชนิดของคำในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 1 ฉบับ จำนวน 40 ข้อ
5) แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้ชุดแบบฝึกทักษะประกอบการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่องชนิดของคำในภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 15 ข้อ
6) แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating scale) ชนิด 3 ระดับ จำนวน 4 ข้อ
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดแบบฝึกเสริมทักษะประกอบการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ STAD เรื่องชนิดของคำในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 มีค่า 83.50/83.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์และเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 1
2. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องชนิดของคำในภาษาไทย หลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะประกอบการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD เรื่องชนิดของคำในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66, =0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจทุกข้ออยู่ในระดับมาก-มากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อ 5 ฉันมีเวลาเพียงพอสำหรับทำกิจกรรมและแบบฝึกหัดในชุดแบบฝึกทักษะ ( = 4.95, =0.22) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ข้อ 4 กิจกรรมในชุดแบบฝึกทักษะหลากหลาย น่าสนใจ ทำให้ฉันอยากเรียนอยากฝึกปฏิบัติ ( = 4.35, =0.49) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 3